อิทธิพลของปุ๋ยไนโตรเจนต่อการย่อยสลายในกระเพาะรูเมน และองค์ประกอบทางเคมีของหญ้าแพงโกล่า

Main Article Content

อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์
จีระศักดิ์ ชอบแต่ง

บทคัดย่อ

การทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจนต่อการให้ผลผลิต องค์ประกอบทางเคมี และการย่อยสลายในกระเพาะรูเมนของหญ้าแพงโกล่า (Digitaria eriantha) ที่ปลูกในชุดดินหุบกะพง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก มี 4 ซ้ำ ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน (nitrogen, N) ในอัตราต่าง ๆ ได้แก่ 0 (กลุ่มควบคุม), 8, 16, 32 และ 64 กก. N/ไร่ ผลการทดลอง พบว่า การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 64 กก. N/ไร่ ทำให้ค่าผลผลิตน้ำหนักแห้งรวมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (2,162 กก./ไร่) (p<0.001) การใส่ปุ๋ยอัตรา 64 กก. N/ไร่ มีผลทำให้หญ้าที่ตัดทุก ๆ 30 วัน มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนหยาบสูงกว่า (p<0.001) (7.42 เปอร์เซ็นต์) กรรมวิธีที่ได้รับปุ๋ยระดับต่ำกว่า 16 กก. N/ไร่ (6.17 เปอร์เซ็นต์) อย่างไรก็ตาม การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนให้กับหญ้าแพงโกล่าไม่มีผล (p>0.05) ต่อการย่อยสลายได้ของหญ้าแพงโกล่าในกระเพาะรูเมน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2543. รายงานการจัดการดิน. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์: กรุงเทพฯ.
กองอาหารสัตว์. 2545. หญ้าอาหารสัตว์. เอกสารคำแนะนำ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด กรุงเทพ.
กานดา นาคมณี ฉายแสง ไผ่แก้ว และ แพรวพรรณ เครือมังกร. 2549. ผลของการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนระดับต่างกันที่มีต่อผลผลิตพืชอาหารสัตว์และคุณภาพของหญ้ามูลาโต้. หน้า 271-284. ใน: รายงานผลงานวิจัยประจำปี พ.ศ. 2549. กรุงเทพฯ: กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
จีระศักดิ์ ชอบแต่ง วรรณา อ่างทอง ณุทนาถ โคตรพรหม สุมน โพธิจันทร์ และ รำไพร นามสีลี. 2555. ผลของคุณภาพหญ้าแพงโกล่าต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้และการผลิตก๊าซมีเทนในโคเนื้อ. แก่นเกษตร 40(ฉบับพิเศษ 2): 166-169.
ชิต ยุทธวรวิทย์ จุรีรัตน์ สัจจิพานนท์ เกียรติศักดิ์ กล่ำเอม และ พูลศรี ศุกระรุจิ. 2539. ความถี่ของการตัดและอัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่มีผลผลิตและส่วนประกอบทางเคมีของหญ้ากินนีสีม่วง. หน้า 83-89. ใน: รายงานผลงานวิจัยประจำปี พ.ศ. 2538. กรุงเทพฯ: กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ปิ่น จันจุฬา พัชรินทร์ ภักดีฉนวน ศิริวัฒน์ วาสิกศิริ และ สมพงษ์ เทศประสิทธิ์. 2557. ผลของระดับโปรตีนในอาหารต่อการย่อยได้ เมแทบอไลท์ในกระแสเลือด และสมรรถภาพการผลิตของแพะรีดนม. วารสารเกษตร 30(2): 191-200.
พิสุทธิ์ สุขเกษม กมลทิพย์ ดำคงเพชร และ ภิรมย์ บัวแก้ว. 2543. การตอบสนองต่อปุ๋ยคอกและปุ๋ยไนโตรเจนของหญ้าซิกแนลเลื้อย. หน้า 35-50. ใน: รายงานผลงานวิจัยประจำปี พ.ศ. 2543. กรุงเทพฯ: กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
เพ็ญศรี ศรประสิทธิ์ อิทธิพล เผ่าไพศาล และ ประเสริฐ โพธิ์จันทร์. 2549. ผลของช่างเวลาในการตัดและระดับปุ๋ยไนโตรเจนที่มีต่อผลผลิตและคุณค่าทางอาหารของหญ้าเนเปียร์แคระภายใต้การจัดการแบบประณีต. หน้า 52-67. ใน: รายงานผลงานวิจัยประจำปี พ.ศ. 2549. กรุงเทพฯ: กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
มุกดา สุขสวัสดิ์. 2544. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. 343 หน้า.
ยงยุทธ โอสถสภา อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจณ์ และ ชวลิต ฮงประยูร. 2551. ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 519 หน้า.
วรรณา อ่างทอง สุรนันท์ น้อยอุทัย วิวัฒน์ ไชยชะอุ่ม และ นพวรรณ ชมชัย. 2549. คุณค่าทางโภชนะของหญ้าแพงโกล่าแห้งที่การเจริญเติบโตต่างกัน. หน้า 145-154. ใน: รายงานการประชุมวิชาการสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ครั้งที่ 2 วันที่ 24 มกราคม 2549.
ศศิธร ถิ่นนคร กานดา นาคมณี วิรัช สุขสราญ และ อุดร ศรีแสง. 2541. อิทธิพลของปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่มีต่อผลผลิตหญ้าซิกแนลนอนในชุดดินปากช่อง. หน้า 229-242. ใน: รายงานผลงานวิจัยประจำปี พ.ศ. 2541. กรุงเทพฯ: กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สมศักดิ์ เภาทอง วีระศักดิ์ จิโนแสง และ อานุภาพ เส็งสาย. 2546. อิทธิพลของปุ๋ยคอกและปุ๋ยไนโตรเจนต่อผลผลิตและส่วนประกอบทางเคมีของหญ้ากินนีสีม่วงในชุดดินหุบกะพง. หน้า 83-101. ใน: รายงานผลงานวิจัยประจำปี พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์ จีระศักดิ์ แซ่ลิ่ม และ สมศักดิ์ เภาทอง. 2555. ผลของระดับปุ๋ยไนโตรเจนที่มีต่อผลผลิตองค์ประกอบทางเคมี และประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากปุ๋ยของหญ้าเนเปียร์แคระ. หน้า. 160-167. ใน: รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 22 23-26 พฤษภาคม 2555.
AOAC. 1998. Official Methods of Analysis. 16th ed. Washington, DC: Association of Official Analytical Chemists.
Bremmer, J. M. and C. S. Mulvaney. 1982. Nitrogen total. pp. 595-624. In: Page, A. L. (ed.) Methods of Soil Analysis: Agron. NO. 9, Part 2: Chemical and Microbiological Properties. Madison, WI: American Society of Agronomy.
Detmann, E., M. P. Gionbelli and P. Huhtanen. 2014. A meta-analytical evaluation of the regulation of voluntary intake in cattle fed tropical forage-based diets. Journal of Animal Science 92: 4632-4641.
Faria, J. R., B. Gonzalez and J. Faria. 1997. Effect of the N and P on yield and sward structure of dwarf elephant grass Pennisetum purpureum cv. Mott. pp. 99-100. In: Proceedings of the XVII international Grassland Congress. Canada.
Gomide, J. A.; C. H. Noller, G. O. Mott, J. H. Conrad and D. L. Hill. 1969. Effect of plant age and nitrogen fertilization on the chemical composition and in vitro cellulose digestibility of tropical grasses. Agronomy Journal 61:116-120.
Hare, M. D., S. Phengphet, T. Songsiri and N. Sutin. 2015. Effect of nitrogen on yield and quality of Panicum maximum cvv. Mombasa and Tanzania in Northeast Thailand. Tropical Grasslands 3: 27-33.
Johnson, C. R., B. A Reiling, P. Mislevy and M. B. Hall. 2001. Effects of nitrogen fertilization and harvest date on yield, digestibility, fiber, and protein fractions of tropical grasses. Journal of Animal Science 79(9): 2439-2448.
Minson, D. J. 1973. Effect of fertilizer nitrogen on digestibility and voluntary intake of Chloris gayana, Digitaria decumbens and Pennisetum clandestinum. Australian Journal of Experimental Agriculture and Animal Husbandry 13(16): 153-157.
Munoz, G. R., l. J. M. Powel and K. A. Kelling. 2003. Nitrogen budget and soil N dynamics after multiple applications of unlabeled or 15 Nitrogen-enriched dairy manure. Soil Science Society of America Journal 67: 817-825.
Ngo, V. M. and H. Wiktorsson. 2003. Forage yield, nutritive value, feed intake and digestibility of three grass species as affected by harvest frequency. Tropical Grasslands 37: 101-110.
Powell, J. M., Z. Wu, K. Kelling, P. Cusick and G. Munoz. 2004. Differential nitrogen-15 labeling of dairy manure components for nitrogen cycling studies. Agronomy Journal 96: 433-441.
Ørskov, E. R. and I. McDonald. 1979. The estimation of protein degradability in the rumen from incubation measurements weighted according to rate of passage. Journal of Agricultural Science 92: 499-503.
Rethman, N. F. G. and W. A. J. Steenekamp. 1997. Nutritive value of guinea grass cultivars in the winter as influenced by nitrogen fertilization. pp. 17-1-17-2. In: Proceedings of the XVII international Grassland Congress. Canada.
Rogers, J. R., R. W. Harvey, M. H. Poore, J. P. Mueller and J. C.Barker. 1996. Application of nitrogen from swine lagoon effluent to bermudagrass pastures: seasonal changes in forage nitrogenous constituents and effects of energy and escape protein supplementation on beef cattle performance. Journal of Animal Science 74: 1126-1133.
Van Soest, P. J. 1994. The Nutritional Ecology of the Ruminant. 2nd edition. Cornell University Press. Ithaca, NY. p. 476.
Van Soest, P. J., J. B. Robertson and B. A. Lewis. 1991. Methods for dietary fiber, neutral detergent fiber, and non starch polysaccharides in relation to animal nutrition. Journal of Dairy Science 74: 3583-3597.
Viana, M. C. M., I. P. Silva da, F. M. Freire, M. M. Ferreira, E. L. Costa da, M. H. T. Mascarenhas and M. F. F. Teixeira. 2014. Production and nutrition of irrigated Tanzania guinea grass in response to nitrogen fertilization. Revista Brasileira de Zootecnia 43: 238-243.