ผลของเศษปลาหมักต่อการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหาร และสารอาหารของปลานิลแดง (<I>Oreochromis niloticus</I> x <I>O. mossambicus</I>)

Main Article Content

อนุรักษ์ เขียวขจรเขต

บทคัดย่อ

เศษปลาหมัก (fish silage, FS) จากกระบวนการแปรรูปสัตว์น้ำเป็นเศษเหลือทิ้งที่ยังคงสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ จึงเป็นที่มาของศึกษานี้โดยกำหนดให้อาหารทดลองผสมด้วยเศษปลาหมักที่ระดับต่างๆ จำนวน 5 ระดับประกอบด้วย สูตรควบคุม (FS0) ไม่ผสมเศษปลาหมัก และมีแหล่งโปรตีนที่มาจากปลาป่นเป็นหลัก สูตรที่ 2-5 (FS25-FS100) ผสมเศษปลาหมักที่ระดับ 25, 50, 75 และ 100 เปอร์เซ็นต์ของระดับโปรตีนในปลาป่นในสูตรควบคุมตามลำดับ โดยกำหนดให้มีโปรตีน และไขมันในระดับใกล้เคียงกัน จากการทดลองพบว่าปลาที่ได้รับอาหารสูตร FS25 และ FS50 มีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นต่อวัน อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะสูง การเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว ประสิทธิภาพการย่อยวัตถุแห้งและโปรตีน ประสิทธิภาพการใช้โปรตีน การสะสมฟอสฟอรัส และการขับไนโตรเจนและฟอสฟอรัสไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) กับสูตรควบคุม (FS0) ในขณะที่ปลานิลแดงที่ได้รับอาหาร FS75 และ 100 มีผลเชิงลบต่อการเจริญเติบโต และเมื่อประสิทธิภาพการย่อยโปรตีนต่ำจะส่งผลต่อการเจริญเติบโต การนำสารอาหารไปประโยชน์ส่งผลต่อการขับไนโตรเจน และฟอสฟอรัสสูงอีกด้วย ด้านต้นทุนค่าอาหารพบว่าเมื่อใช้เศษปลาหมักที่ 25 และ 50 เปอร์เซ็นต์มีผลทำให้อาหารมีต้นทุนที่ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม การทดลองในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเศษปลาหมักเป็นวัตถุดิบที่ศักยภาพต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และสามารถทดแทนโปรตีนจากปลาป่นได้มากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและสามารถลดการขับสารอาหารลงสู่แหล่งน้ำได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณนา อาจสูงเนิน. 2559. การสำรวจรูปแบบการเพาะเลี้ยงปลาเชิงพาณิชย์ในหมู่บ้านปงหลวง อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย. วารสารเกษตร 32(3): 409-419.

จาตุรนต์ ป้องน้ำไผ่ และ ชนกันต์ จิตมนัส. 2560. การตรวจวินิจฉัยเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่ระบาดในฟาร์มปลานิลโดยใช้เทคนิคพีซีอาร์-อาร์เอฟแอลพี. วารสารเกษตร 33(3) 427-345.

นพวรรณ ฉิ้มสังข์ อารีรัตน์ บุญมี วัชรี ส่งศรีอ่อน สตรี ไทยท่าบาก และ ปิยะพงศ์ โชติพันธุ์. 2548. การใช้เศษปลาจากการแปรรูปเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารปลานิล (Oreochromis niloticus). วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 27(ฉบับพิเศษ 1): 141-149.

วรวุฒิ เกิดปราง และ ปรีดา ภูมี. 2558. สัดส่วนเศษปลาหมักทดแทนปลาป่นที่เหมาะสมในสูตรอาหารปลานิลแดง (Oreochromis niloticus x O. mossambicus). วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง 2: 34-42.

วุฒิพร พรหมขุนทอง อนุรักษ์ เขียวขจรเขต และ กิจการ ศุภมาตย์. 2551. ผลของโมโนโซเดียมฟอสเฟตในอาหารปลาที่มีปลาป่นระดับต่ำต่อการเจริญเติบโต และประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากฟอสฟอรัสในปลานิลแดงแปลงเพศ (Oreochromis niloticus x O. mossambicus). วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง 2(2): 9-32.

อัจฉรี เรืองเดช นงนุช เลาหะวิสุทธิ์ และบุปผา จงพัฒน์. 2558. การใช้โปรตีนไฮโดรไลเสตที่ได้จากเศษเครื่องในปลานิลเพื่อทดแทนการใช้ปลาป่นในอาหารปลาดุกลูกผสม. แก่นเกษตร 43(ฉบับพิเศษ 2): 603-608.

Abarra, S.T., S.F. Valasques, K.D.D.C. Guzman, J.L.F. Felipe, M.M. Tayamem, and J.A. Ragaza. 2017. Replacement of fishmeal with processed meal from knife fish Chitala ornata in diets of juvenile Nile tilapia Oreochromis niloticus. Aquaculture Reports 5: 76-83.

Al-Abri, A.S., O. Mahgoub, I.T. Kadim, W. Al-Marzooqi, S.J. Goddard and M. Al-Farsi. 2014. Processing and evaluation of nutritive value of fish silage for feeding Omani sheep. Journal of Applied Animal Research 42: 406-413.

AOAC (Association of Official Analytical Chemist). 1990. Official Methods of Analysis, AOAC, Washington, D.C.

Berge, G.M. and T. Storebakken. 1996. Fish protein hydrolysate in starter diets for Atlantic salmon (Salmo salar) fry. Aquaculture 145: 205-212.

Brinker, A. and R. Reiter. 2011. Fish meal replacement by plant protein substitution and guar gum addition in trout feed, Part I: Effects on feed utilization and fish quality. Aquaculture 310: 350-360.

Fagbenro, O.A. and K. Jauncey. 1995. Growth and protein utilization by juvenile catfish (Clarias gariepinus) fed dry diets containing co-dried lactic-acid-fermented fish-silage and protein feedstuffs. Bioresource Technology 51: 29-35.

Fagbenro, O.A., K. Jauncey and G. Haylor. 1994. Nutritive value of diets containing dried lactic acid fermented fish silage and soybean meal for juvenile Oreochromis niloticus and Clarias gariepinus. Aquatic Living Resources 7: 79-85.

Hardy, R.W., K.D. Shearer and J. Spinelli. 1984. The nutritional properties of co-dried fish silage in rainbow trout (Salmo gairdneri) dry diets. Aquaculture 38: 35-44.

Haylor, G.S. 1992. African Catfish Hatchery Manual. Stirling Aquaculture, University of Stirling, Scotland. 86 p.

Heras, H., C.A. McLeod and R.G. Ackman. 1994. Atlantic dogfish silage vs herring silage in diets for Atlantic salmon (Salmo salar): growth and sensory evaluation of fillets. Aquaculture 125: 93-106.

Madage, S.S.K., W.U.D. Medis and Y. Sultanbawa. 2015. Fish silage as replacement of fishmeal in red tilapia feeds. Journal of Applied Aquaculture 27: 95-106.

Naylor, R.L., R.J. Goldburg, J.H. Primavera, N. Kautsky, M.C.M. Beveridge, J. Clay, C. Folke, J. Lubchenco, H. Mooney and M. Troell. 2000. Effect of aquaculture on world fish supplies. Nature 405: 1017-1024.

Olsen, R.L., and J. Toppe. 2017. Fish silage hydrolysates: Not only a feed nutrient, but also a useful feed additive. Trends in Food Science and Technology 66: 93-97.

Parrish, C.C., H. Li, W.M. Indrasena and R.G. Ackman. 1991. Silage feeds in Atlantic salmon farming: flavor volatiles and lipid composition, feeding trails, and taste panels. Bulletin of the Aquaculture Association of Canada 91: 75-84.

Toppe, J., A. Aksnes, B. Hope and S. Albrektsen. 2006. Inclusion of fish bone and crab by-products in diets for Atlantic cod, Gadus morhua. Aquaculture 253: 636-645.

Vielma, S.P. and S.P. Lall. 1998. Phosphorus utilization by Atlantic salmon (Salmo salar) reared in freshwater is not influenced by higher dietary calcium intake. Aquaculture 160: 117-128.