ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรในอำเภอวัดโบสถ์ และอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

สุภาวดี แหยมคง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประมาณต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนการผลิตโคเนื้อในการเลี้ยงแม่เพื่อผลิตลูกและโคขุน จากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในอำเภอวัดโบสถ์ และอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 115 ครัวเรือน จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ข้อมูลต้นทุนรวม และราคาจำหน่ายโคขุนและเลี้ยงแม่เพื่อผลิตลูกถูกนำมาวิเคราะห์ค่าทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า โคเนื้อที่ศึกษามีต้นทุนรวมในการผลิตโคขุนและเลี้ยงแม่เพื่อผลิตลูก เท่ากับ 36,082.86 ±20,514.87 และ 18,898.45 ±10,152.28 บาทต่อตัว ซึ่งสามารถจำหน่ายโคขุนและเลี้ยงแม่เพื่อผลิตลูก เท่ากับ 50,725.00 ±35,871.35 และ 28,440.23 ±11,241.10 บาทต่อตัว จึงทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนและเลี้ยงแม่เพื่อผลิตลูกจะมีผลตอบแทนสุทธิเท่ากับ 14,642.14 ±5,814.98 และ 9,541.78 ±2,548.59 บาทต่อตัว อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเฉพาะผลตอบแทนในรูปเงินสด เกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนและเลี้ยงแม่เพื่อผลิตลูกจะมีกำไร เท่ากับ 19,207.81 ±7,243.85 และ 15,266.71 ±9,412.54 บาทต่อตัว ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมปศุสัตว์. 2557. ข้อมูลจำนวนเกษตรกรและปศุสัตว์ในประเทศไทย ประจำปี 2556. กลุ่มสารสนเทศและข้อมูลสถิติ ศูนย์สารสนเทศ กรมปศุสัตว์.
ชวลิต แก่นแก้ว ศกร คุณวุฒิฤทธิรณ มัทนา โอสถหงส์ และ ธนาทิพย์ สุวรรณโสภี. 2555. ต้นทุนการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป. กลาง โพนยางคำ จำกัด. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 43(1): 79-88.
ณรกมล เลาห์รอดพันธุ์ โชค มิเกล็ด และ ณัฐพล จงกสิ-กิจ. 2550. ปัจจัยที่มีผลตอการผลิตโคเนื้อที่มีคุณภาพในจังหวัดเชียงใหม่และลําพูน. วารสารเกษตร 23(ฉบับพิเศษ): 235-239.
เทียนทิพย์ ไกรพรม และ อับดุลเลาะ สาแม. 2558. การสำรวจสถานภาพการเลี้ยงแกะและศึกษาคุณค่าทางโภชนะของพืชที่ใช้เลี้ยงแกะในจังหวัดปัตตานี. วารสารเกษตร 31(3): 339-347.
บุญจันทร์ มณีแสง และ รุจ ศิริสัญลักษณ์. 2554. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการยอมรับการเลี้ยงโคเนื้อลูกผสมระหว่างแม่พื้นเมืองกับพ่อพันธุ์บราห์มันแดง ของเกษตรกรในนครหลวงเวียงจันทร์ สปป. ลาว. วารสารเกษตร 27(2): 137-143.
บัวทอง แก้วหล้า และวรทัศน์ อินทรัคคัมพร. 2556. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการยอมรับการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในอำเภอหนองแฮด จังหวัดเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไทยประชาชนลาว. วารสารเกษตร 29(3): 267-275.
มนิสา นวลเต็ม. 2556. โอกาสโคเนื้อไทยในอาเซียน (AEC). สานักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าสินค้าเกษตร สานักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. กรุงเทพฯ.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2549. ต้นทุนและผลตอบแทนในการเลี้ยงโคเนื้อ. ส่วนวิจัยเศรษฐกิจปศุสัตว์และประมง สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. กรุงเทพฯ. 69 หน้า.
Limsombunchai, V. and S. Kao-ian. 2010. Selection of corn seed and returns for farmers at Takfa, Nakonsawan province, Corn and sorghum research project. Kasetsart University, Bangkok. 358 p.
Suphawadee, Y. 2016. Efficiency development of beef cattle production of small scale farmers in Chattrakan District, Phitsanulok Province. Rajabhat Journal of Sciences, Humanities and Social Sciences 17(1): 32-38.