สมรรถนะความอุดมสมบูรณ์ของดินเนื้อปูนในประเทศไทย

Main Article Content

ภาณุวัชร อุปถัมภานนท์
ณัฐพล จิตมาตย์
ทิมทอง ดรุณสนธยา

บทคัดย่อ

ดินเนื้อปูนเป็นทรัพยากรดินที่สำคัญสำหรับการผลิตพืชเศรษฐกิจในประเทศไทย ระบบการจำแนกสมรรถนะความอุดมสมบูรณ์ของดินเนื้อปูนสามารถบ่งชี้ถึงสถานะความอุดมสมบูรณ์ และข้อจำกัดที่สำคัญของดิน เพื่อการจัดการดินได้อย่างเหมาะสม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สมบัติของดินและจำแนกสมรรถนะความอุดมสมบูรณ์ของดินเนื้อปูนตัวแทน จำนวน 5 บริเวณ ในจังหวัดลพบุรี และ นครสวรรค์ การศึกษาประกอบด้วย การทำคำอธิบายสัณฐานวิทยาของดิน และการวิเคราะห์ตัวอย่างดินทางฟิสิกส์-เคมี ตามวิธีมาตรฐาน และประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน และจำแนกสมรรถนะความอุดมสมบูรณ์ของดิน ผลการศึกษา พบว่า ดินส่วนใหญ่มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว มีพีเอชเป็นด่างจัด และมีสมบัติด้านการแลกเปลี่ยนประจุสูง แต่มีสถานภาพด้านธาตุอาหาร คือ ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่ำ ธาตุสังกะสีและธาตุทองแดงอยู่ในระดับที่ต่ำซึ่งเป็นข้อจำกัดหลักด้านความอุดมสมบูรณ์ของดินเหล่านี้ ผลการประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ แสดงให้เห็นว่า ดินเนื้อปูนมีระดับความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง และจากชั้นสมรรถนะของดิน พบว่า ดินมีข้อจำกัดที่สำคัญคือ ดินมีแร่ดินเหนียวที่ยืดหดตัวสูง (v) ดินเป็นด่างจัด (b) และมีธาตุโพแทสเซียมสำรองต่ำ (k) และดินเป็นด่างจัดทำให้ฟอสฟอรัสและธาตุอาหารเสริม โดยเฉพาะธาตุสังกะสีละลายได้น้อยและไม่เป็นประโยชน์สำหรับพืช ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่สำคัญอันดับแรกในการจัดการดินเนื้อปูนของประเทศไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองสำรวจดิน. 2523. คู่มือจำแนกความเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ. เอกสารวิชาการเล่มที่ 28. กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ. 76 หน้า.

จรรยาลักษณ์ อิ่นคำ. 2559. ธรณีเคมีและลักษณะการดูดซับธาตุสังกะสี ทองแดง เหล็ก และแมงกานีสในดินเนื้อปูนของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 117 หน้า.

ชาญยุทธ รัตนพรหมมณี กวิพร จินะจันตา และ อรวรรณ ฉัตรสีรุ้ง. 2560. ผลของลีโอนาร์ไดท์ต่อการปรับปรุงคุณภาพดินและผลผลิตข้าว. วารสารเกษตร 33(2): 215-224.

พรรเพ็ญ โมระกรานต์ ณัฐพล จิตมาตย์ และ เสาวนุช ถาวรพฤกษ์. 2558. สมรรถนะความอุดมสมบูรณ์ของดินเวอร์ทิซอลส์ที่ดอนในประเทศไทย. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 2(4): 61-72.

ภณกฤด อุ่นพิพัฒน์ ณัฐพล จิตมาตย์ และ เสาวนุช ถาวรพฤกษ์. 2560. การเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุสังกะสีด้วยซิงค์ฮิวเมทที่เตรียมจากพีตสำหรับข้าวโพดหวานที่ปลูกในดินเนื้อปูน. แก่นเกษตร 46(ฉบับพิเศษ 1): 301-307.

มลิสา ยกถาวร เสาวนุช ถาวรพฤกษ์ และ ณัฐพล จิตมาตย์. 2559. การจำแนกสมรรถนะความอุดมสมบูรณ์ของดินเพื่อการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรบนพื้นที่ลาดเขา: กรณีศึกษาบริเวณอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 3(1): 30-40.

ลาวรรณ์ พร้อมสุข เสาวนุช ถาวรพฤกษ์ และ เอิบ เขียวรื่นรมณ์. 2556. การประเมินคุณภาพดินเพื่อใช้ทางการเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักส่วนที่ 2 จังหวัดเพชรบูรณ์. แก่นเกษตร 41(ฉบับพิเศษ): 137-146.

สุภัทรา หลวงทะ ณัฐพล จิตมาตย์ และ เสาวนุช ถาวรพฤกษ์. 2558. การประเมินศักยภาพทางการเกษตรของดินเวอร์ทิซอลส์ที่ใช้ปลูกข้าวของประเทศไทย. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 2(4): 40-51.

เอิบ เขียวรื่นรมณ์. 2533. ดินของประเทศไทย: ลักษณะ การแจกกระจาย และการใช้. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 649 หน้า.

Al Jaloud, A.A., M.A. Al Rabhi and I.I. Bashour. 2013. Availability and fractionation of trace elements in arid calcareous soils. Emirates Journal of Food and Agriculture 25(9): 702-712.

Chittamart, N., A. Suddhiprakarn, I. Kheoruenromne and R.J. Gilkes. 2010. Layer-charge characteristics of smectite in Thai Vertisols. Clays and Clay Minerals 58: 247-262.

Chittamart, N., J. Inkam, D. Ketrot and T. Darunsontaya. 2016. Geochemical fractionation and adsorption characteristics of zinc in Thai major calcareous soils. Communications in Soil Science and Plant Analysis 47(20): 2348-2363.

Curtin, D. and J.K. Syers. 2001. Lime-induced changes in indices of soil phosphate availability. Soil Science Society of America Journal 65(1): 147-152.

Emadi, M., M. Baghernejad, H. Memarian, M. Saffari and H. Fathi. 2008. Genesis and clay mineralogical investigation of highly calcareous soils in semi-arid regions of Southern Iran. Journal of Applied Sciences 8(2): 288-294.

Ferreira, E.P., L.H.C. dos Anjos, M.G. Pereira, G.S. Valladares, R. Cipriano-Silva and A.C. de Azevedo. 2016. Genesis and classification of soils containing carbonate on the Apodi Plateau, Brazil. Revista Brasileira de Ciência do Solo 40 (e0150036): 1-20.

IUSS Working Group WRB. 2015. World Reference Base for Soil Resources 2014, update 2015 International soil classification system for naming soils and creating legends for soil maps. World Soil Resources Reports No. 106. FAO, Rome. 192 p.

Jalali, M. and M. Jalali. 2016. Minerals control phosphorus solubility in long-term-cultivated calcareous soils. Soil Research 50(2):182-190.

López Martinez, C.J., A. Echeverri and J.C. Menjivar Flores. 2017. Spatial distribution of the exchangeable base ratios in the soils of the R.U.T. irrigation district. Revista Facultad Nacional de Agronomía 70(1): 8077-8084.

National Soil Survey Center. 1996. Soil Survey Laboratory Methods Manual. Soil Survey Investigation Report No. 42, Version 3.0. Natural Resources Conservation Service, United States Department of Agriculture, Washington, D.C.

Sanchez, P.A., C.A. Palm and S.W. Buol. 2003. Fertility capability soil classification: a tool to help assess soil quality in the tropics. Geoderma 114: 157-185.

Sharma, B.D., S.S. Mukhopadhyay and J.C. Katyal. 2006. Distribution of total and DTPA-extractable zinc, copper, manganese, and iron in Vertisols of India. Communication in Soil Science and Plant Analysis 37: 653-672.

Soil Survey Staff. 2014. Keys to Soil Taxonomy. 12th ed. USDA-NRCS, Washington, D.C. 360 p.

Takrattanasaran, N., J. Chanchareonsook, P.G. Johnson, S. Thongpae and E. Sarobol. 2013. Amelioration of zinc deficiency of corn in calcareous soils of Thailand: zinc sources and application methods. Journal of Plant Nutrition 36: 1275-1286.

Zhang, M., C.L. Li, Y.C. Li and W.G. Harris. 2014. Phosphate minerals and solubility in native and agricultural calcareous soils. Geoderma 232-234: 164-171.