การจัดการโลจิสติกส์ของธุรกิจไข่ไก่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

อัจฉรา โพธิ์ดี
จิตติมา กันตนามัลลกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการกิจกรรมโลจิสติกส์ของเกษตรกรและพ่อค้ารวบรวมไข่ไก่ ต้นทุนโลจิสติกส์ ปัญหาของธุรกิจ และแนวทางการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์ของธุรกิจไข่ไก่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกร 48 ราย พ่อค้า 5 ราย โดยใช้แบบสอบถาม และจัดสนทนากลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง 17 ราย ผลการวิจัยพบว่า การจัดการกิจกรรมโลจิสติกส์ของเกษตรกรและพ่อค้ามีความคล้ายคลึงกันในด้านการพยากรณ์ความต้องการ การติดต่อสื่อสารในการดำเนินงาน การจัดการผลผลิต การขนส่ง และการบริการลูกค้า แต่เกษตรกรมีกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นคือการจัดการปัจจัยการผลิตและการจัดการไข่ไก่ในโรงเรือนเลี้ยงไก่ ต้นทุนโลจิสติกส์ของเกษตรกรกรณีขายไข่ไก่ที่ฟาร์ม กรณีที่ขนส่งไปยังแหล่งรับซื้อและต้นทุนของพ่อค้าเท่ากับ 13.72, 17.39 และ 9.97 บาท/ร้อยฟอง ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นต้นทุนการสูญเสียจากการที่ไข่แตก ร้าว ปัญหาด้านโลจิสติกส์ไข่ไก่สำหรับเกษตรกรที่สำคัญคือ ค่าจ้างแรงงานสูงและราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูง ปัญหาของพ่อค้า คือ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงและสภาพถนนไม่สะดวกต่อการขนส่ง แนวทางการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์ คือ เกษตรกรควรมีการรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือกันและปรับปรุงการจัดการฟาร์ม ทั้งเกษตรกรและพ่อค้าควรปรับปรุงการจัดการผลผลิตไข่ไก่ในขั้นตอนต่างๆ เพื่อลดความเสียหายของไข่ไก่ซึ่งจะช่วยให้ได้รับกำไรมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมปศุสัตว์. 2556. ข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่เป็นการค้า ปีงบประมาณ 2556 (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล http://ict.dld.go.th/th2/images/stories/stat_web/yearly/2556/ busi/aumpher/chick2_busi_ aumpher56.pdf (1 สิงหาคม 2557).
กรมปศุสัตว์. 2558. ข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่รายจังหวัด ปีงบประมาณ 2558 (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://ict.dld.go.th/th2/index.php/th/report/447-report-thailand- livestock/reportservey2558-1/869-report-survey58 (4 พฤษภาคม 2559).
กรมปศุสัตว์. 2557. สรุปจำนวนมาตรฐานฟาร์มไก่ไข่. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://certify.dld.go.th/th/index.php/en/component/content/article/100-2013-10-06-13-50-19/284-2014-03-06-19-25-46 (1 สิงหาคม 2557).
พงศ์ธร เผ่าบรรจง. 2545. ปัญหาและความต้องการด้านการผลิตและการตลาดของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา สถาบันราชภัฎราชนครินทร์. ฉะเชิงเทรา. 97 หน้า.
ยศ บริสุทธิ์ และชนินทร์ แก้วตะคา. 2558. เงื่อนไขฐานรากในการเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกรและบุตรหลานเกษตรกร. วารสารเกษตร 31(2) : 215-224.
ยุวเรศ เรืองพานิช. 2556. การจัดการผลผลิตไข่และการตลาด. ในเอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการผลผลิตและการตลาดสินค้าปศุสัตว์. หน่วยที่ 8 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 48 หน้า.
สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจเพื่อการค้นคว้าและพัฒนาปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. 2556. รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการศึกษาและวิเคราะห์ โครงสร้างการผลิต การตลาด และโครงสร้างต้นทุนการผลิตไข่ไก่. เสนอต่อกรมปศุสัตว์ 136 หน้า.
สรชัย พิศาลบุตร. 2557. การเลือกตัวอย่าง. ในประมวลสาระชุดวิชาวิธีวิจัยทางการจัดการทรัพยากรเกษตร. หน่วยที่ 11 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี. 61 หน้า.
เสกสม อาตมางกูร อรทัย ไตรวุฒานนท์ สุเจตน์ ชื่นชม วิไลลักษณ์ ชาวอุทัย วิรัตน์ สุมน อรประพันธ์ ส่งเสริม อรรถวุฒิ พลายบุญ สุชาติ สงวนพันธุ์ หนูจันทร์ มาตา และยุวเรศ เรืองพานิช. 2549. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง การประกันคุณภาพไข่ไก่เพื่อการบริโภค ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยโครงการวิจัยบูรณาการ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2548. 154 หน้า.
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2553. มาตรฐานสินค้าเกษตร: การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่ มกษ. 6909 –2553 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 127 ตอนพิเศษ 147 ง วันที่ 21 ธันวาคม 2553 หน้า 1-25.
สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. 2554. การศึกษาระบบ โลจิสติกส์นมพร้อมดื่ม เอกสารวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร เลขที่ 101. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 117 หน้า.
อิสรี สายรวมญาติ. 2555. คุณภาพและความปลอดภัยของไข่ไก่เพื่อการบริโภค: การสำรวจตั้งแต่ฟาร์มถึงแหล่งจำหน่าย วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ความปลอดภัยของอาหาร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ. 105 หน้า.
Grant, D. B., D. M. Lambert, J. R. Stock, and L. M. Ellram. 2006. Fundamentals of Logistics Management. European: The McGraw-Hills Companies Inc. 436 p.
Mertens, K., B. Bamelis, B. Kemps, E. Kamers, B. Verhoelst, M. De Ketelaere, J. De Baerdemaeker. 2006. Monitoring of eggshell breakage and eggshell strength in different production chains of consumption eggs. Poultry Science 85: 1670-1677.