ความสามารถในการผสมข้ามชนิดและสกุลของว่านอึ่ง [<I>Eulophia macrobulbon</I> (Par. & Pchb. f.) Hook. f.] และว่านหัวครู [<I>E. spectabilis</I> (Dennst.) Suresh.]

Main Article Content

พงษ์นที ปินตาแจ่ม
ฉันทลักษณ์ ติยายน
ณัฐา โพธาภรณ์

บทคัดย่อ

ศึกษาความสามารถในการผสมข้ามชนิดและการผสมข้ามสกุลของว่านอึ่งและว่านหัวครู โดยนำกล้วยไม้ดินทั้งสองชนิดมาควบคุมให้มีการผสมภายในชนิด ผสมข้ามชนิดและผสมข้ามสกุลกับว่านจูงนางและเอื้องดินใบหมาก พบว่า ว่านอึ่งและว่านหัวครูที่นำมาผสมตัวเองมีการติดฝัก 86.67 และ 92.30% ตามลำดับ การผสมข้ามชนิดระหว่างว่านอึ่งและว่านหัวครู พบว่า คู่ผสมระหว่างว่านอึ่ง x ว่านหัวครูไม่เกิดฝัก ในขณะที่คู่ผสมระหว่างว่านหัวครู x ว่านอึ่งติดฝัก 100% ส่วนการผสมข้ามสกุล พบว่า คู่ผสมระหว่างว่านอึ่ง x ว่านจูงนางและว่านหัวครู x ว่านจูงนางติดฝัก 21.43 และ 100% ตามลำดับ ในขณะที่ไม่พบการติดฝักในคู่ผสมระหว่างว่านอึ่ง x เอื้องดินใบหมากและว่านหัวครู x เอื้องดินใบหมาก จากการนับจำนวนโครโมโซมจากปลายรากของว่านอึ่งและว่านหัวครู พบว่า มีจำนวนโครโมโซม 2n=48 และ 2n=52 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชิดชนก ก่อเจดีย์ วีณัน บัณทิตย์ จามจุรี โสตถิกุล และ ณัฐา โพธาภรณ์. 2555. ความสามารถในการผสมข้ามชนิดและสกุลของกล้วยไม้ดินสกุลฮาเบนาเรียและสกุลเพคเทลิสบางชนิด. วารสารเกษตร 28(3): 263-272.

ดวงทิพย์ วิทยศักดิ์. 2539. ลักษณะทางสัณฐานวิทยา กายวิภาควิทยา และเซลล์วิทยาของว่านสี่ทิศ. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 105 หน้า.

มังกร โลหะอุดม. 2555. มังกร โลหะอุดม. หน้า 32-33. ใน: ภวพล ศุภนันทนานนท์ (บก.) รวมพลคนรักกล้วยไม้. อัมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. กรุงเทพฯ.

ระพี สาคริก. 2516. การเพาะปลูกกล้วยไม้ในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย. สำนักพิมพ์ชวนพิมพ์, กรุงเทพฯ. 840 หน้า.

วิชรุจญ์ ทองคำ ณัฐา โพธาภรณ์ และ ฉันทลักษณ์ ติยายน. 2558. ความสามารถในการผสมข้ามสกุลย่อยของกล้วยไม้ รองเท้านารีบางชนิด. วารสารเกษตร 31(3): 241-249.

วรงค์ บุญอารีย์. 2553. การผสมพันธุ์และจำนวนโครโมโซมของกล้วยไม้เอื้องดินใบหมาก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 44 หน้า.

สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2548. สรีรวิทยาพืช. พิมพ์ครั้งที่ 4. จามจุรีโปรดักท์, กรุงเทพฯ. 252 หน้า.

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. 2555. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2555. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/download/journal/trends 2555.pdf (18 กันยายน 2555).

อดิศร กระแสชัย. 2547. การปรับปรุงพันธุ์พืช. หน้า 112-127. ใน: วีณัน บัณฑิตย์ (บก.). เอกสารประกอบการสอนหลักการพืชสวน. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

อบฉันท์ ไทยทอง. 2545. กล้วยไม้เมืองไทย. อัมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ. 461 หน้า.

อมรรัตน์ ทองแสน. 2551. การศึกษาลักษณะและการผสมพันธุ์ว่านจูงนางที่รวบรวมจากป่าสงวนแห่งชาติขุนแม่กวง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 174 หน้า.

อรอนงค์ วงศ์น่าน. 2553. ความสามารถในการผสมข้ามหมู่ของกล้วยไม้สกุลซิมบิเดียมบางชนิด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 85 หน้า.

Arditti, J. and R.L. Knauft. 1969. The effect of auxin, actinomycin D, ethionine, and puromycin on post-pollination behavior by Cymbidium (Orchidaceae) flowers. American Journal of Botany 56: 620-628

Bose, T.K. and S.K. Bhattacharjee. 1989. Orchid of India. Naya Prokash, Calcutta. 538 p.

Dafni, A. and P. Bernhardt. 1990. Pollination of terrestrial orchids of southern Australia and the Mediterrranean region. Journal of Evolutionary Biology 24: 193-252.

Rajkumar, K., P.S. Sha Valli Khan and G.J. Sharma. 2005. Hybridization and in vitro culture of an orchid hybrid Ascocenda ‘Kangla’. Scientia Horticulturae 108: 66-73.

Vacin, E. and F. Went. 1949. Some pH changes in nutrient solution. Botanical Gazette 110: 605-613.