ปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นของสมาชิกในการบริหารงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดอยจำปี ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

เมธาวรรณ ชูเวช
สุรพล เศรษฐบุตร
บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล
ประทานทิพย์ กระมล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคม และความรู้ด้านสมุนไพรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดอยจำปี  2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มที่มีต่อการบริหารงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดอยจำปี 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม และความรู้ด้านสมุนไพรกับความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดอยจำปี 4) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการบริหารงานกลุ่มของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดอยจำปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดอยจำปีจำนวน 57 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าถดถอยพหุแบบขั้นตอน  ผลการศึกษาพบว่า แม่บ้านเกษตรกรฯ มีอายุเฉลี่ย 55.42 ปี แม่บ้านเกษตรกรฯได้รับการศึกษาเฉลี่ย 5.45 ปี ระยะเวลาในการเป็นสมาชิกเฉลี่ย 11.80 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 3.47 คน แม่บ้านเกษตรกรฯส่วนใหญ่ร้อยละ 81 มีอาชีพหลัก แม่บ้านเกษตรกรฯส่วนใหญ่ร้อยละ 84 ไม่มีอาชีพเสริม รายได้ต่อเดือนจากกลุ่มปี พ.ศ. 2559 1,570.75 บาท/เดือน รายได้ต่อเดือนจากกลุ่มปี พ.ศ. 2560 3,596.49 บาท/เดือน แม่บ้านเกษตรฯ เกินกว่ากึ่งหนึ่งคือร้อยละ 54.45 ไม่เคยกู้เงิน ได้รับข่าวสาร 1.21 ครั้ง/ปี  ติดต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 0.85 ครั้ง/ปี  ได้รับการฝึกอบรม 0.78 ครั้ง/ปี ในระยะเวลา 1 ปีเข้าตัวเมือง 4.78 ครั้ง/ปี แม่บ้านเกษตรกรฯ มีความรู้ระดับปานกลางโดยมีคะแนนความรู้ เฉลี่ย 6.36  และมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรฯทั้ง  4 ด้านอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งโดยมีค่าเฉลี่ยรวม 4.33  ด้านบทบาทผู้นำ มีค่าเฉลี่ย 3.96 ด้านระบบการทำงานบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ย 4.50 ด้านการติดต่อสื่อสาร มีค่าเฉลี่ย 4.44 ด้านสภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ย 4.43 การศึกษาครั้งนี้พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อระดับความคิดเห็นของสมาชิกในการบริหารงานกลุ่มแม่บ้านคือ รายได้ต่อเดือนที่ได้รับจากกลุ่ม ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงบวก และ การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรโดย มีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านปัญหาและอุปสรรคการบริหารงานกลุ่มฯ พบว่าคู่แข่งทางการค้ามาก บางช่วงแม่บ้านเกษตรกรผลิตสินค้าไม่ทัน และสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรส่วนใหญ่อายุมาก สมาชิกกลุ่มมีข้อเสนอแนะ ให้คิดค้นสินค้าใหม่ ๆ โดยการวางแผนการทำงานล่วงหน้า และหาสมาชิกเพิ่มในการช่วยผลิตสินค้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Cronbach, L.J. 1951. Coefficient alpha and the internal structure of test. Psychometrika 16(3): 297-334.

Lee, N. and R. Sirisunyaluck. 2017. Commerical rose production potential of farmers in Ban Buak, Mae Rim district, Chiang Mai province. Journal of Agriculture 34(1): 101-110. (in Thai)

Ongkasea, D. 1997. Women’s Group Collaboration and Development in Rural Communities. M.S. Thesis. Chiang Mai University, Chiang Mai. 134 p. (in Thai)

Pimubol, R. 2018. Enterprise information community report in Chiang Rai. (Online). Available: http://www.sceb.doae.go.th/Documents/datachw/chiangrai.pdf (April 20, 2018). (in Thai)

Prapatigul, P. and L. Sriphayammoi. 2017. Administrative of organic livestock famer group in Khon Kaen province. Khon Kaen Agriculture Journal 44(Special Edition 1): 589-594. (in Thai)

Promsupa, K. 2018. Concept (one) for farmer development. (Online). Available: http://www.farmdev.doae.go.th/Data/Local-knowledge/1462012.pdf (May 4, 2018). (in Thai)

Public and Consumer Affairs Division. 2018. Food and Drug Adminstration promote products of standardized housewives group community and develop as a learning center in Chiang Rai. (Online). Available: http://elib.fda.moph.go.th/elib/cgi-bin (April 18, 2018). (in Thai)

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. Harper and Row, New York.