สมบัติทางกายภาพเคมีของดินในพื้นที่เหมืองแร่และป่าปลูกเพื่อการฟื้นฟูที่ดินเหมืองแร่ลิกไนต์บ้านปู อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
Main Article Content
บทคัดย่อ
สมบัติของดินเหมืองแร่ลิกไนต์บ้านปูศึกษา 3 พื้นที่คือ ป่าธรรมชาติ ขอบบ่อเหมืองและป่าปลูก โดยขุดหลุมดิน 7 หลุม เก็บตัวอย่างดินที่ความลึก 0-5, 5-10, 20-40, 40-60, 60-80 และ 80-100 เซนติเมตร และวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพเคมีของดินในห้องปฏิบัติการ พบว่า สมบัติทางกายภาพผันแปรมากตามพื้นที่และความลึก ไม่เหมาะสมต่อการเติบโตของพันธุ์ไม้ ดินเป็นหินผุ กรวดหินหรือดินเหนียว มีความหนาแน่นปานกลาง ค่อนข้างต่ำและต่ำ ซึ่งเกิดจากชนิดวัสดุและกรวดหิน เป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายร่วนหรือดินร่วนเหนียว ดินป่าธรรมชาติมีปฏิกิริยาเป็นกลาง ดินขอบบ่อเหมืองด้านล่างที่ยังไม่ปลูกและที่ปลูกป่าแล้วเป็นกรดรุนแรงมาก แต่ขอบบ่อเหมืองด้านบนที่ปลูกป่ามีค่าเป็นกลาง ดินพื้นที่ป่าปลูก 1 และ 2 มีปฏิกิริยาผันแปรตามชั้นดิน เป็นกลาง กรดเล็กน้อยและกรดจัดมาก แต่ดินพื้นที่ป่าปลูก 3 เป็นกรดรุนแรงมากที่สุดเกือบตลอดชั้นดิน อินทรียวัตถุ คาร์บอนและไนโตรเจนมีค่าต่ำในดินทั้งพื้นที่เหมืองแร่และป่าธรรมชาติ แต่ชั้นดินล่างบางพื้นที่กลับมีค่าสูงกว่าดินบนเช่นเดียวกับความผันแปรของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซียม แคลเซียมและแมกนีเซียมที่สามารถสกัดได้ ซึ่งเกิดจากการสลับชั้นดิน โดยนำดินล่างและหินผุถมสลับกับดินบน
Article Details
References
ชาญยุทธ รัตนพรหมมณี กวิพร จินะจันตาและอรวรรณ ฉัตรสีรุ้ง. 2560. ผลของลีโอนาร์ไดท์ต่อการปรับปรุงคุณภาพดินและผลผลิตข้าว. วารสารเกษตร 33(2): 215-224.
พัชนิดา วงศ์นามอินทร์. 2554. การประเมินความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ สภาพป่าและปริมาณคาร์บอนสะสมในระบบนิเวศป่าเต็งรังบนพื้นที่หินแกรนิตบริเวณอุทยานไม้กลายเป็นหิน อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 116 หน้า.
วรลักษณ์ เนียมพูลทอง. 2554. ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ ลักษณะดินและการสะสมธาตุอาหารในระบบนิเวศป่าไม้ที่เป็นหินตะกอนบริเวณวนอุทยานไม้กลายเป็นหิน จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 132 หน้า.
Bradshaw, A.D. and M.J. Chadwick. 1980. The restoration of land. Blackwell Scientific Publications, Oxford. 317 p.
Brady, N.C. and R.R. Weil. 2010. Elements of the nature and properties of soils. Pearson Education, New Jersey. 614 p.
Bremner, J.M. and C.S. Mulvaney. 1982. Nitrogen-total. pp. 595-624. In: A.L. Page, R.H. Miller and D.R. Keeney (eds.). Methods of Soil Analysis Part 2-Chemical and Microbiological Properties. 2nd ed. American Society of Agronomy Publisher, Madison, Wisconsin.
Fisher R.F. and D. Binkley. 2000. Ecology and management of forest soils. John Wiley and Sons, New York, 489p.
Kimmins, J.P. 2004. Cycling of nutrients in ecosystem. pp. 72-138. In: J.P. Kimmins (ed.). Forest Ecology: A foundation of sustainable forest management and environmental ethics in forestry.3rd ed. Pearson Education, London.
Knudsen, D., G.A. Peterson and P.F. Pratt. 1982. Lithium, sodium and potassium. pp. 225-246. In: A.L. Page, R.H. Miller and D.R. Keeney (eds.). Methods of Soil Analysis Part 2-Chemical and Microbiological Properties. 2nd ed. American Society of Agronomy, Madison, Wisconsin.
Land Classification Division. 1973. Soil Interpretation Handbook for Thailand. Department of Land Development, Bangkok.
Lanyon, L.E. and W.R. Heald. 1982. Magnesium, calcium, strontium and barium. pp. 247-262. In: A.L. Page, R.H. Miller and D.R. Keeney (eds.). Methods of Soil Analysis Part 2-Chemical and Microbiological Properties. 2nd ed. American Society of Agronomy, Madison, Wisconsin.
Nelson, D.W. and L.E. Sommers. 1982. Total carbon, organic carbon and organic matter. pp. 539-580. In: A.L. Page, R.H. Miller and D.R. Keeney (eds.). Methods of Soil Analysis Part 2-Chemical and Microbiological Properties. 2nd ed. American Society of Agronomy, Madison, Wisconsin.
Olsen, S.R. and L.E. Sommers. 1982. 24: Phosphorus. pp: 403-430. In: A.L. Page, R.H. Miller and D.R. Keeney (eds.). Methods of Soil Analysis Part 2-Chemical and Microbiological Properties. 2nd ed. American Society of Agronomy, Madison, Wisconsin.
Soil Survey Division. 1993 Soil survey manual US. Dept. of Agr. Handbook No. 18. U.S. Government Printing Office, Washington, D.C.