การสำรวจรูปแบบการเพาะเลี้ยงปลาเชิงพาณิชย์ในหมู่บ้านปงหลวง อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

คณนา อาจสูงเนิน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเพาะเลี้ยงปลาเชิงพาณิชย์ของเกษตรกรบ้านปงหลวง  ปัญหาอุปสรรคในการเพาะเลี้ยงปลา และแนวทางการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาเชิงพาณิชย์  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลา หมู่บ้านปงหลวง ตำบลเวียงชัย อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย จำนวน  10 ราย  เครื่องมือและการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม  แบบสัมภาษณ์ และการจัดการอบรมกลุ่มเกษตรกร เพื่อให้ความรู้และระดมความคิดเห็นในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาของบ้านปงหลวงต่อไปในอนาคต ค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และความถี่


ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการเพาะเลี้ยงปลาของเกษตรกรเป็นแบบการชำปลา คือนำลูกปลาขนาดเล็ก ความยาวเฉลี่ยไม่เกิน 1 เซนติเมตรมาเพาะเลี้ยงในบ่อดินหรือกระชัง ให้ลูกปลามีขนาดยาวขึ้นประมาณ  2-5  เซนติเมตร เพื่อรอจำหน่ายแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาเพื่อบริโภค ในบริเวณใกล้เคียงของจังหวัดเชียงราย  ลูกปลาที่เกษตรกรเพาะพันธุ์เอง ได้แก่ ลูกปลานิล ปลานวลจันทร์ และปลาตะเพียน  นอกจากนั้นเป็นการนำเอาลูกปลาจากแหล่งอื่นมาอนุบาลเพื่อจัดจำหน่าย ได้แก่ ลูกปลาดุกบิ๊กอุย  ปลาไน ปลาสวาย  ปลาจีน  ปลายี่สกเทศ ปลาบึก  ปลาแรด ปลาสร้อย ปลาแฟนซีคาร์ฟ ปลาเพี้ย ปลาหมอเทศ ปลาสลิด ปลากราย ปลากดคัง  ปลาบู่ และปลากระดี่  ปัญหาอุปสรรคที่เกษตรกรให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ราคาอาหารปลาและสภาพภูมิอากาศที่ไม่เหมาะสม  ปัญหาที่ให้ความสำคัญน้อยที่สุดคือ การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์และการผสมพันธุ์  สิ่งที่เกษตรกรต้องการพัฒนาด้านการผลิตมากที่สุดคือความหลากหลายของชนิดลูกปลา คุณภาพของลูกปลาที่มีความแข็งแรงและขนาดตัวสม่ำเสมอ ความต้องการอื่นนอกจากด้านการผลิต คือเรื่องการตลาด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง. 2556. สถิติประมงแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2556. เอกสารฉบับที่ 7/2558.
กิตติพงศ์ คำคง. 2553. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จในการเลี้ยงปลานิลของเกษตรกรอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. 157 หน้า.
เกตุนภัส ศรีไพโรจน์ รุ่งกานต์ กล้าหาญ พงศ์นรินทร์ เมฆขุนทด และ ทองอยู่ อุดเลิศ. 2556. การเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของสายพันธุ์ปลานิลที่เลี้ยงในจังหวัดพะเยา. วารสารเกษตร 29(2): 137-144.
ดวงตาวัน ศรีสมบัติ นคเรศ รังควัต พหล ศักดิ์คะทัศน์ และ สายสกุล ฟองมูล. 2557. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติการเลี้ยงปลาของเกษตรกรในอำเภอชัยธานี นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง 8(1): 128-137.
บรรเทิง โชติพ่วง. 2555. แนวทางการเพาะเลี้ยงปลากัดเชิงพาณิชย์ของเกษตรกร ตำบลบ้านม่วง อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล: www.fisheries.go.th/fpo-nakhonsawan/700.pdf. (29 มกราคม 2558).
ปรีชา พาชื่นใจ วัชรินทร์ รัตนชู และ วริทธิ์ธร จันทนะ. 2554. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติในการเลี้ยงปลากินพืชในบ่อดินของเกษตรกรในจังหวัดสตูล. เอกสารวิชาการฉบับที่ 2/2556. กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 85 หน้า.
ฐาปนพันธ์ สุรจิต เรืองวิชญ์ ยุ้นพันธ์ ประพันธ์ศักดิ์ ศีรษะภูมิ สุบรรณ เสถียรจิตร และ ฉัตรชัย ไทยทุ่งฉิน. 2552. การศึกษาเปรียบเทียบระบบการเพาะพันธุ์ปลานิล (Oreochromis niloticus) ในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ และในกระชังแขวนลอยในบ่อดิน เพื่อผลิตลูกปลานิลเชิงพาณิชย์. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47. สาขาประมง. 434-443.
พงศธร จันทรัตน์. 2558. การเพาะเลี้ยงโคพีพอดเพื่อการอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนในโรงเพาะฟัก. วารสารเกษตร 31(2): 225-239.
พิมพร มณเทียรอาสน์. 2555. ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิต่อคุณภาพน้ำทางเคมีและกายภาพในบ่อเลี้ยงปลาเชิงพาณิชย์ ตำบลแม่เก็ด อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
เพ็ญพรรณ ศรีสกุลเตียว สุภัทรา อุไรวรรณ์ และ อาภรณ์ โพธิ์พงศ์วิวัฒน์. 2551. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง การรวบรวมความรู้และประสบการณ์ระบบตลาดข้อตกลง (contract Farming) ในประเทศไทย: กรณีศึกษาปลานิล. ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). 145 หน้า.
เริงชัย ตันสุชาติ อารีย์ เชื้อเมืองพาน ธรรญชนก คำแก้ว และ ชนิดา พันธ์มณี. 2556. ห่วงโซ่คุณค่าของปลานิลในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สัญญา เคณาภูมิ เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร และภักดี โพธิ์สิง. 2559. รูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจชุมชน กรณีกลุ่มเลี้ยงปลากระชังและกลุ่มสหกรณ์เพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11(1): 35-43.
สุรินทร บุญอนันธนสาร และ ภคนิจ คุปพิทยานันท์. 2553. ผลของการเพิ่มวิตามินซีและวิตามินอีในอาหารปลาดุกต่อการเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคในสภาพการเลี้ยงที่อุณหภูมิน้ำ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์มหาวิทยาลัยสุรนารี. 89 หน้า.
สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2554. การศึกษาเศรษฐกิจการตลาดปลาสวยงาม. เอกสารวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร เลขที่ กันยายน 2554. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 105 หน้า.
สำนักงานประมงจังหวัดเชียงราย. 2556. สถิติการประมง. (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล: http://www.fisheries.go.th/fpo-chiangrai/statics/001.htm. (10 กุมภาพันธ์ 2558).