การชักนำให้เกิดแคลลัสและยอดจากเอนโดสเปิร์มของเมล็ดอ่อนสบู่ดำ

Main Article Content

วิกาญดา สายวงค์ใจ
ธนียา เจติยานุกรกุล
ธนะชัย พันธ์เกษมสุข

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการชักนำให้เกิดแคลลัสและยอดจากชิ้นส่วนเอนโดสเปิร์มของเมล็ดอ่อนสบู่ดำ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ มี 5 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีที่ 1 อาหารสูตร MS ที่ไม่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต กรรมวิธีที่ 2 อาหารสูตร MS ที่เติม NAA ความเข้มข้น 0.4 มิลลิกรัมต่อลิตร และ GA3 ความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร กรรมวิธีที่ 3 อาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร และ GA3 ความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร กรรมวิธีที่ 4 อาหารสูตร MS ที่เติม NAA ความเข้มข้น 0.4 มิลลิกรัมต่อลิตร และ BA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร และ กรรมวิธีที่ 5 อาหารสูตร MS ที่เติม NAA ความเข้มข้น 0.4 มิลลิกรัมต่อลิตร และ BA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร และ GA3 ความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ทั้งหมดมี 20 ชิ้นส่วนในแต่ละกรรมวิธี เพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิ 25 ±2 องศาเซลเซียส ในสภาพมืดตลอดเวลา พบว่า ในกรรมวิธีที่ 4 อาหารสูตร MS ที่เติม NAA ความเข้มข้น 0.4 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ BA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้สูงสุดคิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ หลังจากเพาะเลี้ยงได้ 3 สัปดาห์ และแคลลัสมีลักษณะเกาะกันแบบหลวม ๆ (friable callus) มีสีเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 2 เซนติเมตร จัดอยู่ในระดับปานกลาง จากนั้นนำมาเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 10 มิลลิกรัมต่อลิตร เพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิ 25 ±2 องศาเซลเซียส ในสภาพให้แสง 16 ชั่วโมงต่อวัน พบว่า สามารถเจริญเป็นยอดอ่อนได้ ในระยะเวลา 18 สัปดาห์ หลังจากย้ายเนื้อเยื่อแคลลัส

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เทิดศักดิ์ โทณลักษณ์. 2554. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อดอกเสี้ยวขาว (Bauhinia variegate L.). รายงานวิจัย. สาขาวิชาเทคโนโลยีและพัฒนาการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่, เชียงใหม่. 36 หน้า.

มยุรี แก้วภู่. 2553. การขยายพันธุ์สบู่ดำ (Jatropha curcas Linn.) โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและการเพิ่มจำนวนชุดโครโมโซมโดยใช้สารโคลชิซีนและออรีซาลิน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพืชศาสตร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 112 หน้า.

รังสฤษดิ์ กาวีต๊ะ. 2545. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช: หลักการและเทคนิค. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 219 หน้า.

ศิวพงศ์ จำรัสพันธุ์. 2546. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สถาบันราชภัฏอุดรธานี. อุดรธานี. 187 หน้า.

โสภณ บุญธรรม ธีรยุทธ ตู้จินดา ณัฐา โพธาภรณ์ และประสาทพร สมิตะมาน. 2558. การชักนำให้เกิดต้นแฮพลอยด์โดยการเพาะเลี้ยงรังไข่ของข้าวสายพันธุ์ลูกผสมกลับ Rathu Heenati/KDML105//Chai Nat 1. วารสารเกษตร 31(2): 145-153.

Chaturvedi, R., M.K. Razdan and S.S. Bhojwani. 2003. An efficient protocol for the production of triploid plants from endosperm callus of neem, Azadirachta indica A. Juss. Journal of Plant Physiology 160: 557-564.

Ling, A.P.K., S.T. Yeo, J.A. Gansau and S. Hussein. 2008. Induction and multiplication of callus from endosperm of Cycas revolute. African Journal of Biotechnology 7(23): 4279-4284.

Miyashita, T., T. Ohashi, F. Shibata, H. Araki and Y. Hoshino. 2009. Plant regeneration with maintenance of the endosperm ploidy level by endosperm culture in Lonicera caerulea var. emphyllocalyx. Plant Cell, Tissue and Organ Culture 98: 291-301.

Na Chiangmai, P., Y. Pootaeng-on, P. Meetum, N. Jankomon, D. Muangnoi and D. Kitthip. 2014. Mutation induction in physic nut (Jatropha curcas L.) by colchicine treatments. Silpakorn University Science and Technology Journal 8(2): 28-39.

Phasitvilaitham, M. and T. Pankasemsuk. 2012. Endosperm culture of Jatropha curcas L. Chiang Mai University Journal of Natural Sciences 11(1): 97-102.

Piromya, R. and P. Kermanee. 2013. Occurrence of tetraploidy in colchicine-treated physic nut (Jatropha curcas Linn.). Kasetsart Journal (Natural Science) 47: 23-29.

Qin, W., W.D. Lu, L. Yi, S.L. Pan, Y. Xu, L. Tang and F. Chen. 2004. Plant regeneration from epicotyl explant of Jatropha curcas. Journal Plant Physiology and Molecular Biology 30: 475-478.

Sun, D.Q., X.H. Lu, G.L. Liang, Q.G. Guo, Y.W. Mo and J.H. Xie. 2011. Production of triploid plants of papaya by endosperm culture. Plant Cell, Tissue and Organ Culture 104: 23-29.

Thomas, T.D., A.K. Bhatnagar and S.S. Bhojwani. 2000. Production of triploid plants of mulberry (Morus alba L.) by endosperm culture. Plant Cell Reports 19: 395–399.

Zhu, X., J. Liu, X. Zheng, Y. Xu and F. Chen. 2011. Regeneration of plantlets mature endosperm of Jatropha curcas L. and analysis of their stomata. Chi. Journal of Applied Environmental and Biological Sciences 17(3): 353-358.