การยอมรับการผลิตมะม่วงตามหลักเกษตรที่ดีและเหมาะสมของเกษตรกรในอำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง

Main Article Content

ณัฐวุฒิ จั่นทอง
พหล ศักดิ์คะทัศน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม การยอมรับการผลิตมะม่วงตามหลักเกษตรที่ดีและเหมาะสม ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการผลิต รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการผลิตตามหลักเกษตรที่ดีและเหมาะสม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เกษตรกรผู้ผลิตมะม่วงตามหลักเกษตรที่ดีและเหมาะสมในอำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างจำนวน 150 คน โดยวิธีการใช้แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า การยอมรับการผลิตมะม่วงตามหลักเกษตรที่ดีและเหมาะสมมีการยอมรับระดับมากในด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการผลิต และมีการยอมรับระดับปานกลางในด้านกายภาพ ด้านชีวภาพ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการผลิตมะม่วงตามหลักเกษตรที่ดีและเหมาะสม ได้แก่ รายได้ แรงงาน ประสบการณ์ในการผลิต การได้รับการฝึกอบรมในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา และการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐและเอกชน  มีความสัมพันธ์กับการผลิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. 2557. เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงตามระบบ GAP. เอกสารวิชาการ. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรที่ 6, จันทบุรี. 45 หน้า
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2557. นโยบายคุณภาพมะม่วง GAP. เอกสารวิชาการ. กรมส่งเสริมการเกษตร กรุงเทพมหานคร. 50 หน้า.
จุลลดา พลัง วีรศักดิ์ ปรกติ พหล ศักดิ์คะทัศน์ และ นคเรศ รังควัต. 2554. การยอมรับของเกษตรกรผู้ผลิตยาสูบในแนวทางเกษตรแบบผสมผสานในเขตรับผิดชอบของสถานีใบยาป่าก่อดำ จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 28(2): 57-64.
ณัฐวุฒิ จั่นทอง. 2557. การยอมรับการผลิตข้าวตามหลักเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) ของเกษตรกรในอำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง. เอกสารการประชุมวิชาการและเสนองานวิจัยพืชเขตร้อนและกึ่งร้อน ครั้งที่ 8. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพมหานคร. 197 หน้า.
ตะวัน บัวทรัพย์ กังสดาล กนกหงษ์ นคเรศ รังควัต และ สายสกุล ฟองมูล. 2555. การยอมรับวิธีการผลิตยางพาราของเกษตรกรในอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร. เอกสารการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 10. สำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสรรค์, นครสวรรค์. 845 หน้า.
ธนพร บุญประสงค์ กังสดาล กนกหงส์ นคเรศ รังควัต และ พหล ศักดิ์คะทัศน์. 2555. การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตมันฝรั่งของเกษตรกรในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. เอกสารการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 10. สำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสรรค์, นครสวรรค์. 845 หน้า.
นราดล ประไพศรี กังสดาล กนกหงษ์ นคเรศ รังควัต และ พหล ศักดิ์คะทัศน์. 2558. การยอมรับวิธีการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรในอำเภอแม่อาย. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 32(1): 39-46.
บุญจันทร์ มณีแสง และ รุจ ศิริสัญลักษณ์. 2554. ปัจจัยที่มีความสัมพันธุ์กับการยอมรับการเลี้ยงโคเนื้อพันธุ์ลูกผสมระหว่างแม่พันธุ์พื้นเมืองกับพ่อพันธุ์บราห์มันแดงของเกษตรกรในนครหลวงเวียงจันทร์ สปป.ลาว. วารสารเกษตร 27(2): 137-143.
บุญสม วราเอกศิริ. 2535. ส่งเสริมการเกษตร: หลักและวิธีการ. มปท, เชียงใหม่. 277 หน้า.
บัวทอง แก้วหล้า และ วรทัศน์ อินทรัคคัมพร. 2556. ปัจจัยที่มีความสัมพันธุ์กับการยอมรับการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร ในอำเภอหนองแฮด จังหวัดเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตรประชาชนลาว. วารสารเกษตร 29(3): 267-275.
เปรม ณ สงขลา. 2557. เรื่องของมะม่วง. วารสารเคหะการเกษตร 38(4): 133-134 หน้า.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2546. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคม. เสี่ยงเชียง, กรุงเทพมหานคร. 146 หน้า.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2556. ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจเกษตร. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, dรุงเทพมหานคร. 113 หน้า.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2557. ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจเกษตร. อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพมหานคร. 186 หน้า.
Yamane, T. 1967. Elementary Sampling Theory. Prentice Hall, Michigan. 405 p.