การเสริมสร้างศักยภาพของเกษตรกรในการผลิตพริกพื้นเมืองพันธุ์หัวเรือตามมาตรฐานเกษตรปลอดภัยในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

สุภาวดี ขุนทองจันทร์

บทคัดย่อ

พริกหัวเรือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี หากเกษตรกรรักษามาตรฐานการปลูก จะทำให้มีรายได้ในระยะยาว การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการดำเนินการตามมาตรฐานการปลูกพริกแบบปลอดภัยของเกษตรกรผู้ปลูกพริกพื้นเมืองหัวเรือ จังหวัดอุบลราชธานี (2) เพื่อเปรียบเทียบการดำเนินการตามมาตรฐานการปลูกพริกแบบปลอดภัยของเกษตรกรผู้ปลูกพริกพื้นเมืองหัวเรือ จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีประสบการณ์ในการปลูก และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ เกษตรกรผู้ปลูกพริกพื้นเมืองหัวเรือจำนวน 150 คน ระยะเวลาของการศึกษา 8 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ  แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้ในเชิงพรรณนา สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่  ร้อยละ และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มโดยใช้ค่า F-test (one way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรผู้ปลูกพริกพื้นเมืองหัวเรือมีการดำเนินการตามมาตรฐานมากที่สุดคือ ไม่ใช้สิ่งขับถ่ายจากคนในแปลงพริก (=3.85 ) รองลงมาเมื่อจำเป็นต้องใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรจะปฏิบัติตามคําแนะนําของกรมวิชาการเกษตร (= 3.82 ) และ (2) เกษตรกรที่มีประสบการณ์ในการปลูกที่แตกต่างกัน มีการดำเนินการตามมาตรฐานการปลูกแตกต่างกัน 2 ข้อ คือ ข้อ 3 เมื่อจำเป็นต้องใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรจะปฏิบัติตามคําแนะนําของ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือตามคําแนะนําในฉลากอย่างเคร่งครัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเกษตรกรที่มีประสบการณ์ในการปลูก 20 ปี มีการดำเนินการมากกว่าเกษตรกรที่มีประสบการณ์ในการปลูกต่ำกว่า 10 ปีและมีประสบการณ์ในการปลูกระหว่าง 11-20 ปี และ ข้อ 4 เมื่อมีการระบาดของศัตรูพืชในแปลงพริกต้องป้องกัน กำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่เกษตรกรที่มีประสบการณ์ในการปลูกมากกว่า 20 ปี มีการดำเนินการตามมาตรฐานมากกว่าเกษตรกรที่มีประสบการณ์ในการปลูกระหว่าง 11-20 ปี สำหรับการเปรียบเทียบเกษตรกรที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีการดำเนินการตามมาตรฐานทุกข้อไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศุลกากร. 2556. สถิติการนำเข้าและส่งออกพริก. (ระบบออนไลน์). www.customs.go.th/ (10 ธันวาคม 2557).
กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2557. พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ.2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชาตรี เนียมงาม. 2558. (สัมภาษณ์). การรวมกลุ่มเกษตรกรอาสาผู้ปลูกพริกพื้นเมืองหัวเรือ. สัมภาษณ์เมื่อ 25 สิงหาคม 2558.
ณัฐวุฒิ จั่นทอง และพหล ศักดิ์คะทัศน์. 2559. การยอมรับการผลิตมะม่วงตามหลักเกษตรที่ดีและเหมาะสมของเกษตรกรในอำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง. วารสารเกษตร 32(1): 19-27.
นภาพร ทางทิศ และวรทัศน์ อินทรัคคัมพร. 2559. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง. วารสารเกษตร 31(1): 59-68.
นวลจันทร์ ศรีสมบัติ และวิเชียร ชีช้าง. 2554. การพัฒนาระบบการผลิตพริกเพื่อนำสู่มาตรฐานคุณภาพพืชอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี. The sixth National Agricultural Systems Seminar-Save the World to Save Life .
วีระ ภาคอุทัย. 2553. ที่ศึกษาเรื่องการพัฒนาระบบการตัดสินใจการผลิตสินค้าเกษตร และการบริหารจัดการโซ่อุปทานพริกจังหวัดแพร่. รายงานการวิจัยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว.
วีระ ภาคอุทัย และเยาวรัตน์ ศรีวรานันท์. 2557. พริกปลูกอย่างไรในภาวะโลกร้อน. agriculture@risk เล่มที 4 กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว.
สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี. 2557. ข้อมูลผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจจังหวัดอุบลราชธานี. จุลสารเทคโนโลยีเกษตร.
สำนักงานเกษตรอำเภอวารินชำราบ. 2557. พริกหัวเรือจังหวัดอุบลราชธานี. เอกสารเผยแพร่ข่าวสารเกษตร.
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรที่ 1 กรมวิชาการเกษตร. 2557. เทคโนโลยีการผลิตพริกคุณภาพในเขตภาคเหนือตอนบน. เอกสารวิชาการ เชียงใหม่: ดาราการพิมพ์.
Srisa-ard, B. 1998. Statistic Methodology for Research. 2nd ed. Bangkok: Suweesan
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. 1970. Determining sample size for research activities. education and psychological Measurement 30(3): 607-610.