การผลิตหอมแดงปลอดเชื้อไวรัสด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

Main Article Content

ณัฐธิกา วรรณรัตน์
เกวลิน คุณาศักดากุล

บทคัดย่อ

จากการนำตัวอย่างหัวพันธุ์หอมแดงพันธุ์บ้านโฮ่ง จากพื้นที่เพาะปลูก อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน มาปลูกในดินที่ผ่านการฆ่าเชื้อ เพื่อสังเกตอาการโรคใบด่างในสภาพโรงเรือน เป็นเวลา 20 วัน ซึ่งจากการประเมินความรุนแรงของโรค 5 ระดับ (0-4) พบว่าต้นหอมแดงทั้งหมดแสดงอาการใบด่างเป็นขีดสีเหลืองสลับสีเขียวตามแนวยาวของใบ โดยระดับความรุนแรงที่พบมากที่สุดคือระดับ 2 คิดเป็นร้อยละ 37 รองลงมาคือ ระดับ 1, 3 และ 4 คิดเป็นร้อยละ 28.5, 18 และ 16.5 ตามลำดับ เมื่อนำหอมแดงที่แสดงอาการใบด่างมาทดสอบการถ่ายทอดโรคด้วยวิธีกล พบว่าทำให้เกิดอาการแบบ local lesions ในพืชทดสอบ ได้แก่ Chenopodium amaranticolor, C. quinoa, Celosia argentea และ Cassia occidentalis หลังจากปลูกเชื้อเป็นเวลา 14-20 วัน จากนั้นตรวจสอบชนิดของเชื้อไวรัสในพืชที่แสดงอาการด้วยเทคนิคทางเซรุ่มวิทยา จากการใช้ชุดตรวจไวรัสสำเร็จรูป POCy KIT สำหรับตรวจหาเชื้อ Potyvirus, Odontoglossum ringspot virus (ORSV) และ Cymbidium mosaic virus (CyMV) พบว่าตัวอย่างทั้งหมด ให้ผลบวกกับ Potyvirus และ CyMV จากนั้นยืนยันผลอีกครั้งด้วย เทคนิค ELISA โดยใช้แอนติซีรั่มของเชื้อไวรัสในสกุล Potyvirus จากบริษัท Agdia Elkhart, Indiana, USA พบว่า ให้ผลเช่นเดียวกัน และจากการตรวจสอบลักษณะอนุภาคของเชื้อไวรัสด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (TEM) พบอนุภาคไวรัสลักษณะเส้นยาวคด ขนาดความกว้าง 10 นาโนเมตร ความยาว 600-760 นาโนเมตร ซึ่งเป็นขนาดอนุภาคโดยรวมของเชื้อไวรัสในสกุล Potyvirus เมื่อนำหัวพันธุ์หอมแดงดังกล่าวมาทำให้ปลอดไวรัส ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเจริญปลายยอด และตรวจสอบการปลอดโรคด้วยเทคนิค ELISA ด้วยแอนติซีรั่มของ Potyvirus พบว่าการตัด เนื้อเยื่อเจริญปลายยอดขนาด 0.5 มิลลิเมตร มีการปลอดเชื้อไวรัสร้อยละ 88 และมีชีวิตรอดหลังการเพาะเลี้ยงร้อยละ 78.62 ขณะที่การตัดเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดขนาด 0.3 มิลลิเมตร มีการปลอดเชื้อไวรัสร้อยละ 100 และมีชีวิตรอดหลังการเพาะเลี้ยงร้อยละ 16.78 นอกจากนี้ จากการทดลองชักนำให้เกิดการแตกกอของต้นหอมแดงปลอดเชื้อไวรัสในสภาพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พบว่า อาหารสังเคราะห์ MS ที่เติม 2ip ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถกระตุ้นการแตกกอของหอมแดงได้ดีที่สุด โดยมีอัตราการแตกกอเฉลี่ยเท่ากับ 4.2 ยอดต่อต้น รองลงมาคืออาหารสังเคราะห์ที่เติม 2ip ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร มีอัตราการแตกกอเท่ากับ 2.3 ยอดต่อต้น ส่วนอาหารสังเคราะห์ที่เติม 2ip ร่วมกับ NAA ทุกความเข้มข้น พบการแตกกอไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับชุดควบคุม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วันวิสา เตชะวงค์ และ เกวลิน คุณาศักดากุล. 2558. การใช้นํ้าออกซิไดซ์ที่ผ่านการแยกด้วยไฟฟ้ าในการควบคุม เชื้อแบคทีเรียเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผักอินทรีย์. วารสารเกษตร 31(1): 39 - 46
สุรภี กีรติยะอังกูร. 2549. การประเมินผลโครงการชุดตรวจสอบไวรัส CyMV และ ORSV ในกล้วยไม้. กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ. 97 หน้า
สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช. 2559. หอมแดงพันธุ์บ้านโฮ่ง. กรมวิชาการเกษตร. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.doa.go.th/pvp/images/stories/indexpp2518/AnnoDOA_nameplant/t639.pdf
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2557. ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2557. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/download/download_journal/2558/yearbook57.pdf (20 พฤศจิกายน 2558)
อัญชลี ตาคำ และ เกวลิน คุณาศักดากุล. 2555. การผลิตกล้าพริกพิโรธปลอดโรคไวรัสโดยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. วารสารเกษตร 28(1): 61-74
Ahlawat, Y.S. and A. Varma. 1997. Serological detection of mixed viral infection in onion seed crop and possible measure for its management. Indian Phytopathology 50: 37-140.
Arya, M., V.K. Baranwal, Y.S. Ahlawat and L. Singh. 2006. RT–PCR detection and molecular characterization of Onion yellow dwarf virus associated with garlic and onion. Current Science 91: 1230-1234.
Bagil, F., V. Stojsin, D. Budakov, S. Moh, A.E. Swaeh and J. Gvozdanovic-Varga. 2012. Effect of onion yellow dwarf virus (OYDV) on yield components of fall garlic (Allium sativum L.) in Serbia. African Journal of Agricultural Research 7(15): 2386-2390.
Bos, L. 1981. Onion yellow dwarf virus. CMI/AAB Description of Plant Viruses. No. 240.
Chinestra, S.C., C. Facchinetti, N.R. Curvetto and P.A. Marinangeli. 2010. Detection and Frequency of Lily Viruses in Argentina. Plant Disease 94(10): 1188-1194
Corbett, M.K. 1960. Purification by density gradient centrifugation electron microscopy and properties of Cymbidium mosaic virus. Phytopathology 50: 346- 351.
Dijk, P.V. 1994. Virus diseases of Allium sp. and prospects for their control. Acta Horticulturae 358: 299-306
Fajardo, T.V.M., M. Nishijima, J.A. Buso, A.C. Torrres, A.C. Avila and R.O. Resende. 2001. Garlic viral complex: identification of Potyviruses and Carlaviruses in central Brazil. Fitopatologia Brasileira 26: 619-626.
Kang, S.G., J.K. Bong, T.L. Eun and U.C. MOO. 2007. Allexivirus Transmitted by Eriophyid Mites in Garlic Plants Journal of Microbiology and Biotechnology 17(11), 1833-1840.
Lot, H., V. Chevelon, S. Souche and B. Dellecolle. 1998. Effect of Onion yellow dwarf virus and Leek yellow dwarf virus on symptomatology and yield loss of three French garlic cultivar. Plant Diseases 82: 1385.
Regenmortel, M.H.V., C.M. Fauquet, D.H.L. Bishop, E.B. Carstens, M.K. Estes, S.M. Lemon, J. Maniloff, M.A. Mayo, D.J. McGeoch, C.R. Pringle and R.B. Wickner. 2000. Virus Taxonomy Classification and Nomenclature of Viruses. Seventh Report of the International Committee on Taxonomy of Viruses. Academic Press, California, USA.
Roksana, R., M.F. Alam, R. Islam and M.M. Hossain. 2002. In vitro bulblet formation from shoot apex in garlic. Plant Tissue Culture and Biotechnology 12(1): 11-17.
Shahraeen, N., D.E. Lesemann and T. Ghotbi. 2008. Survey for viruses infecting onion, garlic and leek crops in Iran. Journal compilation © 2008 OEPP/EPPO 38: 131-135.
Soliman, A.M., S.Y.M. Mahmoud and R.A. Dawood. 2012. Molecular characterization of onion yellow dwarf virus (garlic isolate) with production of virus-free plantlets. International Journal of Virology 8: 61-70.
Sevik, M.A. and C. Akcura. 2013. Viruses occurring in onion crop in Amasya province, the major onion producing region in Turkey. Indian Journal of Virology 24: 78-81.
Ward, L.I., Z. Perez-Egusquiza, J.D. Fletcher and G.R.G. Clover. 2009. A survey of viral diseases of Allium crops in New Zealand. Australasian Plant Pathology 38: 533-539.