ผลของรูปแบบรังไม้ประกอบต่อการจัดวางถ้วยอาหารของชันโรง <I>Tetragonula laeviceps</I> Species Complex

Main Article Content

สมฤทัย ใจเย็น
จิราพร กุลสาริน
ไสว บูรณพานิชพันธุ์
กนกวรรณ คำยอดใจ

บทคัดย่อ

ชันโรง Tetragonula laeviceps species complex เป็นแมลงที่มีประโยชน์ต่อการเกษตรและระบบนิเวศ ช่วยผสมเกสรดอกไม้หลายชนิดอย่างมีประสิทธิภาพและผลิตน้ำผึ้งชันโรงที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและขายได้ราคาดี อย่างไรก็ตาม การเก็บเกี่ยวน้ำผึ้งชันโรงในรังไม้มาตรฐานที่ใช้เลี้ยงทั่วไปยังทำได้ยาก เนื่องจากโครงสร้างของถ้วยเก็บน้ำผึ้งและถ้วยเก็บเกสร กลุ่มไข่และกลุ่มตัวอ่อนอยู่ทับซ้อนกัน ดังนั้นจึงได้ทำการศึกษาผลของรูปแบบรังไม้ประกอบต่อการจัดวางถ้วยเก็บอาหารของชันโรงประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนแรกศึกษารูปแบบรังที่เหมาะสมและง่ายต่อการเก็บเกี่ยวน้ำผึ้งชันโรง ด้วยรังไม้ประกอบที่มีรูปแบบรังที่แตกต่างกัน 4 แบบ 1. รังไม้ประกอบขนาดมาตรฐาน (SH) 2. รังไม้ประกอบขนาดมาตรฐานภายในวางไม้ไขว้เป็นมุมฉาก (SCH) 3. รังไม้ประกอบขนาดมาตรฐานภายในวางไม้ยาวคู่ขนาน (SPH) และ 4. รังไม้ประกอบยาว (LH) ทำการแยกรังชันโรงใส่ในรังไม้แต่ละรูปแบบ พบว่ารังไม้ SCH และรังไม้ SPH มีการสร้างกลุ่มไข่และตัวอ่อนแยกจากกลุ่มถ้วยเก็บอาหารอย่างชัดเจน ส่วนที่ 2 ศึกษารูปแบบรังไม้ประกอบที่มีผลต่อการจัดเรียงถ้วยเก็บอาหารของชันโรงในรังไม้ประกอบที่มีรูปแบบรังที่แตกต่างกัน 5 รูปแบบ คือ 1. รังไม้ประกอบขนาดมาตรฐาน (SH) 2. รังไม้ประกอบขนาดมาตรฐานที่วางไม้ไขว้มุมฉากและมีตาข่ายอยู่ด้านบนไม้ (SCNH) 3. รังไม้ประกอบเล็กสองชั้นเชื่อมต่อกับรังไม้ประกอบยาวด้านหน้า (LCDH) 4. รังไม้ประกอบเล็กสองชั้นเชื่อมต่อกับรังไม้ประกอบยาวที่แบ่งเป็นสามช่อง (TLCDH) และ 5. รังไม้ประกอบสองชั้น (DH) ทำการแยกรังชันโรงโดยนำกลุ่มไข่และกลุ่มตัวอ่อน และถ้วยเก็บอาหารที่ปริมาณเท่ากันใส่ในรังไม้ประกอบแต่ละรูปแบบ สังเกตและบันทึกผลการพัฒนาของโครงสร้างรังชันโรงโดยชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์และถ่ายภาพทุกเดือน พบว่ามีการจัดวางตัวของกลุ่มไข่และกลุ่มตัวอ่อน รวมทั้งถ้วยเก็บอาหารทับซ้อนกันในรังไม้สี่รูปแบบ (SH, LCDH, TLCDH และ DH) แต่สำหรับรังไม้ SCNH มีการจัดวางตัวของกลุ่มไข่และกลุ่มตัวอ่อนรวมทั้งถ้วยเก็บอาหารแยกออกจากกันอย่างชัดเจน โดยกลุ่มไข่และกลุ่มตัวอ่อนจัดเรียงอยู่ด้านบนตาข่าย ส่วนถ้วยเก็บอาหารอยู่ด้านล่างของตาข่าย และมีน้ำหนักสุดท้ายของรังชันโรงสูงสุดเท่ากับ 1.13 กิโลกรัม ขณะที่รังแบบ SH, LCDH, TLCDH และ DH มีน้ำหนักของรังชันโรงเท่ากับ 0.66, 0.66, 0.69 และ 0.20 กิโลกรัม ตามลำดับ ส่วนที่ 3 ศึกษาหาขนาดที่เหมาะสมของรังไม้ SCNH พบว่ารังไม้ SCNH ขนาด 21x30x20 เซนติเมตร มีความเหมาะสมที่สุด เนื่องจากให้น้ำหนักของรังชันโรงสูงสุดเท่ากับ 1.20 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับรังไม้ขนาดอื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ คำยอดใจ H. Bänziger และ จิราพร กุลสาริน. 2558. รูปแบบสถาปัตยกรรมปากทางเข้ารังของชันโรง Tetragonula laeviceps (Smith) Species Complex (Hymenoptera: Apidae: Meliponini) ในประเทศไทยและมาเลเซียตะวันตก. วารสารเกษตร 31(1): 1-9.

เกียรติภูมิ จันเต สุนทรี จีนธรรม และ ปัณณ์รภัส ถกลภักดี. 2558. แนวทางการพัฒนาศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาผึ้งสายพันธุ์ชันโรง ตำบลปัถวี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ 6(1): 21-45.

วีรยา สมณะ เยาวลักษณ์ จันทร์บาง จิราพร กุลสาริน และ M. Burgett. 2554. ชีวมิติของรังผึ้งโพรงธรรมชาติจากการสังเกตในภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารเกษตร 27(3): 219-228.

สมนึก บุญเกิด. 2541. ผึ้งและชันโรง. วารสารเทคโนโลยีชาวบ้าน 10(188): 46-49.

อัญชลี สวาสดิ์ธรรม. 2556. มหัศจรรย์ชันโรง. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด, ปทุมธานี. 27 หน้า.

Bänziger, H. and K. Khamyotchai. 2014. An unusually large and persistent male swarm of the stingless bee Tetragonula laeviceps in Thailand (Hymenoptera: Apidae: Meliponini). Journal of Melittology 32: 1-5.

Ghisalberti, E.L. 1979. Propolis: a review. Bee World 60(2): 59-84.

Michener, C.D. 2000. The Bees of the World. The Johns Hopkins University Press, Baltimore, Maryland. 972 p.

Roubik, D. W. 2006. Stingless bee nesting biology. Apidologie 32(7): 124-143.

Sakagami, S.F. 1978. Tetragonula stingless bees of the continental Asia and Sri Lanka (Hymenoptera, Apidae). Journal of Faculty of Science, Hokkaido University, Series VI, Zoolozy 21(2): 165-247.

Slaa, E.J., L.A. Sanchez, Chaves, K.S. Malagodi-Braga and F. E. Hofstede. 2006. Stingless bees in applied pollination: practice and perspectives. Apidologie 37(2): 293-315.

Sommeijer, M.J. 1999. Beekeeping with stingless bees: a new type of hive. Bee World 80(2): 70-79.

Thummajitsakul, S., S. Klinbunga, D. Smith and S. Sittipraneed. 2008. Genetic diversity and population structure of Trigona pagdeni Schwarz in Thailand. Apidologie 39(4): 446-455.