สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน

วารสารเกษตรก็ย่างก้าวเข้าสู่ปีที่ 32 ปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น รูปแบบหน้าแรกของแต่ละบทความเปลี่ยนไปเพื่อให้เข้ากับระบบของ TCI นอกจากนี้ ถ้าสังเกตให้ดีรูปเล่มหนาขึ้นนั่นหมายถึง ทางกองบรรณาธิการต้องการให้เพิ่มจำนวนบทความที่จะตีพิมพ์ต่อเล่มมากขึ้น จากเดิม 10 เรื่อง เป็น 15 เรื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เขียนและผู้อ่านมากขึ้นนั่นเอง

สำหรับบทความทั้ง 15 เรื่องนั้น มีบทความปริทัศน์ 1 เรื่อง คือ การใช้กรดอินทรีย์ต่อการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียกลุ่มก่อโรค (ซัลโมเนลล่า) ในทางเดินอาหารของสัตว์ปีก นับว่าเนื้อหาสาระบทความวิชาการนี้น่าสนใจมาก นอกจากนี้ยังมีบทความวิจัยอีก 14 เรื่อง คือ สาขาพืชสวน 2 เรื่อง สาขาส่งเสริมการเกษตร 3 เรื่อง สาขาโรคพืช 2 เรื่อง สาขากีฏวิทยา 3 เรื่อง สาขาสัตวศาสตร์ 3 เรื่อง และสาขาประมงอีก 1 เรื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของบทความวิจัยทางด้านการเกษตร แต่ละเรื่องน่าสนใจให้สาระทางวิชาการได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีบทความวิจัยที่ส่งมาจาก The University of Tokyo เรื่อง Provincial Migration and Agricultural Population Change in Thailand นับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของคุณภาพวารสารที่ได้รับการยอมรับจากสถาบันที่มีชื่อเสียงที่สุดของญี่ปุ่น

ปีนี้นับว่าเป็นการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อย่างแท้จริงหลายภาคส่วนได้มีการปรับตัว และเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับ AEC ซึ่งนักวิจัยก็คงต้องเช่นเดียวกัน เพราะมีบทเรียนหลายเรื่องที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดความเสื่อมถอย ตามคนอื่นไม่ทัน ทางกองบรรณาธิการก็พยายามที่จะพัฒนาคุณภาพวารสารเกษตรให้เข้าสู่ ASEAN Citation Index (ACI) ต่อไป นับว่าเป็นเป้าหมายของวารสารที่ต้องการให้ทั้ง ASEAN ได้รู้จักและยอมรับ ความก้าวหน้าทางวิชาการเกษตรของประเทศไทยมากยิ่งขึ้น

พบกันใหม่ในฉบับหน้าครับ

เผยแพร่แล้ว: 2020-07-31

การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของลำไยด้วยเทคนิคไอดีอาร์เอพีดี

แสงทอง พงษ์เจริญกิต, จันทร์เพ็ญ สะระ, ธีรนุช เจริญกิจ, ฉันทนา วิชรัตน์

1-8

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจของทายาทเกษตรกรในการสานต่ออาชีพเกษตรในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

ศันสนีย์ กระจ่างโฉม, สุดารัตน์ อุทธารัตน์, ณัฐสิทธิ์ ศรีนุรักษ์, อุบลรัตน์ หยาใส่

29-38

การเจริญของเห็ดถั่งเช่าสีทอง (Cordyceps militaris) บนดักแด้ไหมไทยพื้นบ้านพันธุ์นางลายและไหมป่าอีรี่

กนกวรรณ ลือดารา, จิราพร กุลสาริน, ไสว บูรณพานิชพันธุ์, ธัญญา ทะพิงค์แก

95-102

ผลของการเสริมส่าเหล้า ยีสต์ และโปรไบโอติกต่อผลผลิตไข่ ลักษณะซาก และคุณภาพเนื้อของไก่ไข่ปลดระวาง

วัชระ แลน้อย, วีรพงษ์ กันแก้ว, กิตติพงศ์ สมุดความ, ธีระพฤศ สุขวงศ์, พิชญ์สินี เชียงแรง, กฤตภาค บูรณวิทย์

103-110

ลักษณะของลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีนอินซูลินไลค์โกรทแฟคเตอร์วัน (IGF-I) ในปลาบึก (Pangasianodon gigas) และ ปลาสวาย (Pangasianodon hypophthalmus)

นันทพร สุทธิ, ดวงพร อมรเลิศพิศาล, นเรศวร์ ตระกูลจุล, ศิริลักษณ์ พรสุขศิริ, เคราส์ วิมเมอร์, เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน

127-138