ผลของโพแทสเซียมซิลิเกตในการควบคุมโรคราแป้งและราน้ำค้างของแตงกวาญี่ปุ่นภายใต้สภาพโรงเรือนและแปลงปลูกของเกษตรกร

Main Article Content

สุรีย์วัลย์ เมฆกมล
กาญจนา วิชิตตระกูลถาวร
เรณู สุวรรณพรสกุล

บทคัดย่อ

การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของโพแทสเซียมซิลิเกตในการควบคุมโรคราแป้งและราน้ำค้างของแตงกวาญี่ปุ่นภายใต้สภาพการปลูกพืชในโรงเรือนและสภาพแปลงปลูกของเกษตรกร การทดสอบภายใต้สภาพโรงเรือน ใช้แตงกวาญี่ปุ่นสายพันธุ์เพรตตี้ สวอลโล 279 (cv. Pretty swallow 279) โดยทดสอบความถี่ของการพ่นโพแทสเซียมซิลิเกตในการควบคุมโรคราแป้งและราน้ำค้าง ได้แก่ พ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และพ่นสัปดาห์ละ 2 ครั้ง การวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์ดัชนีความเสียหายจากโรค (Disease index, % DI) หลังการย้ายปลูก 6 สัปดาห์ พบว่า การพ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และสัปดาห์ละ 2 ครั้ง สามารถลดความเสียหายจากโรคราแป้งและราน้ำค้างได้ไม่แตกต่างกัน  แต่การพ่นทั้ง 2 ความถี่สามารถลดความเสียหายจากโรคราแป้งและราน้ำค้างได้แตกต่างจากชุดควบคุม (พ่นน้ำเปล่า)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีดัชนีการเกิดโรคราน้ำค้างในการพ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง และชุดควบคุม เป็น 51.9, 48.4 และ 64.6 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สำหรับโรคราแป้งมีดัชนีความเสียหายจากโรคในการพ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง และชุดควบคุม เป็น 39.6, 35.9 และ 57.3 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สำหรับปริมาณผลผลิตแตงกวาญี่ปุ่นสายพันธุ์เพรตตี้ สวอลโล 279 พบว่า ในการพ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ให้ปริมาณผลผลิตที่สามารถขายได้ไม่แตกต่างกัน แต่ให้ปริมาณผลผลิตมากกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  โดยมีปริมาณผลผลิตในการพ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง และชุดควบคุมเป็น 6.8, 6.5 และ 4.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ตามลำดับ การทดสอบในสภาพแปลงปลูกของเกษตรกรทดสอบกับแตงกวาญี่ปุ่นสายพันธุ์ โรบาโต้ (cv. Robato) ใน 3 กรรมวิธี ได้แก่ 1. การใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราสลับกับชีวภัณฑ์ 2. การใช้โพแทสเซียมซิลิเกต สลับกับสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราและชีวภัณฑ์ และ 3. การใช้โพแทสเซียมซิลิเกตตลอดฤดูปลูก พบว่าทั้ง 3 กรรมวิธี สามารถควบคุมโรคราน้ำค้าง และได้ปริมาณผลผลิตไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยมีดัชนีความเสียหายจากโรคราน้ำค้างในกรรมวิธีที่ 1, 2 และ 3 ในสัปดาห์ที่ 5 หลังการย้ายปลูกเท่ากับ 41.5, 35.9 และ 43.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สำหรับผลผลิตของแตงกวาญี่ปุ่นสายพันธุ์โรบาโต้ในกรรมวิธีที่ 1, 2 และ 3 เป็น 8.5, 8.2 และ 7.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ตามลำดับ โพแทสเซียมซิลิเกตสามารถลดจำนวนครั้งของการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราในสภาพแปลงปลูกได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญรงศักดิ์ สายน้อย. 2545. การศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตแตงกวาญี่ปุ่นเสียบยอดกับต้นตอน้ำเต้า ฟักทองพื้นเมือง แตงโม และแตงกวาญี่ปุ่นที่ไม่เสียบยอดภายในโรงเรือนไม้ไผ่ภายใต้ระบบ Fertigation. รายงานผลการวิจัย. มูลนิธิโครงการหลวง เชียงใหม่. 16 หน้า.
นุชนาฏ จงเลขา. 2549. คู่มือการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานสำหรับเกษตรกร. มูลนิธิโครงการหลวง. เชียงใหม่. 94 หน้า.
วันวิสา เตชะวงค์ และ เกวลิน คุณาศักดากุล. 2558. การใช้น้ำออกซิไดซ์ที่ผ่านการแยกด้วยไฟฟ้าในการควบคุมเชื้อแบคทีเรียเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผักอินทรีย์. วารสารเกษตร 31(1): 39-46.
สันทัด โรจนสุนทร. 2551. โครงการนำร่องการพัฒนามาตรฐานคุณภาพอาหารเพื่อการส่งออก: กรณีศึกษามูลนิธิโครงการหลวง ระยะที่ 3. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร. 221 หน้า.
สุจริตพรรณ บุญมี และ เกวลิน คุณาศักดากุล. 2556. ผลของน้ำออกซิไดซ์ที่ผ่านการแยกด้วยไฟฟ้าต่อการลดโรคราแป้งในพืชวงศ์แตง. วารสารเกษตร 29(3): 257-266
Ashtiani, F. A., J. Kadir, A. Nasehi, S. R. H. Rahaghi and H. Sajili. 2012. Effect of silicon on rice blast disease. Pertanika Journal of Tropical Agricultural Science (S): 1-12.
Bekker, T. F., C. Kaiser and N. Labuschagne. 2009. The antifungal activity of potassium silicate and the role of pH against selected plant pathogenic fungi in vitro. South African Journal of Plant and Soil 26 (1): 55-57.
Belanger, R., P. A. Bowen, D. L. Ehret and J. G. Menzies. 1995. Soluble silicon: its role in crop and disease management of greenhouse crops. Plant Disease Journal 79(4): 336-339.
Cai, K., D. Gao, J. Chen and S. Luo. 2009. Probing the mechanisms of silicon-mediated pathogen resistance. Journal of the Society of Plant Signaling and Behavior 4(1): 1-3.
Cook, R. T. A., A. J. Inman and C. Billings. 1997. Identification and classification of powdery mildew anamorphs using light and scanning electron microscopy and host range data. Mycological Research 101(8): 975-1002.
Cook, R. T. A. and U. Braun. 2009. Conidial germination patterns in powdery mildews. Mycological Research 113(5): 616-636.
Datnoff, L. E., A. M. Brunings and F. A. Rodrigues. 2005. Silicon effects components of host resistance: an overview and implications for integrated disease management. pp. 19-24. In: Proceedings of silicon in agriculture conference, 22-26 October 2005. Uberlandia, Brazil.
Kanto, T., A. Miyoshi, T. Ogawa, K. Maekawa and M. Aino. 2006. Suppressive effect of liquid potassium silicate on powdery mildew of strawberry in soil. Journal of General Plant Pathology 72: 137-142.
Liang, Y. C., W. C. Sun, J. Si and V. Romheld. 2005. Effects of foliar and root applied silicon on the enhancement of induced resistance to powdery mildew in Cucumis sativus. Plant Pathology 54: 678-685.
Menzies, J. G., D. L. Ehret, A. D. M. Glass and A. L. Samuels. 1991. The influence of silicon on cytological interactions between Sphaerotheca fuliginea and Cucumis sativa. Physiological and Molecular Plant Pathology 39: 403-414.
Menzies, J. G., P. Bowen and D. L. Ehret. 1992. Foliar application of potassium silicate reduce severity of powdery mildew on cucumber, muskmelon and zucchini squash. Journal of the American Society for Horticultural Science 117(6): 902-995.
Mitre, V., I. Mitre, A. F. Sestras and R. E. Sestras. 2010. New products against apple scab and powdery mildew attack in organic apple production. Notulae Botanicae Horti Agrobotanici Cluj-Napoca 38(3): 234-238.
Maloy, O. C. 1993. Plant Disease Control: Principles and Practice. John Wiley & Sons, Inc. New York. 346 p.
Moyer, C. and N. A. Peres. 2008. Evaluation of biofungicides for control of powdery mildew of gerbera daisy. Proc. Florida State Horticultural Society 121: 389-394.
Rachniyom, H and T. Jaenaksorn, 2008. Effect of soluble silicon and Trichoderma harzianum on the in vitro growth of Pythium aphanidermatum. Journal of Agricultural Technology 4 (2): 57-71.
Saberi, M. and S. R. Panah. 2014. The effect of safe materials in control of cucumber downy mildew under field condition. Indian Journal of Fundamental and Applied Sciences 5: 2231-2257.
Savory, E. A., L. L. Granke, L. M. Quesada-Ocampo, M. Varbanova, M. K. Hausbec and B. Day. 2011. The cucurbit downy mildew pathogen Pseudoperonospora cubensis. Molecular Plant Pathology 12 (3): 217-226.
Shen, G. H., Q. H. Xue, M. Tang, Q. Chen, L. N. Wang, C. M. Duan, L. Xue and J. Zhao. 2010. Inhibitory effects of potassium silicate on five soil-borne phytopathogenic fungi in vitro. Journal of Plant Diseases and Protection 117 (4): 180-184.
Thomas, C. E., T. Inaba and Y. Cohen. 1987. Physiological specialization in Pseudoperonospora cubensis. Phytopathology 77: 1621-1624.
Wolff, S. A., I. Karoliussen, J. Rohloff and R. Strimbeck. 2012. Foliar application of silicon fertilizers inhibit powdery mildew development in greenhouse cucumber. Journal of Food, Agriculture & Environment 10(1): 355-359.