ระดับโปรตีนและพลังงานใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมในสูตรอาหารไก่กระดูกดำ สายพันธุ์โครงการหลวง ช่วงอายุ 11-16 สัปดาห์

Main Article Content

สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์
ปฏิวัติ ผายทอง
บุญล้อม ชีวะอิสระกุล

บทคัดย่อ

ใช้ไก่กระดูกดำสายพันธุ์โครงการหลวงอายุ 10 สัปดาห์ จำนวน 336 ตัว สุ่มแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 28 ตัว (เพศผู้ 12 และเพศเมีย 16 ตัว) วางแผนการทดลองแบบ 2x2 factorial arrangement in CRD ให้ได้รับอาหารทดลองที่มี CP 2 ระดับ คือ 17 เทียบกับ 15% แต่ละระดับ CP มี ME 2 ระดับ คือ 3.2 เทียบกับ 2.9 kcal/g เลี้ยงเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ผลปรากฏว่า ค่าสหสัมพันธ์ระหว่าง CP และ ME ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จึงพิจารณาแต่ละปัจจัย พบว่า การให้อาหารที่มีระดับ CP ต่างกัน ไม่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม ADG ปริมาณอาหารที่กิน FCR และอัตราการตายแตกต่างกัน (P>0.05) แต่การให้ ME ระดับต่ำทำให้ไก่กินอาหารมากขึ้น (2.72 vs. 2.60 กก.; P<0.01) ส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่ม (0.61 vs. 0.58 กก.) และ ADG (14.58 vs. 13.56 ก.) ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับ ME ระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ส่วน FCR และอัตราการตาย ให้ผลไม่ต่างกัน (P>0.05) เมื่อพิจารณารายกลุ่ม พบว่า ไก่กลุ่มที่ 2 ซึ่งได้รับอาหารที่มี 17% CP, 2.9 kcal ME/g มีสมรรถภาพการผลิตดีกว่ากลุ่มที่ 1, 3 และ 4 อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) คือ มีน้ำหนักตัวเพิ่ม 0.64 vs. 0.57, 0.56 และ 0.59 กก.; ADG 15.15 vs. 13.68, 13.44 และ 14.00 ก. และ FCR 4.34 vs. 4.51, 4.65 และ 4.57 รวมทั้งมีต้นทุนค่าอาหารต่อน้ำหนักเพิ่ม 1 กก. (FCG) ต่ำกว่าด้วย (50.74 vs. 58.41, 56.84 และ 50.91 บาท/กก. น้ำหนักเพิ่ม ตามลำดับ) ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากไก่กลุ่มดังกล่าวกินอาหารมากกว่า (65.63 vs. 61.58, 62.30 และ 63.97 ก./วัน ตามลำดับ; P<0.05) ทำให้ได้รับสารอาหาร เช่น โปรตีนมากกว่า (11.17 vs. 10.47, 9.36 และ 9.59 ก./วัน ตามลำดับ; P<0.05) สรุปได้ว่า สูตรอาหารที่เหมาะสมสำหรับไก่กระดูกดำโครงการหลวงช่วงอายุ 11-16 สัปดาห์ ควรมี 17% CP, 2.9 kcal ME/g

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัญ จันทลักขณา. 2549. สถิติการวิเคราะห์และการวางแผนการวิจัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ, 476 หน้า.

บัญฑิต ธานินทร์ธราธาร ประทีป ราชแพทยาคม กระจ่าง วิสุทธารมณ์ สมชัย จันทร์สว่าง สุภาพร อิสริโยดม อรทัย ไตรวุฒานนท์ และ ศิริลักษณ์ พรสุขศิริ. 2528. ส่วนประกอบทางเคมีและค่าทางโลหิตวิทยาของไก่เนื้อดำบางพันธุ์เปรียบเทียบกับไก่เนื้อสีขาว. รายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยการปรับปรุงการผลิตไก่เนื้อดำเพื่อการส่งตลาด. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

บุญญวดี ธนัญชัย สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ และ บุญล้อม ชีวะ-อิสระกุล. 2544. ความต้องการพลังงานและโปรตีนของไก่ลูกผสมพื้นเมืองอายุ 11-13 สัปดาห์. หน้า 161-168. ใน: รายงานการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 39 สาขาสัตว์และสาขาสัตวแพทยศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ปฏิวัติ ผายทอง สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ บุญล้อม ชีวะอิสระกุล และ ศุภมิตร เมฆฉาย. 2560. ระดับโปรตีนและพลังงานใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมในสูตรอาหารไก่กระดูกดำโครงการหลวงช่วงอายุ 6-10 สัปดาห์. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 48(Suppl. 2): 47-54.

มนัสนันท์ นพรัตน์ไมตรี ศักดา ประจักษ์บุญเจษฎา ทับทิมทิพย์ อินกอง ชลธิชา ดวงดี และ วรางคณา กิจพิพิธ. 2560. ผลของการเสริมบีเทนแอนไฮดรัสในน้ำดื่มของไก่เนื้อต่อสมรรถภาพการผลิตการย่อยได้ของโภชนะ ลักษณะเลือด ลักษณะซาก และคุณภาพเนื้อ. วารสารเกษตร 33(1): 91-107.

ศิริลักษณ์ พรสุขศิริ. 2530. การศึกษาลักษณะบางประการของไก่เนื้อดำและลูกผสมเกี่ยวกับการเจริญเติบโต คุณค่าทางอาหาร และลักษณะของเม็ดสีเมลานิน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 89 หน้า.

สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ บุญล้อม ชีวะอิสระกุล และ รุ่งรัตน์ ปิงเมือง. 2543. ระดับโปรตีนและพลังงานที่เหมาะสมในอาหารไก่ลูกผสมพื้นเมืองระยะเจริญเติบโต. หน้า 100-113. ใน: รายงานการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 38 สาขาสัตว์ สาขาสัตวแพทยศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ บุญล้อม ชีวะอิสระกุล วิไลพร ทัณฑะ-รักษ์ ณัฐกานต์ มณีทอง องอาจ ส่องสี กัญญารัตน์ พวกเจริญ วิชิต สนลอย และ ศุภฤกษ์ นาคกิตติ-เศรษฐ์. 2557. การคัดเลือกและปรับปรุงสายพันธุ์สัตว์ปีกเพื่อเป็นสัตว์เศรษฐกิจทางเลือกใหม่อย่างยั่งยืนบนพื้นที่สูง. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน), กรุงเทพฯ. 207 หน้า.

สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ บุญล้อม ชีวะอิสระกุล ศุภมิตร เมฆฉาย ปฏิวัติ ผายทอง และ วิชิต สนลอย. 2559. การวิจัยและพัฒนาสูตรอาหารสำหรับไก่กระดูกดำและระบบการผลิตลูกไก่และการเลี้ยงขุนตามระบบการผลิตที่ดี (GAPs) ที่เหมาะสมกับพื้นที่สูง. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน), เชียงใหม่. 95 หน้า.

Bateson, W. and R.C. Punnett. 1911. The inheritance of the peculiar pigmentation of the Silkie fowl. Journal of Genetics 1(3): 185-203.

Dorshorst, B., R. Okimoto and C. Ashwell. 2010. Genomic regions associated with dermal hyperpigmentation, polydactyly and other morphological traits in the Silkie chicken. Journal of Heredity 101(3): 339–350.

Scott, M.L. 1984. Dietary Nutrient Allowances for Chickens, Turkeys. Feedstuffs Reference Issue 56(30): 64-66.