ผลของการควั่นกิ่ง ปุ๋ยทางใบ และสารยับยั้งการสังเคราะห์จิบเบอเรลลินต่อการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนพืชที่สัมพันธ์กับการออกดอกของลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยบนพื้นที่สูง

Main Article Content

นุดี เจริญกิจ
กรวรรณ ศรีงาม
พิทยา สรวมศิริ
ดรุณี นาพรหม

บทคัดย่อ

ดำเนินการวิจัยทดสอบการใช้สารยับยั้งการสร้างจิบเบอเรลลิน 2 ชนิด คือ พาโคลบิวทราโซล และ เมพิควอทคลอไรด์ เพื่อช่วยให้ต้นลิ้นจี่ออกดอกแม้เมื่อสภาพความหนาวเย็นของอากาศไม่เพียงพอ  โดยศึกษากับต้นลิ้นจี่พันธุ์ฮง-ฮวย ปลูกบนพื้นที่สูง 1,200 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่  ดำเนินการทดลองระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) มี 5 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 5 ซ้ำ โดยให้ 1 ต้น เป็น 1 ซ้ำ ดังนี้  1) ควบคุม (control)  2) ควั่นกิ่งร่วมกับพ่นทางใบด้วยปุ๋ย 0-52-34 ความเข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์ ผสม    เอทิฟอน 400 มิลลิกรัมต่อลิตร  3) ควั่นกิ่งร่วมกับพ่นทางใบด้วยปุ๋ย 0-52-34 ผสมเอทิฟอน และพาโคลบิวทราโซล 3,000 มิลลิกรัมต่อลิตร  4) ควั่นกิ่งร่วมกับพ่นทางใบด้วยปุ๋ย 0-52-34 ผสมเอทิฟอน และเมพิควอทคลอไรด์ 2,500 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 5) ควั่นกิ่งร่วมกับพ่นทางใบด้วยปุ๋ย 0-52-34 ผสมเอทิฟอน พาโคลบิวทราโซล และเมพิควอทคลอไรด์ พบว่า กรรมวิธีที่ 5  (ควั่นกิ่ง ร่วมกับพ่นทางใบด้วยปุ๋ย 0-52-34 ผสมเอทิฟอน พาโคลบิวทราโซล และเมพิควอทคลอไรด์) ให้ผลดีที่สุดในการส่งเสริมการออกดอกของลิ้นจี่ได้ในเดือนกรกฎาคมแม้อุณหภูมิอากาศจะไม่หนาวเย็น  โดยกรรมวิธีดังกล่าวสามารถชะลอการผลิยอดใหม่  ลดการสังเคราะห์และสะสมออกซิน ในขณะที่ส่งเสริมการสร้างและเคลื่อนย้ายไซโตไคนินรูป iP/iPA และรูป Z/Zr  ที่ใบและตายอดให้เพิ่มสูงขึ้น  น่าจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดในการส่งเสริมการเปลี่ยนตายอดจากตาใบไปตาดอกและพัฒนาไปเป็นช่อดอกที่สมบูรณ์ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริญญา ปัญญาแก้ว และ ดรุณี นาพรหม. 2553. ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต่อการออกดอกนอกฤดู และคุณภาพของส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง. วารสารเกษตร 26(ฉบับพิเศษ): 117-125.

จีราภรณ์ อินทสาร ฉัตรปวีณ์ เดชจิรรัตนสิริ และ ประวิทย์ บุญมี. 2560. ผลของแบคทีเรียที่ผลิตสาร indole-3-acetic acid (IAA) ต่อการเจริญเติบโตและปริมาณธาตุอาหารของพริกขี้หนู. วารสารเกษตร 33(3): 333-344.

ธันวรัตน์ วงเวียน และ ดรุณี นาพรหม. 2559. ผลของพาโคลบิวทราโซลต่อการเจริญเติบโตทางกิ่งใบของมะเกี๋ยง. วารสารเกษตร 32(3): 321-329.

นุดี เจริญกิจ และ พิทยา สรวมศิริ. 2554. ผลของการควั่นกิ่ง โมโนโพแทสเซียมฟอสเฟตและเอทิฟอนต่อการออกดอกนอกฤดูของลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยบนพื้นที่สูง. วารสารเกษตร 27(1): 19-25.

ปริญญาภรณ์ วิโรจน์สกุล. 2552. การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อต้านซีเอตินไรโบไซด์เพื่อใช้ในการตรวจวัดซีเอตินไรโบไซด์ในพืชโดยวิธีเอนไซม์ลิงค์อิมมูโนซอร์เบนท์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 79 หน้า.

มะลิวรรณ นาสี นุดี เจริญกิจ พิทยา สรวมศิริ และ ดรุณี นาพรหม. 2557. ผลของเมพิควอทคลอไรด์ คลอร์มีควอทคลอไรด์ และพาโคลบิวทราโซลต่อการออกดอกของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง. วารสารเกษตร 30(3): 271-279.

อรทัย ธนัญชัย นุดี เจริญกิจ และ พิทยา สรวมศิริ. 2555. ผลของการควั่นกิ่ง และการพ่นปุ๋ยทางใบด้วยโมโนโพแทสเซียมฟอสเฟตและเอทิฟอนต่อการออกดอกของลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวย และพันธุ์จักรพรรดิ. วารสารเกษตร 28(2): 145-153.

Charoenkit, N., D. Naphrom, P. Sruamsiri, K. Sringarm and S. Fukuda. 2015. Modeling the relationship between hormone dynamics and off-season flowering of litchi by using random forests. Agriculture and Agricultural Science Procedia 5: 9-16.

Chen, P-A, S-F. Roan, C-L Lee and I-Z Chen. 2016. Temperature model of litchi flowering - from induction to anthesis. Scientia Horticulturae 205: 106-111.

Ding, F., S. Zhang, H. Chen, Z. Su, R. Zhang, Q. Xiao and H. Li. 2015. Promoter difference of LcFT1 is a leading cause of natural variation of flowering timing in different litchi cultivars (Litchi chinensis Sonn.). Plant Science 241: 128-137.

Johansen, D. A. 1940. Plant Microtechnique. McGraw-Hill Book Co. Inc., New York. 523 p.

Kang, J., Y. Lee, H. Sakakibara and E. Martinoia. 2017. Opinion cytokinin transporters: go and stop in signaling. Trends in Plant Science 22(6): 455-461.

Moreira, R.D., D.R. Fernandes, M. do C.M. da Cruz, J.E. Lima and A.F. de Oliveira. 2016. Water restriction, girdling and paclobutrazol on flowering and production of olive cultivars. Scientia Horticulturae 200: 197-204.

Potchanasin, P., K. Sringarm, P. Sruamsiri and K.F. Bangerth. 2009. Floral induction (FI) in longan (Dimocarpus longan Lour.) tress: Part I. Low temperature and potassium chlorate effects on FI and hormonal changes exerted in terminal buds and sub-apical tissue. Scientia Horticulturae 122: 288-294.

Rademacher, W. 2000. Growth retardants: effects of gibberellin biosynthesis and other metabolic pathways. Annual Review of Plant Physiology and Plant Molecular Biology 51: 501-531.

Sringarm, K. 2008. Participation of correlative hormonal signals in the floral induction of longan (Dimocarpus longan Lour.) trees induced by the application of potassium chlorate. Ph.D. Thesis, University. of Hohemheim, Stuttgart. 110 p.

Sringarm, K., P. Potchanasin, P. Sruamsiri and K.F. Bangerth. 2009. Floral induction (FI) in longan (Dimocarpus longan Lour.) tress - the possible participation of endogenous hormones II. Low temperature and potassium chlorate effects on hormone concentrations in and their export out of leaves. Scientia Horticulturae 122: 295-300.

Zhang, S., D. Zhang, S. Fan, L. Du, Y. Shen, L. Xing, Y. Li, J. Ma and M. Han. 2016. Effect of exogenous GA3 and its inhibitor paclobutrazol on floral formation, endogenous hormones, and flowering-associated genes in ‘Fuji’ apple (Malus domestica Borkh.). Plant Physiology and Biochemistry 107: 178-186.