ผลของการใช้กากมะเขือเทศแห้งในอาหารข้นต่อการย่อยได้ของโภชนะและสมรรถนะการเจริญเติบโตของโคพื้นเมืองไทย

Main Article Content

ดวงกมล กุสันเทียะ
สุทธิพงศ์ อุริยะพงศ์สรรค์

บทคัดย่อ

ศึกษาการใช้กากมะเขือเทศแห้ง (Dried tomato pomace, DTP) ในสูตรอาหารข้นต่อปริมาณการกินได้         การย่อยได้ และสมรรถนะการเจริญเติบโตของโคพื้นเมือง จำนวน 16 ตัว แบ่งโคโดยสุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 4 ตัว ตามแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ใช้ DTP ในอาหารข้นที่ 0, 15, 30 และ 45 เปอร์เซ็นต์ ให้อาหารข้นประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว เสริมฟางข้าวแบบไม่จำกัด ทำการทดลองนาน 120 วัน เก็บตัวอย่างอาหารและมูลไปศึกษาปริมาณการกินได้ การย่อยได้ อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว การเจริญเติบโต น้ำหนักเมื่อสิ้นสุดการทดลอง และความสมบูรณ์ของร่างกาย (BCS) ผลการศึกษาพบว่า DTP มีโปรตีนหยาบ ไขมัน เถ้า เยื่อใย neutral detergent fiber (NDF) และเยื่อใย acid detergent fiber (ADF) เท่ากับ 19.08, 12.05, 3.96, 58.46 และ 44.53 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ มีพลังงานรวม 5.74 Mcal/kg DM การย่อยได้ของวัตถุแห้งและอินทรียวัตถุของอาหารใกล้เคียงกัน (P>0.05) การใช้ DTP ในสูตรอาหารระดับที่เพิ่มขึ้นลดการย่อยได้ของโปรตีนหยาบ เยื่อใย NDF และเยื่อใย ADF (P<0.05) ปริมาณการกินได้ อัตราการเจริญเติบโต อัตราการเปลี่ยนอาหาร น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักเมื่อสิ้นสุดการทดลอง และค่า BCS เมื่อสิ้นสุดการทดลองของโคแต่ละกลุ่มไม่แตกต่างกัน (P>0.05) สรุปว่า การเสริม DTP ทำให้การย่อยได้ของโปรตีนหยาบ เยื่อใย NDF และเยื่อใย ADF ลดลง และพบว่าการใช้ DTP ในสูตรอาหารข้นของโคที่ระดับ 45 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีผลต่อปริมาณการกินได้ แต่การใช้ที่ระดับ 30 เปอร์เซ็นต์ มีค่าสมรรถนะการเจริญเติบโตดีที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมปศุสัตว์. 2558. ข้อมูลจำนวนปศุสัตว์ในประเทศไทยปี 2558. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://ict.dld.go.th/th2/images/stories/stat_web/yearly/2558/2.beefcattle_region.pdf (19 ตุลาคม 2558).
เกศรา อำพาภรณ์ เสมอใจ บุรีนอก ไกรสิทธิ วสุเพ็ญ เฉลิมพล เยื้องกลาง และเบญญา แสนมหายักษ์. 2557. ผลของเอนไซม์ย่อยเยื่อใยที่ใช้กากมะเขือเทศเป็นแหล่งเยื่อใยต่อคุณภาพซากในไก่งวง. แก่นเกษตร 42 ฉบับพิเศษ 1: (2557).
แก้วตา แดงสี สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ และบุญล้อม ชีวะอิสระ-กุล. 2546. การใช้กากมะเขือเทศเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารไก่เนื้อ. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 40. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 82-91.
คณะทำงานจัดทำมาตรฐานอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องของประเทศไทย. 2551. ความต้องการโภชนะของโคเนื้อในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา. กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 193 หน้า.
เฉลิมพล เยื้องกลาง ไกรสิทธิ วสุเพ็ญ ไพวัลย์ ศรีนานวล ศศิพันธ์ วงศ์สุทธาวาส และจำลอง มิตรชาวไทย. 2549. ผลของ การใช้กากมะเขือเทศแห้งเป็นแหล่งของอาหารหยาบต่อปริมาณการกินได้ กระบวนการหมักในกระเพาะรูเมนและเมตาโบไลต์ในเลือดของโคเนื้อ. การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44: สาขาสัตวแพทยศาสตร์. กรุงเทพฯ. 158-166.
ชานนท์ สุนทรา. 2555. การใช้ exogenous fibrolytic enzyme เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์ได้ของสิ่งเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมผลิตกรดซิตริกในโคเนื้อ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 93 หน้า.
บัญชา สัจจาพันธ์ ประดิษฐ์ กุกแก้ว วิทยา สุมามาลย์ และบวร เสนเกตุ. 2541. ความเป็นไปได้ในการใช้กากมะเขือเทศเป็นอาหารสัตว์ การใช้กากมะเขือเทศแห้งเป็นอาหารหยาบเลี้ยงโค. รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2541 กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รหัส 014-08-41 กองอาหารสัตว์.
ปิ่น จันจุฬา พัชรินทร์ ภักดีฉนวน และสุธา วัฒนสิทธิ์. 2558. ผลของระดับกลีเซอรีนในอาหารผสมสำเร็จต่อสมรรถภาพการผลิต องค์ประกอบทางเคมี และปริมาณกรดไขมันในกล้ามเนื้อของแพะขุน. วารสารเกษตร 31(2): 121-134.
พงศธร กุนัน เฉลิมพล เยื้องกลาง ฉลอง วชิราภากร ไกรษร ก้องเวหา ดวงดาว พันธ์พงษ์ นงพงา นามแสน เฉลิมพล ปฏิพันธ์ และจันทิรา วงศ์เณร. 2551. การประชุมทางวิชาการของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 46 สาขาสัตว์. 11-18.
ภัทยา ภาคมฤค. 2547. ผลของระดับโปรตีนในสูตรอาหารผสมสำเร็จรูปโดยใช้ซังข้าวโพดร่วมกับฟางข้าวเป็นแหล่งอาหารหยาบต่อกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมน ผลผลิตและองค์ประกอบน้ำนมในโครีดนม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 67 หน้า.
วิโรจน์ วนาสิทธชัยวัฒน์ ประดิษฐ์ กุกแก้ว วิทยา สุมา-มาลย์ และบวร เสนะเกตุ. 2539. ความเป็นไปได้ในการใช้กากมะเขือเทศเป็นอาหารสัตว์ การใช้เป็นอาหารเป็ดเทศ. รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2539 กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 14-21.
วิทยา สุมามาลย์ เสน่ห์ กุลนะ และอิสระ สุริยาชัยวัฒนะ. 2548. ความเป็นไปได้ในการใช้กากมะเขือเทศเป็นอาหารสัตว์ ผลของการใช้กากมะเขือเทศแห้งระดับต่าง ๆ ในสูตรอาหาร สำหรับห่านระยะรุ่น-ขุน. รายงานผลงานวิจัยประจำปี กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ. 214-229.
ศศิพันธ์ วงศ์สุทธาวาส เฉลิมพล เยื้องกลาง ไกรสิทธิ วสุเพ็ญ สุนทร วิทยาคุณ ปิยะพงษ์ วงศ์เทราช และอัฐพล อ้นปัญญา. 2548. ผลของกากมะเขือเทศแห้งทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ. การประชุมทางวิชาการของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 43. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 177-183.
ศศิพันธ์ วงศ์สุทธาวาส ไกรสิทธิ วสุเพ็ญ จำลอง มิตรชาว-ไทย เฉลิมพล เยื้องกลาง A. Alhaidary อุมา-พันธ์ จิราภรณ์ และ A. C. Beynen. 2556. สมรรถภาพการเจริญเติบโต การย่อยได้ปรากฏและองค์ประกอบซากไก่เนื้อที่ได้รับการ เสริมด้วยกากมะเขือเทศแห้งในอาหาร. สัตวแพทย์มหานครสาร. 2556. 8(1): 9-19.
สายันต์ ตันยา และจินดา สนิทวงศ์. 2537. ความเป็นไปได้ในการใช้กากมะเขือเทศเป็นอาหารสัตว์ การใช้กากมะเขือเทศเป็นอาหารหยาบหลักเลี้ยงโครีดนมในฤดูแล้ง. รายงานผลงานวิจัยและรายงานประจำปี 2537. กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 35-43.
สุทธิพงศ์ อุริยะพงศ์สรรค์ ฉลอง วชิราภากร ไชยณรงค์ นาวานุเคราะห์ เวชสิทธิ์ โทบุราณ และชานนท์ สุนทรา. 2553. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่องการปรุงแต่งสิ่งเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมผลิตกรดซิตริกด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนตเพื่อเป็นแหล่งอาหารโคเนื้อ. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
AOAC. 1997. Official Methods of Analysis. 16th Ed. Association Official Analytical Chemists, Washington, D.C., U.S.A.
Lopez-Gatius, F., J. Yaniz and D. Madrles-Helm. 2002. Effect of body condition score and score change on the reproductive performance of dairy cow: a meta-analysis. Theriogenology 59: 801-812.
NRC. 2000. Nutrient Requirements of Beef Cattle. 7th rev. ed. Natl.Acad. Press, Washington, DC. U.S.A.
Renquist, B. J., J. W. Oltjen, R. D. Sainz and C. C. Calvert. 2006. Relationship between body condition score and production of multiparous beef cows. Livestock Science 104: 147-155.
Richards, M. W., J. C. Spitzer and M. B. Warner. 1986. Effect of varying levels of postpartum nutrition and body condition at calving on subsequent reproductive performance in beef cattle. Journal of Animal Science 62: 300-306.
SAS. 1996. SAS User’s Guide: Statistics, Version 9.0th Edition. SAS Intitute Inc. Cary., NC. U.S.A.
Schneider, B. H. and W. P. Flatt. 1975. The Evaluation of Feeds through Digestibility Experiments. Univ. Georia Press, Georia. U.S.A.
Steel, R. G. D. and J. H. Torrie 1980. Principle and Procedure of Statistics: MC Graw-Hill Book Company, New York. 631 p.
Van Keulen, J. and B.A. Young. 1977. Evaluation of acid- insoluble ash as a natural marker in ruminant digestibility studies. Journal of Animal Science 40: 281-287.
Van Soest, P. J., P. B. Robertson and B. A. Lewis. 1991. Method for dietary fiber neutral detergent fiber and non-starch polysaccharides in relation to animal nutrition. Journal of Dairy Science 74: 3583-3597