การใช้วิธีวิเคราะห์การจัดกลุ่มหมู่บ้าน เพื่อส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พหล ศักดิ์คะทัศน์
สุรชัย กังวล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาตัวชี้วัดที่เหมาะสมในการจัดกลุ่มหมู่บ้านตามลักษณะพื้นที่การทำการเกษตร และ 2) เพื่อจัดกลุ่มหมู่บ้านชนบท จำนวน  4 อำเภอ ได้แก่ แม่ริม สารภี ดอยสะเก็ดและสันทราย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการทำเกษตรมาก ทำการสุ่มตำบล อำเภอละ 3 ตำบล ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ได้หมู่บ้านรวม 60 หมู่บ้าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์การจัดกลุ่ม (cluster analysis) ผลจากวิจัยพบว่าตัวชี้วัดที่ใช้จัดกลุ่มหมู่บ้านชนบทมี 6  ตัวชี้วัด คือ 1) ร้อยละของพื้นที่ ที่ไม่มีการทำเกษตรเคมีอย่างเข้มข้นมาไม่น้อยกว่า 3 ปี 2) ร้อยละของลักษณะพื้นที่ค่อนข้างราบและโล่งแจ้ง 3) ร้อยละของพื้นที่ที่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรมเกิน 1 กิโลเมตร 4) ร้อยละของพื้นที่ที่อยู่ห่างจากแปลงเกษตรที่ใช้สารเคมีอย่างเข้มข้น 5) ร้อยละของพื้นที่ ที่มีถนนทางหลวงสายหลักผ่าน และ 6) ร้อยละของพื้นที่ ที่มีแหล่งน้ำที่ปลอดจากสารพิษปนเปื้อน ผลการวิเคราะห์การจัดกลุ่มหมู่บ้านชนบทที่เหมาะสมในการทำเกษตรอินทรีย์ สามารถจัดกลุ่มได้ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ 1) หมู่บ้านที่มีความเหมาะสมมาก  มีจำนวน 31 หมู่บ้าน 2) หมู่บ้านที่เหมาะสมปานกลาง จำนวน 24 หมู่บ้าน และ 3) หมู่บ้านที่เหมาะสมในระดับน้อย มีจำนวน 5 หมู่บ้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. 2552. รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน. (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showDistrictData.php?rcode=50&statType =1&year=52. (มิถุนายน, 2553)
นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล. 2553. การวิเคราะห์การจัดกลุ่ม. (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล: http://www. rlc.nrct.go.th (10 มีนาคม 2557)
พันธ์ศักดิ์ ธาดา และศุภธิดา อ่ำทอง. 2550. อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและรูปแบบการใช้ที่ดิน ต่อคุณภาพ ดิน หมู่บ้านละเบ้ายา ตำบลสะเนียน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน. วารสารเกษตร 23(2): 133-146.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2537. เทคนิคการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาตร์
อาณัฐ ตันโช. 2552. เกษตรธรรมชาติ แนวคิด หลักการ และจุลินทรีย์ท้องถิ่น. สํานักงานพัฒนาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, เชียงใหม่. 146 หน้า.