ประสิทธิภาพของสารชีวภัณฑ์เชื้อรากำจัดแมลงในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลายในเบบี้ฮ่องเต้บนพื้นที่สูงของจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การทดสอบประสิทธิภาพสารชีวภัณฑ์เชื้อรากำจัดแมลงในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลาย Phyllotreta striolata (Fabricius) ได้ดำเนินการทั้งในสภาพห้องปฏิบัติการ และแปลงปลูกภายใต้โรงเรือนของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ จังหวัดเชียงใหม่ สารชีวภัณฑ์เชื้อรากำจัดแมลง ประกอบด้วย เชื้อรา Metarhizium anisopliae ไอโซเลท 4849 เชื้อรา Beauveria bassiana ไอโซเลท 5335 เชื้อรา M. anisopliae ทางการค้า (เมทาซาน®) และเชื้อรา B. bassiana ทางการค้า (บูเวริน®) โดยศึกษาเปรียบเทียบกับสารเคมีฆ่าแมลง acetamiprid จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ โดยการพ่นสารชีวภัณฑ์เชื้อราไปบนตัวเต็มวัยของด้วงหมัดผักแถบลาย พบว่า หลังการพ่นสาร 7 วัน การตายของด้วงหมัดผักที่ได้รับเชื้อรา M. anisopliae ทางการค้า (เมทาซาน®) เชื้อรา M. anisopliae ไอโซเลท 4849 ความเข้มข้น 1x108 โคนิเดีย/มิลลิลิตร และเชื้อรา B. bassiana ทางการค้า (บูเวริน®) มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือร้อยละ 100 ส่วนเชื้อรา B. bassiana ไอโซเลท 5335 ที่ระดับความเข้มข้น 1x108 โคนิเดีย/มิลลิลิตร มีการตายเฉลี่ยน้อยที่สุดคือร้อยละ 85.72 ขณะที่การพ่นสารฆ่าแมลง acetamiprid ทำให้ด้วงหมัดผักแถบลายทั้งหมดตายหลังจากพ่น 2 วัน สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพสาร ชีวภัณฑ์เชื้อราในแปลงปลูกเบบี้ฮ่องเต้ภายใต้โรงเรือน ที่พืชอายุ 22 วันหลังย้ายปลูกพบว่า เชื้อรา M. anisopliae ทางการค้า (เมทาซาน®) มีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลาย โดยมีค่าเฉลี่ยของแมลงที่พบเท่ากับ 0.51 ตัวต่อต้น ซึ่งไม่แตกต่างทางสถิติ (P<0.05) จากกรรมวิธีที่ใช้สารเคมีฆ่าแมลง acetamiprid (0.50 ตัวต่อต้น) นอกจากนี้ สารชีวภัณฑ์เชื้อราไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเบบี้ฮ่องเต้ ได้แก่ ความสูง ความกว้างทรงพุ่ม และน้ำหนักของผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว
Article Details
References
จอมสุรางค์ ดวงธิสาร วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ ไสว บูรณพานิชพันธุ์ และจิราพร ตยุติวุฒิกุล. 2550. ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของด้วงหมัดผักแถบลายในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วิทยาสารกำแพงแสน 5(1): 20-29.
ชวนา กำเนิดบุญ อัจฉรีย์ เตโชฬาร วลีรัตน์ วรกาญจน-บุญ อัจฉราภรณ์ วงศ์สุขศรี และ ทัศนีย์ ดุสุวรรณ์. 2553. ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดตามชนิดวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่สหภาพยุโรปอนุญาตให้ใช้ และขึ้นทะเบียนในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กลุ่มพัฒนาระบบตรวจรับรองมาตรฐานการผลิต สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 53 หน้า.
ภัทรดนัย ชัยสวัสดิ์ จิราพร กุลสาริน ไสว บูรณพานิช-พันธุ์ และสิริญา คัมภิโร. 2557. ประสิทธิภาพของ Nomuraea และ Metarhizium สาเหตุโรคแมลงในการควบคุมหนอนกระทู้ผักของดอกดาวเรือง. วารสารเกษตร 30(1): 11-19.
วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ. 2545. ทิศทางการวิจัยเพื่อควบคุมหนอนใยผักในประเทศไทย. วารสารเกษตรนเรศวร 6(1): 81-98.
เศรษฐพงศ์ อัศวรัตน กฤษณพัฒน์ จิตจัก ปองสิทธิ์ โพธิคุณ และอรวรรณ ปิยะบุญ. 2553. ประสิทธิภาพของสารจากเชื้อรา Metarhizium anisopliae ในการกำจัดปลวก Coptotermes curvignathus ศัตรูในต้นยางพารา. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.w3c.org/TR/1999/REC-html (15 มกราคม 2556).
ศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดนครราชสีมา. 2556. เชื้อราบิวเวอเรีย (Beauveria bassiana). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.pmc05.doae.go.th/Bueverria.pdf (18 มกราคม 2556).
ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ. 2555. เชื้อราเขียว Metarhizium anisopliae. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.thaibiocontrol.org/main.php?filename=Metarhizium (8 ตุลาคม 2555).
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 2555. ผักกาดฮ่องเต้เล็ก. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.hrdi.or.th/knowledge/detail/1488/ (5 มกราคม 2556).
สิริญา คัมภิโร จิราพร กุลสาริน เยาวลักษณ์ จันทร์บาง และมาลี ตั้งระเบียบ. 2554. ประสิทธิภาพของเชื้อราสาเหตุโรคแมลงในการควบคุมแมลงหวี่ขาวโรงเรือน. วารสารเกษตร 27(1): 49-57.
สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ. 2526. แมลงศัตรูพืชทางการเกษตรของประเทศไทย. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 424 หน้า.
สุภัสสา ประคองสุข. 2550. ความสามารถในการก่อให้เกิดโรคของ Metarhizium anisoplaie ไอโซเลทต่าง ๆ กับหนอนกระทู้ผัก Spodoptera litura (F.). วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์บัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 47 หน้า.
สำนักงานพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร. 2556. การควบคุมพืชโดยชีววิธี (Biological control). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.pmc05.doae.go.th/bio%20control.pdf (15 มกราคม 2556).
อัญชลี นาทองคำ ศิวิลัย สิริมังครารัตน์ วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์ หทัยรัตน์ อุไรรงค์ และเบญจมาศ แก้วรัตน์. 2553. ประสิทธิภาพของเชื้อราเขียว Metarhizium spp. ไอโซเลตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจ. วารสารวิจัย มข. 15(10): 930 - 940.
Abbott, W. S. 1925. Method for computing the effectiveness of an insecticide. Journal of Economic Entomology 18: 256-267.
Azaizeh, H., G. Gindin, O. Said and I. Barash. 2002. Biological control of the western flower thrips Frankliniella occidentalis in cucumber using the entomopathogenic fungus Metarhizium anisopliae. Phytoparasitica 30(1): 18-24.
Balachander, M., O. K. Remadevi, T. O. Sasidharan and N. S. Bai. 2012. Virulence and mycotoxic effects of Metarhizium anisopliae on mahogany shoot borer, Hypsipyla robusta (Lepidoptera: Pyralidae). Journal of Forestry Research 23(4): 651-659.
Bruck, D. J. and K. M. Donahue. 2007. Persistence of Metarhizium anisopliae incorporated into soilless potting media for control of the black vine weevil, Otiorhynchus sulcatus in container-grown ornamentals. Journal of Invertebrate Pathology 95: 146-150.
Entz, S. C., L. M. Kawchuk and D. L. Johnson. 2008. Discovery of a North American genetic variant of the entomopathogenic fungus Metarhizium anisopliae var. anisopliae pathogenic to grasshoppers. BioControl 53(2): 327-339.
Khaled, M., A. Rahman, M. Barta and L. Cagan. 2010. Effects of combining Beauveria bassiana and Nosema pyrausta on the mortality of Ostrinia nubilalis. Central European Journal of Biocontrol 5(4): 472-480.
Kirchmair, M., L. Huber, M. Porten, J. Rainer and H. Strasser. 2004. Metarhizium anisopliae, a potential agent for the control of grape phylloxera. BioControl 49(3): 295-303.
Kiriyama, K. and K. Nishimura. 2002. Structural effects of dinotefuran and analogues in insecticidal and neural activities. Pest Management Science 58(7): 669-676.
Leles, R. N., W. B. D’Alessandro and C. Luz. 2012. Effects of Metarhizium anisopliae conidia mixed with soil against the eggs of Aedes aegypti. Parasitology Research 110(4): 1579-1582.
Mohanty, S. S., K. Raghavendra, P. K. Mittal and A. P. Dash. 2008. Efficacy of culture filtrates of Metarhizium anisopliae against larvae of Anopheles stephensi and Culex quinquefasciatus. Journal of Industrial Microbiology and Biotechnology 35: 1199-1202.
Moorhouse, E. R., A. K. Charnley and A. T. Gillespie. 1992. A review of the biology and control of the vine weevil, Otiorhynchus sulcatus (Coleoptera: Curculionidae). Annals of Applied Biology 121(2): 431-454.
Nasr, F. N. and S. I. M. Moein. 1997. New trend of the use of Metarhizium anisopliae (Metschnikoff) Sokorin and Verticillium indicum (Petch) Gams as entomopathogens to the termite Cryptotermes brevis (Walker) (Isoptera, Kalotermitidae). Anz. Schiidlingskde., Pflanzenschutz, Umweltschutz 70: 13-16.
Tanada, Y. and H. K. Kaya. 1993. Insect Pathology. Academic Press, San Diego. 666 p.
Xue, H. J. and X. K. Yang. 2008. Common volatiles are major attractants for neonate larvae of the specialist flea beetle Altica koreana (Coleoptera: Chrysomelidae). Naturwissenschaften 95(7): 639-645.