ความรู้และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ และปัจจัยส่วนบุคคลของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ ความสามารถ ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ตลอดจนปัญหา และข้อเสนอแนะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรจังหวัด 1 คน เกษตรอำเภอ 18 คน และเกษตรตำบล 73 คน
ผลการวิจัยพบว่า เกษตรอำเภอและเกษตรตำบล ทั้งสองกลุ่มมีความรู้ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ในระดับมาก และทั้งสองกลุ่มมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ในระดับปานกลาง ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และความสามารถของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Sig. < 0.5) คือ 1) เพศ มีความสัมพันธ์กับความรู้ของเกษตรอำเภอ 2) ระยะเวลาการทำงานเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ มีความสัมพันธ์กับความรู้ของเกษตรตำบล 3) ระดับการศึกษา และระยะเวลาการทำงานเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ มีความสัมพันธ์กับความสามารถของเกษตรอำเภอ และจากการศึกษาปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย พบว่า 1) นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรขาดความรู้เฉพาะอย่างในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ เช่น การใช้โปรแกรมตัดแต่งรูปภาพ 2) ขาดบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะทาง และ 3) อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ มีศักยภาพต่ำ
Article Details
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2556. แผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมการเกษตร พ.ศ. 2556-2559. กองแผนงาน กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพฯ. 47 หน้า.
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2558. คู่มือการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรประจำปี 2558. กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพฯ. 114 หน้า.
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2559ก. ระบบส่งเสริมการเกษตร MRCF. กองแผนงาน กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพฯ. 70 หน้า.
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2559ข. แผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมการเกษตร พ.ศ. 2560-2564. กองแผนงาน กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพฯ. 24 หน้า.
คณะทำงานการบริหารองค์ความรู้. 2560. รายงานผลการจัดการความรู้ ประจำปี 2560 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมการเกษตร. 2 หน้า.
จารุวรรณ ฟูตัน สุรพล เศรษฐบุตร วรทัศน์ อินทรัคคัมพร และ ธนะชัย พันธ์เกษมสุข. 2560. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเกษตรดีที่เหมาะสมในการปลูกผักปลอดภัยของเกษตรกรในศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ทาเหนือ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 33(3): 97-404.
ชาติชาย ทนะขว้าง อินทร์ จันทร์เจริญ และ วีรพันธุ์ ศิริฤทธิ์. 2558. การจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 37. Veridian E-Journal, Silpakorn University 8(1): 789-800.
ณัฐ สมณคุปต์ และ ธานินทร์ คงศิลา. 2555. การพัฒนาเว็บไซท์เพื่อสนับสนุน e - Extension ในงานส่งเสริมการเกษตร. วารสารวิทยาศาสต์เกษตร 43(2)(พิเศษ): 613-617
ปรีดาภรณ์ กาญจนสำราญวงศ์. 2556. รู้จักกับโปรแกรม Excel. บริษัท ไอดีซีพรีเมียร์ จำกัด, นนทบุรี. 310 หน้า.
สามารถ อัยกร. 2558. โปรแกรมไลน์กับการติดต่อสื่อสารภายในองค์กร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา 9(1): 102-107.
สิรินาฏ เทพหิรัญโญ พิชัย ทองดีเลิศ และ สาวิตรี รังสิภัทร์. 2556. ความพร้อมในการใช้ e - Extension เพื่องานส่งเสริมการเกษตร ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร 9(2): 66-76.
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. Harper and Row, New York.