ผลของสารคล้ายบราสซินต่อผลผลิตและคุณภาพของข้าวโพดหวาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ศึกษาผลของสารคล้ายบราสซินต่อผลผลิตและคุณภาพของข้าวโพดหวาน พันธุ์ชูการ์ สตาร์ โดยวางแผนการทดลองแบบบล็อคสุ่มสมบูรณ์ (RCBD) ประกอบด้วย 4 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 4 ซ้ำ ดังนี้ ฉีดพ่นสารคล้ายบราสซินที่ระดับความเข้มข้น 0 (กรรมวิธีควบคุม), 0.5, 1.0 และ 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ใน 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1-3 พ่นที่ใบ เมื่อต้นข้าวโพดมีอายุ 7 และ 30 วัน และเมื่อช่อดอกเพศผู้โผล่พ้นใบธง 50% ระยะที่ 4 พ่นที่ฝัก เมื่อดอกเพศเมียปรากฎไหม 50% ผลการทดลองพบว่าทุกกรรมวิธีที่ให้สารคล้ายบราสซินทำให้ น้ำหนักสด ความยาว และความกว้างของฝักทั้งก่อนและหลังปอกเปลือก จำนวนแถวต่อฝัก จำนวนเมล็ดต่อแถว และน้ำหนักสด 100 เมล็ด สูงกว่ากรรมวิธีควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ในทุกกรรมวิธีที่ให้สารคล้ายบราสซินไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญกับกรรมวิธีควบคุม ซึ่งกรรมวิธีที่ให้สารคล้ายบราสซินที่ความเข้มข้น 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้น้ำหนักสด ความยาว และความกว้างของฝักรวมเปลือก 678.64 กรัม 38.11 เซนติเมตร และ 8.06 เซนติเมตร ตามลำดับ และให้ความคุ้มค่าของผลตอบแทนสูงที่สุด ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้การให้สารคล้ายบราสซินที่ความเข้มข้น 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร จึงมีความเหมาะสมที่สุดต่อผลผลิตและคุณภาพของข้าวโพดหวาน
Article Details
References
ชรัสนันท์ ตาชม และ ธนะชัย พันธ์เกษมสุข. 2548. การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชบางชนิดเพื่อการเพิ่มขนาดผลลำไยพันธุ์ดอ. วารสารเกษตร 21(3): 213-218.
ณัฐพงศ์ สัตยพานิช. 2552. ผลของบราสิโนสเตียรอยด์ต่อการเปลี่ยนแปลงเอทิลีนและสารชีวเคมีในลำไยพันธุ์ดอ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 90 หน้า.
ดรุณี สมณะ และ ธนะชัย พันธ์เกษมสุข. 2553. ผลของสารคล้ายบราสซินต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและชีวเคมีบางประการของผลมะม่วงพันธุ์มหาชนก. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 27(1): 9-18.
ทวีศักดิ์ ภู่หลำ. 2540. ข้าวโพดหวาน: การปรับปรุงพันธุ์และการปลูกเพื่อการค้า. โอ เอส พริ้นติ้ง เฮาส์, กรุงเทพฯ. 188 หน้า.
พณิตา สุโข สุทิศา ชัยกุล นงนุช ชนะสิทธิ์ และ ธนะชัย พันธ์เกษมสุข. 2559. ผลของ GA3 NAA และสารคล้ายบราสซิน (BS) ต่อขนาดและน้ำหนักของผลเงาะพันธุ์โรงเรียน. วารสารเกษตร 33(2): 175-184.
วรวัธน์ อัสดรนิธี และ ศศิธร ซิ้มประเสริฐ. 2557. สถานการณ์การผลิตและการแข่งขันทางการค้าข้าวโพดหวานระหว่างประเทศ. เอกสารโครงการจัดสัมมนาวิชาการข้าวโพดฝักสด ครั้งที่ 7. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และศูนย์วิจัยพืชไร่ เชียงใหม่. เชียงใหม่. 36 หน้า.
อุบลวรรณ รัตนทิพยาภรณ์ และ ธนะชัย พันธ์เกษมสุข. 2555. ผลของสารคล้ายบราสซินต่อคุณภาพผลของลำไยพันธ์ดอ. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 29(2): 8-14.
Divi, U.K. and P. Krishna. 2009. Brassinosteroid: a biotechnological target for enhancing crop yield and stress tolerance. New Biotechnology 26: 131-136.
Gudesblat, G.E. and E. Russinova. 2011. Plants grow on brassinosteroids. Plant Biology 14: 530-537.
Hayashi, S., T. Hohjoh, A. Shida and N. Ikekawa. 1989. 23-Phenylbrassinosteroids. US Patent 4767442.
Lim, U.K. and S.S. Han. 1988. The effect of plant growth regulating brassinosteroid on early state and yield of corn. Seoul National University of Agricultural Sciences 13: 1-14.
Mussig, C. and T. Altmann. 1999. Physiology and molecular mode of action of brassinosteroids. Plant Physiology and Biochemistry 37(5): 363-372.
USDA. 2014. Wisconsin Farm Reporter. USDA Wisconsin Field Office, Wisconsin. 4 p.
Vardhini, B.V. and S.S.R. Rao. 1998. Effect of brassinosteroids on growth, metabolite content and yield of Arachis hypogaea. Phytochemistry 48(6): 927-930.
Wu, C.Y., A. Trieu, P. Radhakrishnan, S.F. Kwok, S. Harris, K. Zhang, J. Wang, J. Wan, H. Zhai, S. Takatsuto, S. Matsumoto, S. Fujioka, K.A. Feldmann and R.I. Pennell. 2008. Brassinosteroids regulate grain filling in rice. Plant Cell 20: 2130-2145.