การพัฒนาสายพันธุ์พริกหนุ่มเขียวเพศผู้เป็นหมันโดยวิธีการผสมกลับ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งที่พัฒนาสายพันธุ์พริกหนุ่มเขียวเพศผู้เป็นหมันโดยวิธีการผสมกลับ ระหว่างพันธุ์รักษาเพศผู้เป็นหมัน พันธุ์ CA1450 และ CA1445 กับแม่พันธุ์เพศผู้เป็นหมัน พันธุ์ KY16 และ PP32 จากการตรวจสอบความมีชีวิตของเรณู พบว่า พันธุ์ CA1450 และ CA1445 มีพันธุกรรมแบบพันธุ์รักษาเพศผู้เป็นหมันและมีความเสถียร จากการศึกษาพบว่า ลูกผสมชั่วที่ 1 KY16BC3F1CA1445 × CA1448 มีแนวโน้มให้ผลผลิตและน้ำหนักผลต่อต้นสูงสุด รองลงมาคือ ลูกผสมชั่วที่ 1 KY16BC3F1CA1450 × CA1448 และพันธุ์แม่ปิง 80 ทั้งสามพันธุ์ให้ผลผลิต ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับลูกผสมส่วนใหญ่ แม่พันธุ์ทั้งหมดและพ่อพันธุ์ส่วนใหญ่ แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพ่อพันธุ์ CA1447 และพันธุ์จักรพรรดิ แม่พันธุ์ KY16BC3F1CA1450, KY16BC3F1CA1445, PP32BC3F1CA1450 และPP32BC3F1CA1445 มีความสามารถในการรวมตัวทั่วไปมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางบวกของจำนวนผลต่อต้น น้ำหนักผล ความยาวผล และความกว้างพ่อพันธุ์ CA1447, CA1448 และ CA1449 มีความสามารถในการรวมตัวทั่วไปมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางบวกของจำนวนผลต่อต้น ผลผลิต น้ำหนักผลต่อต้น และความยาวผล ลูกผสมบางคู่ที่ได้จากพ่อแม่พันธุ์เหล่านี้ยังมีความสามารถในการรวมตัวเฉพาะเจาะจงแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางบวกของผลผลิต จำนวนผลต่อต้นและน้ำหนักผลเฉลี่ย ลูกผสมส่วนใหญ่แสดงความดีเด่นของลูกผสมที่เหนือกว่าค่าเฉลี่ยของพ่อแม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางบวกของผลผลิต จำนวนผลต่อต้น น้ำหนักผลความกว้างผล และความยาวผล ลูกผสมชั่วที่ 1 KY16BC3F1CA1445 × CA1448 และ PP32BC3F11445 × CA1448 เหมาะสำหรับใช้เป็นพันธุ์พริกลูกผสม
Article Details
References
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2554. “การปลูกพริกเพื่อการค้า”. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://esc.agritech.doae.go.th/webpage/e-book/chili.pdf (1 สิงหาคม 2554).
กฤษฎา สุขวิวัฒน์ และ มณีฉัตร นิกรพันธุ์. 2544. การพัฒนาพ่อแม่พันธุ์ลูกผสมชั่วที่หนึ่งของพริกเผ็ด. วารสารเกษตร 17(2): 125-135.
ขวัญดาว แก้วสมบัติ และ มณีฉัตร นิกรพันธุ์. 2558. ความสามารถในการรวมตัวของลักษณะผลผลิตของพริกที่ใช้แม่พันธุ์รักษาเพศผู้เป็นหมัน. วารสารเกษตร 31(2): 155-165.
ดำเนิน กาละดี. 2545. เทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์พืช. โรงพิมพ์มิ่งเมืองเชียงใหม่, เชียงใหม่. 256 หน้า.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2554. “พริกแห้ง: สถิติการค้าสินค้าเกษตรไทยกับต่างประเทศ”. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/download/journal/statistics53.pdf (1 สิงหาคม 2554).
Bhagyalakshmi, P.V., C.R. Shankar, D. Subrahmanyam and V.G. Babu. 1991. Heterosis and combining ability studies in chillies. The Indian Journal of Genetics and Plant Breeding 51: 420-423.
Gulyas, G., K. Pakozdi, J.S. Lee and Y. Hirata. 2006. Analysis of fertility restoration by using cytoplasmic male-sterile red pepper (Capsicum annuum L.) lines. Breeding Science 56: 331-334.
Khalil, R.M., F.A. Ali, A.M. Metwally and S.T. Farag. 2004. Breeding studies on pepper. Acta Horticulturae 637: 161-168.
Kempthorne, O. 1957. The Design and Analysis of Experiments. Robert E. Krieger Publ. Co. Inc., New York. 631 p.
Lee, Y.M., D.Y. Shim and B.S. Kwon. 1989. Heterosis of quantitative character in pepper (Capsicum annuum L.). Korean Journal of Breeding 21: 28-34.
Meshram, L.D., R.V. Choudhari, B.K. Kukade and M.W. Marawar. 1992. Functional male sterility in hot chili (Capsicum annuum L.). Eucarpia VIIth Meeting on Genetics and Breeding of Capsicum and Eggplant 2: 61-65.
Nikornpun, M., K. Sukwiwat, C. Chaimokol, A. Payakhapaab and D. Boonyakiat. 2009. Morphological descriptors and male sterility in the genetic diversity of chilies (Capsicum annuum L.). Acta Hortculturae 809: 201-208.
Payakhapaab, S., D. Boonyakiat and M. Nikornpun. 2012. Evaluation of heterosis and combining ability of yield components in chillies. Journal of Agricultural Science 4(11): 154 p.
Peterson, P.A. 1985. Cytoplasmically inherited male sterility in Capsicum. The American Naturist 92: 111-119.
Purseglove, J.W. 1968. Tropical Crops Dicotyledons 2. Longmans Green and Co. Ltd., London. 719 p .
Shifriss, C. 1997. Male sterility in pepper (Capsicum annuum L.). Euphytica 93: 83-88.
Sood, S., and N. Kumar. 2010. Heterosis for fruit yield and related horticultural traits in bell pepper. International Journal of Vegetable Science 16(4): 361-373.