พฤติกรรมการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรบ้านโพธิ์ประสาท ตำบลบ่อทอง อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปุ๋ยเคมีเป็นปัจจัยการผลิตที่มีความสำคัญทางการเกษตร แต่เกษตรกรในปัจจุบันมีพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินความจำเป็นและใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยเคมีและความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยเคมีของเกษตรกรบ้านโพธิ์ประสาท ตำบลบ่อทอง อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เก็บข้อมูลในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างโดยอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านจำนวน 5 คน ที่ผ่านการอบรมแล้ว เก็บข้อมูลจากผู้ที่มีอาชีพหลัก และ/หรือ อาชีพเสริมทางเกษตรกรรมที่ยินดีให้ความร่วมมือในการวิจัย ผลการสำรวจพบว่า มีเกษตรกร 74 คน จาก 74 ครัวเรือนให้ความร่วมมือตอบแบบสัมภาษณ์ เกษตรกรทั้งหมดใช้ปุ๋ยเคมีทางการเกษตรมาเป็นระยะเวลานาน และมีพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยเคมีเหมือน ๆ กัน เนื่องจากได้รับข้อมูลข่าวสารจากเพื่อนบ้าน แหล่งข้อมูลข่าวสารจากทางราชการได้รับการกล่าวถึงน้อย ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกร คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ เช่น ความสะดวกในการใช้ ปัจจัยด้านหลักฐานเชิงประจักษ์ เช่น ประสบการณ์ตรงที่เคยใช้แล้วได้ผลดี ปัจจัยด้านต้นทุน เช่น ราคาปุ๋ย และปัจจัยด้านช่องทางจัดจำหน่าย เช่น หาซื้อได้ง่าย ส่วนปัจจัยด้านข้อมูลข่าวสารและการส่งเสริมการตลาดมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของเกษตรกรเพียงปานกลางถึงน้อย ในภาพรวม เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยเคมีในระดับปานกลาง แต่มีความรู้เกี่ยวกับปริมาณที่เหมาะสมของปุ๋ยเคมีอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ เกษตรกรเกือบทั้งหมดยังไม่มีประสบการณ์ในการใช้ผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชอื่น ๆ นอกจากปุ๋ยเคมี ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการปรับกลยุทธ์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้และพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยเคมีที่เหมาะสม
Article Details
References
กัญชลี เจติยานนท์ ภิญญุภา เปลี่ยนบางช้าง ศักดิ์ชัย วิทยาอารีย์กุล และ อรรัตน์ โลหิตนาวี. 2558. การใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรบ้านปลวกง่าม ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 32(1): 28-38.
ชาญพิทยา ฉิมพาลี. 2559. สถิติและแนวโน้มพื้นที่ปลูกข้าวของประเทศไทย. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.thairice.org/doc_dl/ seminar-29Oct13/3-powerpoint (K.Chanpitaya).pdf (27 ตุลาคม 2559).
นราศิณี แก้วใหลมา สุรพล เศรษฐบุตร บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล และ ประทานทิพย์ กระมล. 2560. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 33(3): 387-395.
บุษบง เจาฑานนท์ ปิยะพร หวังรุ่งทรัพย์ ศรีสุชา เชาว์พร้อม ธวัช กันตระศรี อนุ บัวเฟื่องกลิ่น และ เจริญพงษ์ ชูนุช. 2549. ประสิทธิผลการนำกระบวนการตลาดเชิงสังคมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันไข้มาลาเรียของเกษตรกร. หน้า. 22-36. ใน: รายงานการวิจัย กลุ่มสนับสนุนวิชาการ สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี.
ปัทมา สุวรรณจำรูญ วาสนา สุวรรณวิจิตร และ อรจันทร์ ศิริโชติ. 2556. ทัศนคติของเกษตรกรต่อส่วนประสมทางการตลาดระหว่างปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 6(2): 47-57.
มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย). 2559. เกษตรกรรมในประเทศไทย: วรรณกรรมปริทัศน์. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www. sathai.org/autopagev4/files/AudKQg5Thu100547.pdf (27 ตุลาคม 2559).
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร. 2558. ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าปุ๋ยเคมีสูตรที่สำคัญ ปี 2551-2558. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http:// www.oae.go.th/download/FactorOfProduct/Fertilizer_value49-54.html (27 ตุลาคม 2559).
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2559ก. ปริมาณปุ๋ยเคมีที่ใช้ในการเกษตร. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=150& (27 ตุลาคม 2559).
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2559ข. สถิติการใช้ที่ดินจังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. 2546-2556. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://service.nso. go.th/nso/web/statseries/statseries14.html (27 ตุลาคม 2559).
Anderson, L.W. and D.R. Krathwohl (eds.). 2001. A Taxonomy of Learning, Teaching, and Assessing: A Revision of Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives. Longman, New York. 352 p.
Geisseler, D. and K.M. Scow. 2014. Long-term effects of mineral fertilizers on soil microorganisms-a review. Soil Biology & Biochemistry 75: 54-63.
Hossain, M. and V.P. Singh. 2000. Fertilizer use in asian agriculture: implications for sustaining food security and the environment. Nutrient Cycling in Agroecosystems 57(2): 155-169.
Knowles, M. 1984. Andragogy in Action: Applying Modern Principles of Adult Learning. Jossey-Bass, San Francisco. 444 p.
Maibach, E.W. 1993. Social marketing for the environment: using information campaigns to promote environmental awareness and behavior change. Health Promotion International 8(3): 209-224.
Rogers, E.M. 2003. Diffusion of Innovations. 5th ed. Free Press, New York. 576 p.
Savci, S. 2012. Investigation of effect of chemical fertilizers on environment. APCBEE Procedia 1(2): 287-292.
Uddin, M.S. and K. Kurosawa. 2011. Effect of chemical fertilizer application on the release of arsenic from sediment to groundwater in Bangladesh. Procedia Environmental Sciences 4: 294-302.