ประสิทธิภาพของน้ำสกัดชีวภาพจากเศษเหลือพริกต่อการยับยั้งเชื้อรา <I>Colletotrichum gloeosporioides</I> ในสภาพห้องปฏิบัติการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides เป็นเชื้อสาเหตุของโรคแอนแทรคโนสในพริกและพืชหลากหลายชนิด ทำให้คุณภาพและผลผลิตเสียหาย จากการนำเศษเหลือของพริกจากแปลงปลูกของเกษตรกรมาทำน้ำสกัดชีวภาพ 2 สูตร คือ สูตร 1 (ลำต้นและใบ) และ สูตร 2 (ผลพริก) มาทดสอบประสิทธิภาพของน้ำสกัดชีวภาพต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา C. gloeosporioides ด้วยวิธี poisoned food technique บนอาหารเลี้ยงเชื้อ potato dextrose agar (PDA) ที่ความเข้มข้น 25, 37.5 และ 50 เปอร์เซ็นต์ (v/v) เป็นเวลา 3, 5, 7, 9 และ 12 วัน ตามลำดับ พบว่า น้ำสกัดชีวภาพสูตร 2 ทุกระดับความเข้มข้น มีผลต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อสาเหตุ โดยที่ความเข้มข้น 37 เปอร์เซ็นต์ (v/v) มีการยับยั้งได้ดีที่สุดเท่ากับ 48.67 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในขณะที่ความเข้มข้น 25 และ 50 เปอร์เซ็นต์ (v/v) มีการยับยั้งเท่ากับ 37.12 และ 8.14 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อทดสอบผลของน้ำสกัดชีวภาพต่อการสร้างสปอร์และการยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อสาเหตุ ด้วยการพ่นน้ำสกัดชีวภาพทั้ง 2 สูตรในทุกความเข้มข้นลงบนสปอร์ของเชื้อสาเหตุบนชิ้นวุ้น (WA) บ่มเชื้อเป็นเวลา 24 ชั่วโมง พบว่า น้ำสกัดชีวภาพสูตร 2 ส่งผลทำให้จำนวนสปอร์ลดลงและการงอกของสปอร์ผิดปกติ จากนั้นจึงคัดเลือกน้ำสกัดชีวภาพสูตร 2 ที่ความเข้มข้น 37 เปอร์เซ็นต์ (v/v) มาทดสอบผลของน้ำสกัดชีวภาพต่อการเกิดโรคแอนแทรคโนส โดยพ่นน้ำสกัดชีวภาพบนใบพริกในระยะกล้าก่อนปลูกเชื้อสาเหตุเป็นเวลา 48 ชั่วโมง พบว่า น้ำสกัดชีวภาพสูตร 2 ยังสามารถก่อให้เกิดโรคได้บ้างเล็กน้อยซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีที่พ่นสปอร์แขวนลอยของเชื้อสาเหตุอย่างเดียว นอกจากนี้ ในกรรมวิธีพ่นน้ำสกัดชีวภาพสูตร 2 + พ่นสปอร์แขวนลอยของเชื้อสาเหตุ และกรรมวิธีพ่นน้ำสกัดชีวภาพ + พ่น พด. 2 + พ่นสปอร์แขวนลอยของเชื้อสาเหตุ มีผลให้ระดับความรุนแรงของโรคและการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุลดลงไม่แตกต่างจากกรรมวิธีที่พ่นสปอร์แขวนลอยของเชื้อสาเหตุอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการทดลองสรุปได้ว่าการใช้น้ำสกัดชีวภาพจากเศษเหลือของพริก โดยเฉพาะจากผลพริกมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อสาเหตุบนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA แต่ยังไม่สามารถควบคุมเชื้อสาเหตุบนพืชอาศัยได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ
Article Details
References
กาญจนา วันเสาร์ และเอื้องฟ้า บรรเทาวงษ์. 2544. ปุ๋ยนํ้าหมักดีจริงหรือ? เคหการเกษตร 25(4): 179-185.
จิราภา จอมไธสง. 2555. รายงานข้อมูลสถานการณ์การผลิตการตลาดสินค้าเกษตร ชนิดสินค้าพริก. สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพฯ.
ชุติมันต์ พานิชศักดิ์พัฒนา นงลักษ์ ปั้นลาย ธีรนันท์ แซ่ลี้ พจมาลย์ แก้ววิมล และฤทัยรัตน์ น้อยจาด. 2554. ผลของน้ำหมัก Bacterio mineral water ต่อการเกิดโรคแอนแทรคโนสของถั่วเหลืองฝักสด. แก่นเกษตร 39(ฉบับพิเศษ 3): 123-131.
ชุติมา ประดิษฐเวทย์. 2546. ผลของน้ำสกัดชีวภาพต่อการเจริญเติบโต การดูดใช้ธาตุอาหารพืช และผลผลิตพริกในแปลงเกษตรกร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 85 หน้า.
ไชยรัตน์ ไชยสุต ศศิธร เทศน์อรรถภาคย์ อุไรพรรณ ปรางอุดมทรัพย์ และจินตนา นาคสมบูรณ์. 2553. น้ำสกัดชีวภาพ. ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสังคม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. 85 หน้า.
มงคล ต๊ะอุ่น. 2549. การประยุกต์ใช้น้ำสกัดชีวภาพเพื่อการเกษตร. วารสารศูนย์บริการวิชาการ 14(4): 20-25.
มนทนา รุจิระศักดิ์ พรศิลป์ สีเผือก และพิทยา เกิดนุ่ม. 2553. การใช้น้ำหมักรกหมูในการเพิ่มคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าว. ใน: รายงานการประชุมทางวิชาการเมล็ดพันธุ์พืชแห่งชาติ ครั้งที่ 7. วันที่ 18-20 พฤษภาคม 2554. โรงแรมท็อปแลนด์, พิษณุโลก.
รังสี เจริญสถาพร อมรรัชฏ์ คิดใจเดียว นิตยา กันหลง เกรียงศักดิ์ ชาตรีปรีดี และสมพร อิศรานุรักษ์. 2546. การทดสอบประสิทธิภาพเบื้องต้นของน้ำสกัดชีวภาพต่อชีววิทยาของเชื้อรา Phytophthora palmivora. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.agriqua.doae.go.th/Plant%20%20Protection%20%20Conference/disease-research/P-29.pdf (17 ตุลาคม 2558).
สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. 2552. ผลการใช้น้ำสกัดชีวภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของราก่อโรค Phytophthora spp. บนต้นยางพารา. ใน: รายงานการประชุมทางวิชาการนเรศวรวิจัย ครั้งที่ 5. วันที่ 28-29 กรกฎาคม 2552. มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. 2555. น้ำหมักชีวภาพกับงานทางด้านการเกษตร. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ 3(1): 59-65.
สุจริตพรรณ บุญมี และเกวลิน คุณาศักดากุล. 2556. ผลของน้ำออกซิไดส์ที่ผ่านการแยกด้วยไฟฟ้าต่อการลดโรคราแป้งในพืชวงศ์แตง. วารสารเกษตร 29(3): 257-266.
สุริยา สาสนรักกิจ เปรมสุดา สมาน อัจฉราไชย องค์การ กนกอร จารุรีต มานิตย์ นาคสำเภา เดชาศิลป์ศร อภิญญา แสงสุวรรณ และ ศิริพร วรดิถี. 2545. น้ำสกัดชีวภาพ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเรื่องโรคพืชและจุลินทรีย์กับการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน. วันที่ 16-18 กันยายน 2545. อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา. 32 หน้า.
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดแพร่. 2551. การผลิตการตลาดพริกจังหวัดแพร่. กลุ่มสารสนเทศและข้อมูลการเกษตร. สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดแพร่, แพร่. 23 หน้า.
อังคณา เทียนกล่ำ. 2556. ประสิทธิภาพของน้ำหมักใบครามต่อการเติบโต ผลผลิต และการควบคุมแมลงศัตรูในมะเขือเปราะ. วารสารเกษตร 29(3): 249-256.
ออมทรัพย์ นพอมรบดี สมพร อิศรานุรักษ์ สุนันทา ชมพูนิช ภาวนา ลิกขนานนท์ นิตยา กันหลง รังสี เจริญสถาพร และ รัตนาภรณ์ พรหมศรัทธา. 2547. ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ น้ำสกัดชีวภาพ (ตอนที่ 1). ควิกปริ๊นท์ออฟเซ็ท, กรุงเทพฯ. 51 หน้า.
Apai, W. and S. Thongdeethae. 2001. Wood vinegar: new organic for Thai agriculture. pp. 166-169. In: Proceedings of the Fourth Toxicity Division Conference, Department of Agriculture, Bangkok.
Agrios, G. N. 2005. Plant Pathology. 5th ed. Academic Press, New York. 592 p.
Campbell, C. L. and L. V. Madden. 1990. Introduction to Plant Disease Epidemiology. Wiley-Interscience, New York.
Eckert, J. W. 1983. Control of post-harvest diseases with antimicrobial agents. pp. 265-258. In: M. Liebermans (ed.). Post-harvest Physiology and Crop Protection. Plenum Press, New York.
Jinantana, J. and M. Sariah.1998. Potential for biological control of Sclerotium foot rot of chilli by Trichoderma spp. Pertanika Journal of Tropical Agricultural Science 21(1): 1-10.
Mdee, L. K., P. Masoko and J. N. Eloff. 2009. The activity of extracts of seven common invasive plant species on fungal phytopathogens. South African Journal of Botany 75: 375-379.
Pakdeevaraporn, P., S. Wasee, P. W. J. Taylor and O. Mongkolporn. 2005. Inheritance of resistance to
anthracnose caused by Colletotrichum capsici. Plant Breeding 124(2): 206-208.
Panichsukpatana, C., N. Sivakorn, N. Kanlong and T. Boon-Long. 2002. Utilization of BMW to promote plant growth. p. 159. In: Summary of the First International Conference on Tropical and Sub Tropical Plant Diseases. Nov. 5-8, 2002. The Imperial Mae Ping Hotel. Chiang Mai, Thailand.
Rajamanickam, S., K. Sethuraman and A. Sadasakthi. 2012. Exploitation of phytochemicals from plants extracts and its effect on growth of Colletotrichum capsici (Syd.) Butler and Bisby causing anthracnose of chilli (Capsicum annuum L.). Plant Pathology Journal 11: 87-92.
Sutton, B. C. 1992. The genus Glomerella and its anamorph Colletotrichum. pp. 1-26. In: J. A. Bailey and M. J. Jeger (eds.). Colletotrichum: Biology, Pathology and Control. CAB International, Wallingford.
Than, P. P., H. Prihastuti, S. Phoulivong, P. W. J. Taylor and K. D. Hyde. 2008. Chilli anthracnose disease caused by Colletotrichum species. Journal of Zhejiang University SCIENCE B 9(10): 764-778.
Vallad, G. E., L. Cooperband and R. M. Goodman. 2003. Plant foliar disease suppression mediated by composted forms of paper mill residuals exhibits molecular features of induced resistance. Physiological and Molecular Plant Pathology 63: 65-77.