ผลของระบบนิเวศวิศวกรรมต่อความหลากหลายของแมลงและแมงมุมในนาข้าว

Main Article Content

วงเดือน ฟักขำ
วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ
ไสว บูรณพานิชพันธุ์
ปภพ สินชยกุล
วิชัย สรพงษ์ไพศาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ เพื่อศึกษาผลของระบบนิเวศวิศวกรรมในแปลงนาข้าวต่อความหลากหลายของแมลงและแมงมุมเปรียบเทียบกับแปลงนาปกติ ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์โดยทำการปรับปรุงคันนาแปลงนาข้าวพันธุ์     กข61 ขนาด 2 ไร่ ให้กว้างขึ้นเป็น 1 เมตร และปลูกปอเทืองบนคันนาโดยรอบ สุ่มสำรวจด้วยสวิงโฉบ ตั้งแต่ข้าวอายุ 14 วัน ทุก ๆ 7 วันจนถึงระยะเก็บเกี่ยว จำแนกชนิดของแมลง และแมงมุม วิเคราะห์ความหลากหลายชนิด และการกระจายตัวของ Shannon-Wiener พร้อมทั้งเปรียบเทียบสัดส่วนแมลงศัตรูข้าว แมลงศัตรูธรรมชาติ แมงมุม และอื่น ๆ รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนของแมลงและแมงมุมที่พบกับปัจจัยทางกายภาพ คือ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ รวมถึงปริมาณน้ำฝน และปัจจัยทางชีวภาพ คือ จำนวนชนิดของศัตรูธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่า การจัดการระบบนิเวศวิศวกรรมในนาข้าวด้วยการปลูกปอเทืองโดยรอบคันนามีผลต่อสัดส่วนของชนิดและจำนวนแมลงและแมงมุมชนิดต่าง ๆ สนับสนุนการสร้างความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดขึ้นในระบบนิเวศแปลงนา และเป็นกลไกที่ส่งผลต่อกิจกรรมต่าง ๆของแมลงและแมงมุมให้มีความซับซ้อนมากขึ้น มีความสมดุลและเสถียรมากขึ้น และมีส่วนลดจำนวนชนิดและปริมาณของแมลงศัตรูข้าวได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2555. ข่าวเตือนการระบาดศัตรูพืชในนาข้าว. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.pmc02.doae.go.th/ news/2016/11.10.59.pdf (17 พฤศจิกายน 2559).

จินตนา ไชยวงศ์ วันทนา ศรีรัตนศักดิ์ และ สุกัญญา อรัญมิตร. 2555. การใช้วิธีทางนิเวศวิศวกรรมเพิ่มความหลากชนิดของอาร์โทรปอตในระบบนิเวศนาข้าว. หน้า 478-481. ใน: รายงานการประชุมวิชาการข้าวครั้งที่ 2 มิติใหม่วิจัยข้าวไทยพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการเปิดตลาดเสรีอาเซียน. สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว, กรุงเทพฯ.

ตะวัน ห่างสูงเนิน พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ อาวรณ์ โอภาส-พัฒนกิจ และ รุจ ศิริสัญลักษณ์. 2557. ระบบเกษตรอินทรีย์ในบริบทของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ ในเขตลุ่มน้ำแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 30(1): 61-69.

ธวัช ปฏิรูปานุสร และ เพชรหทัย ปฏิรูปานุสร. 2554. ศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติในภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว, กรมการข้าว, กรุงเทพฯ. 303 หน้า.

นราศิณี แก้วใหลมา สุรพล เศรษฐบุตร บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล และ ประทานทิพย์ กระมล. 2560. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 33(3): 387-395.

นาวิน สุขเลิศ จิราพร กุลสาริน ไสว บรูณพานิชพันธุ์ และ วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ. 2559. ประสิทธิภาพของสารชีวภัณฑ์ เชื้อรากำจัดแมลงในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลายในเบบี้ฮ่องเต้บนพื้นที่สูงของจังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 32(2): 171-180.

ปัณรสี สู่ศิริรัตน์. 2559. ประสิทธิภาพของสารสกัดจากเปลือกว่านหางจระเข้ในการควบคุมหนอนใยผัก. วารสารเกษตร 32(3): 369-378.

พหล ศักดิ์คะทัศน์ และ สุรชัย กังวล. 2559. การใช้วิธีวิเคราะห์การจัดกลุ่มหมู่บ้าน เพื่อส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 32(2): 201-208.

พิสุทธิ์ เอกอำนวย. 2553. โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 3. บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ. 592 หน้า.

พุฒิพัฌน์ คุณะปัญญาดิลก ปิยะวรรณ สุทธิประพันธ์ และ เยาวลักษณ์ จันทร์บาง. 2560. ประสิทธิภาพของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในการกำจัดมอดหนวดยาว (Cryptolestes pusillus) ในข้าวและสัณฐานวิทยาของไข่มอดหนวดยาว. วารสารเกษตร 33(3): 377-386.

วันทนา ศรีรัตนศักดิ์ จินตนา ไชยวงศ์ สุกัญญา อรัญมิตร และ อุรัสยาน์ บูลย์ประมุข. 2554. แมลง-สัตว์ศัตรูข้าวและการป้องกันกำจัด. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ. 198 หน้า.

วันทนา ศรีรัตนศักดิ์ จินตนา ไชยวงศ์ และ สุกัญญา เทพันดุง. 2553. แมลงศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติในนาข้าว: การประเมินและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท วิช ครีเอชั่น (ประเทศไทย) จำกัด, กรุงเทพฯ. 78 หน้า.

วันทนา ศรีรัตนศักดิ์ เรวัต ภัทรสุทธิ นลินี เจียววรรธนะ เพชรหทัย ปฏิรูปานุสร ถนอมจิตร์ ฤทธิ์มนตรี และ เพชรี เซ่งซิ้ม. 2550. แมลง-สัตว์ศัตรูข้าวและการป้องกันกำจัด. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ. 188 หน้า.

วิชัย สรพงษ์ไพศาล สมชาย ธนสินชยกุล วงค์พันธ์ พรหม-วงค์ ฉัตรมณี วุฒิสาร และ ภราดร ดอกจันทร์. 2554. ความหลากชนิดของแมลงศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติในนาข้าวอินทรีย์. วารสารเกษตร 27(1): 39-48.

วีรยุทธ สร้อยนาค วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ สมชาย ธนสินชยกุล วิชัย สรพงษ์ไพศาล และ คณิตา เกิดสุข. 2558. ความหลากหลายของแมลงและแมงมุมในนาข้าวเขตชลประทานจังหวัดพิษณุโลก. วารสารเกษตร 31(3): 281-290.

ศุภกร วงศ์สุข เยาวลักษณ์ จันทร์บาง และ จิราพร กุลสาริน. 2560. ประสิทธิภาพเศษใบและก้านใบยาสูบในการควบคุมแมลงศัตรูผักบางชนิด. วารสารเกษตร 33(3): 367-376.

สุภาวดี ขุนทองจันทร์. 2559. การเสริมสร้างศักยภาพของเกษตรกรในการผลิตพริกพื้นเมืองพันธุ์หัวเรือตามมาตรฐานเกษตรปลอดภัยในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารเกษตร 32(2): 209-221.

อารยา บุญศักดิ์ วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ ไสว บูรณพานิช-พันธุ์ และ จิราพร กุลสาริน. 2558. การคัดเลือกเชื้อรา Metarhizium anisopliae (Metschnikoff) Sorokin ที่มีศักยภาพในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว. วารสารเกษตร 31(3): 291-299.

Asahina, S. 1993. A list of Odonata from Thailand. Bosco Offset, Bangkok. 448 p.

Begum, M., G.M. Gurr, S.D. Wratten and H.I. Nicol. 2004. Flower color affects tri-trophic-level biocontrol interactions. Biological Control 30: 584-590.

Gurr, G.M. 2009. Prospects for ecological engineering for planthoppers and other arthropod pests in rice. pp. 371-388. In: K.L. Heong and B. Hardy (eds.). Planthoppers: New Threats to the Sustainability of Intensive Rice Production Systems in Asia. International Rice Research Institute, Los Baños.

Heong, K.L., G.B. Aquino and A.T. Barrion. 1991. Arthropod community structures of rice ecosystems in the Philippines. Bulletin of Entomological Research 81: 407-416.

Heong, K.L. 2009. Are planthopper problems caused by a breakdown in ecosystem services? pp. 221-232. In: K.L. Heong and B. Hardy (eds.). Planthoppers: New Threats to the Sustainability of Intensive Rice Production Systems in Asia. International Rice Research Institute, Los Baños.

Heong, K.L. and K. Sogawa. 1994. Management strategies for insect pests of rice: Critical issues. pp. 3-14. In: P.S. Teng, K.L. Heong and K. Moody (eds.). Rice Pest Science and Management. International Rice Research Institute, Los Banos.

Hutacharern, C., N. Tubtim and C. Dokmai. 2007. Checklists of Insects and Mites in Thailand. Department of Nation Parks, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok. 319 p.

Jervis, M.A., J.C. Lee and G.E. Heimpel. 2004. Use of behavioural and life history studies to understand the effects of habitat manipulation. pp. 65-100. In: G.M. Gurr, S.D. Wratten and M.A. Altieri (eds.). Ecological Engineering for Pest Management: Advances in Habitat Manipulation for Arthropods. CSIRO Publishing, Collingwood.

Krebs, C.J. 1972. Ecology: The Experimental Analysis of Distribution and Abundance. Harper and Row, New York. 694 p.

Landis, D.A., S.D. Wratten and G.M. Gurr. 2000. Habitat management to conserve natural enemies of arthropod pests in agriculture. Annual Review of Entomology 45: 175-201.

Lu, Z.X. and K.L. Heong. 2009. Effects of nitrogen-enriched rice plants on ecological fitness of planthoppers. pp. 247-256. In: K.L. Heong and B. Hardy (eds.). Planthoppers: New Threats to the Sustainability of Intensive Rice Production Systems in Asia. International Rice Research Institute, Los Baños.

Lu, Z.X., P.Y. Zhu, G.M. Gurr, X.S. Zheng, D.M. Read, K.L. Heong, Y.J. Yang and H.X. Xu. 2014. Mechanisms for flowering plants to benefit arthropod natural enemies of insect pests: Prospects for enhanced use in agriculture. Insect Science 21(1): 1-12.

Norela, S., I. Anizan, B.S. Ismail and A. Maimon. 2013. Diversity of pest and non-pest insects in an organic paddy field cultivated under the system of rice intensification (SRI): A case study in Lubok China, Melaka, Malaysia. Journal of Food, Agriculture & Environment 11(3&4): 2861-2865.

Ooi, P.A.C. and B.M. Shepard. 1994. Predators and parasitoids of rice insect pests. pp. 585-612. In: E. A. Heinrichs (ed.). Biology and Management of rice Insects. Wiley Eastern Ltd., New Delhi.

Ostman, O. 2004. The relative effects of natural enemy abundance and alternative prey abundance on aphid predation rates. Biological Control 30: 281-287.

Peng, S., and B. Hardy. 2001. Rice Research for Food Security and Poverty Alleviation. International Rice Research Institute, Los Baños. 692 p.

Rivero, A. and J. Casas. 1999. Incorporating physiology into parasitoid behavioral ecology: the allocation of nutritional resources. Researches on Population Ecology 41: 39-45.

Savary, S., F. Horgan, L. Willocquet and K.L. Heong. 2012. A review of principles for sustainable pest management in rice. Crop Protection 32: 54-63.

Shepard, B.M., A.T. Barrion and J.A. Litsinger. 1995. Rice-Feeding Insects of Tropical Asia. IRRI, Manila. 234 p.

Van Driesche, R.G. and T.S. Bellows, Jr. 1996. Biological Control. Chapman and Hall, New York. 539 p.

Wilson, E.O. 2000. Ants: Standard Methods for Measuring and Monitoring Biodiversity. Smithsonian Institution Press, Washington, D.C. 248 p.