ผลของการเสริมกากมะเม่าต่อสมรรถภาพการให้ผลผลิต คุณภาพไข่ และค่าโลหิตวิทยาในไก่ไข่

Main Article Content

ศรีสุดา ศิริเหล่าไพศาล
พงศธร กุนัน
กฤษณธร สินตะละ
ไพวัลย์ ปัญญาแก้ว
ธัชเวชช์ กิมประสิทธิ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมกากเม่าในอาหาร ต่อสมรรถภาพการให้ผลผลิต คุณภาพไข่ และค่าโลหิตวิทยาในไก่ไข่สายพันธุ์ อีซ่าบราวน์ (ISA Brown) อายุ 21-32 สัปดาห์ จำนวน 120 ตัว แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 4 ซ้ำ ๆ ละ 10 ตัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ เสริมกากเม่าในอาหาร 3 ระดับ คือ 0 (กลุ่มควบคุม), 0.5 และ 1.0 เปอร์เซ็นต์ ผลการทดลองพบว่า การเสริมกากเม่าในอาหาร ในระดับ1.0 เปอร์เซ็นต์ มีผลในการเพิ่มสมรรถภาพการให้ผลผลิตไข่ และจำนวนไข่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและเพิ่มขึ้นแบบเป็นเส้นตรง (linear, P<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม และมีผลต่อคุณภาพไข่ ได้แก่ ค่าความถ่วงจำเพาะของไข่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแบบเป็นเส้นตรง (linear, P<0.05) นอกจากนี้ยังทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลง (P<0.05) จากการทดลองสรุปได้ว่าการเสริมกากเม่าระดับ 1.0 เปอร์เซ็นต์ในอาหารไก่ไข่ ทำให้สมรรถภาพการให้ผลผลิต คุณภาพไข่เพิ่มขึ้น และระดับคอเลสเตอรอลในเลือดลดลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เฉลิมพล เยื้องกลาง ไกรสิทธิ วสุเพ็ญ ศศิพันธ์ วงศ์-สุทธาวาส เสมอใจ บุรีนอก ไพวัลย์ ปัญญาแก้ว สุขสันต์ พิมพ์ชัย และธนภูมิ บุญมี. 2550. การศึกษาการใช้กากเม่าสดเป็นสารเสริมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสุกรพื้นเมือง. รายงานการวิจัย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร.
ลือชัย บุตคุป. 2551. การศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในเม่าหลวงสายพันธุ์ทางการค้าจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เพื่อการผลิตเครื่องดื่มและไวน์แดง. วิทยานิพนธ์ปรัญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ภุชงค์ วีรดิษฐกิจ และไพโชค ปัญจะ. 2558. อิทธิพลของการเสริมใบมะรุมผงในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 23(2): 293-305.
วิโรจน์ จันทร์รัตน์. 2537. กายวิภาคและสรีรวิทยาสัตว์ปีก. ภาควิชาเทคโนโลยีทางสัตว์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.
วรรณพร ทะพิงค์แก. 2557. ทางเลือกในการทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะเป็นสารเร่งการเจริญเติบโตสำหรับปศุสัตว์. วารสารเกษตร. 30(2): 201-212.
ศิริพร สารคล่อง. 2547. การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกเม่าหลวงกับพืชเศรษฐกิจอื่นในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 122 หน้า.
ศรีสุดา ศิริเหล่าไพศาล พงศธร กุนัน เกศรา อำพาภรณ์ ไพวัลย์ ปัญญาแก้ว และชัยพฤกษ์ หงษ์ลัดดาพร. 2558. ผลการเสริมกากเม่าในอาหารต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของเป็ดเนื้อเชอรรี่วัลเลย์. แก่นเกษตร 43. ฉบับพิเศษ 1. หน้า 386-391.
Aengwanich, W. and M. Suttajit. 2010. Effect of polyphenols extracted from tamarind (tamarindus Indica L.) seed coat on physiological changes, heterophill/lymphocyte ratio, oxidative stress and body weight in broilers (Gallus domesticus under chronic heat stress. Animal Science Journal 81: 264-270
Altan, O., A. Altan, M. Cabuk and H. Bayraktar. 2000. Effect of heat stress on some blood parameter in broiler. Turkish Journal Veterinary and Animal Science. 24: 145-148.
Akbari, M. and M. Torki. 2013. Effects of dietary chromium picolinate and peppermint essential oil on growth performance and blood biochemical parameters of broiler chicks reared under heat stress conditions. International Journal of Biometeorology 1383-1391.
Bok, S. H., Y. W. Shin, K. H. Bae, T. S. Jeong, Y. K. Kwon, Y. B. Park and M. S. Choi. 2000. Effects of naringenin and lovastatin on plasma and hepatic lipids in high fat and high-cholesterol fed rat. Nutrition Research. 20(7): 1007-1015.
Farhad, A. and F. Rahimi. 2011. Factors affecting quality and quantity of egg production in laying hens: A review. World Applied Science Journal 12(3): 372-384.
Gross, W. B. and H. S. Seigel. 1986. Effects of initial and second period of fasting on heterophil/lymphocyte ratio and body weight. Avian Diseases. 30: 345-346.
Jain, N.C. 1993. Essential of Veterinary Hematology. 1st ed. Philadelphia, USA. Lea and Febiger. pp.133-168
Kanber, K., B. Kocaoglu, E. Baytok and M. Senturk. 2015. Effects of grape pomace supplementation to laying hen diet on performance, egg quality, egg lipid peroxidation and some biochemical parameters. Journal of Applied Animal Research 44(1): 303-310.
Kim, H. J., G. T. Oh, Y. B. Park, M. K. Lee, H. J. Seo and M. S. Choi. 2004. Naringin alters the cholesterol biosynthesis and antioxidant enzyme activities in LDL receptor-knockout mice under cholesterol fed condition. Life Science 74(13): 1621-1634.
McDougald, L. R., C. Hofacre, G. Mathis, L. Fuller, J. L. Hargrove, P. Greenspan and D. K. Hartle. 2008. Enhancement of resistance to coccidiosis andnecrotic enteritis in broiler chickens by dietary muscadine pomace. Avian Diseases 52: 646-651.
McFarlane, J. M. and S. E. Curtis. 1989. Multiple concurrent stressors in chickens. 3. Effects on plasma corticosterone and the heterophil:lymphocyte ratio. Poultry Science 68: 522-527.
Piyaphon S., K. Angkanaporn and S. Kijparkorn. 2011. Effect of Roselle (Hibiscus sabdariffa linn.) calyx in laying hen diet on egg production performance, egg quality and TBARS value in plasma and yolk. The Thai Journal of Veterinary Medicine 41(3): 337-344.
Puangpronpitag, D., P. Areejitranusorn, P. Boonsiri, M. Suttajit and P. Yongvanit. 2008. Antioxidant activities of polyphenolic compounds isolated from Antidesma thwaitesianum Mull. Arg. Seeds and marcs. Journal of Clinical Biochemistry and Nutrition 43(Suppl. 1): 533-538.
Qureshi, A. A., Z. Z. Din, N. Abuirmeileh, W. C. Burger, Y. Ahmad and C. E. Elson. 1983. Suppression of avian hepatic lipid metabolism by solvent extracts: impact on serum lipids. Journal of Nutrition 113: 1746-1755.
Safdar, D., S. A. Tabeidian, M. Toghyani, R. Jahanian and F. Behnamnejad. 2012. Effect of different levels of grape pomace on blood serum biochemical parameters broiler chicks at 29 and 49 days of age. The 1st International and the 4th National Congress on Recycling, 26-27 April 2012 in Isfahan, Iran.
SAS Institute. 2002. SAS user’s guide. Version 9.0 ed. SAS Institute Inc., Cary, NC, USA.
Thompson, B. K. and R. M. G. Hamilton. 1982. Comparison of the precision and accuracy of flotation andarachimeds methods for measuring the specific gravity of egg. Poultry Science 61:1599-1605.