การใช้ซังข้าวโพดหมักทดแทนอาหารผสมสำเร็จรูปในไก่ลูกผสมพื้นเมือง

Main Article Content

มนตรี ปัญญาทอง
วัชระ แลน้อย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษาผลของการใช้ซังข้าวโพดหมักทดแทนอาหารผสมสำเร็จรูปในการเลี้ยงไก่ลูกผสมพื้นเมือง โดยวิธีการนำซังข้าวโพดบดมาหมักกับยีสต์และกากน้ำตาล จากนั้นนำมาเลี้ยงไก่ลูกผสมพื้นเมือง 200 ตัว ในอัตราส่วนทดแทนอาหารผสมสำเร็จรูปในระดับที่ต่างกัน 5 กลุ่ม ได้แก่ 0, 5, 10, 15 และ 20 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เลี้ยงไก่ลูกผสมพื้นเมืองเป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพการผลิตได้แก่ น้ำหนักตัวที่เพิ่ม (weight gain; WG) ปริมาณอาหารที่กิน (feed intake; FI) อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน (average daily gain; ADG) และอัตราการแลกน้ำหนัก (feed conversion ratio; FCR)  ของไก่ลูกผสมพื้นเมืองไม่มีความแตกต่างทางสถิติจากกลุ่มควบคุมที่กินอาหารผสมสำเร็จรูป 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ต้นทุนค่าอาหารของไก่ลูกผสมที่เลี้ยงด้วยซังข้าวโพดหมักที่ 5, 10 และ 15 เปอร์เซ็นต์ ลดลงเท่ากับ 3, 6 และ 10 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ อย่างไรก็ตามเมื่อเพิ่มระดับของซังข้าวโพดหมักเป็น 20% มีผลทำให้ประสิทธิภาพการผลิตลดลงต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองอาหารสัตว์. 2555. การใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเลี้ยงโค กระบือ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.dld.go.th/nutrition/Nutrition_Knowlage/ARTICLE/Pro33.htm (10 กรกฎาคม 2556).
กาญจนา บันสิทธิ์ ธีรพล บันสิทธิ์ อินทร์ ศาลางาม เฉลียว บุญมั่น และ วิชาญ แก้วเลื่อน. 2549. ผลของระดับโปรตีนและพลังงานต่อการใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะในไก่พื้นเมือง. วารสารวิชาการ ม.อบ. 8(3): 1-14.
จินดา สนิทวงศ์ สุวิทย์ จินทฤทธิ์ และ สถิต มั่งมีชัย. 2541. การใช้ซังข้าวโพดหวานเป็นอาหารหยาบสำหรับโคนมในช่วงแล้ง. รายงานผลวิจัยประจำปี 2541. กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน้า 1-11.
ชัยพฤกษ์ หงส์ลัดดาพร สว่าง กุลวงษ์ สุธาสินี ครุฑธกะ เชษฐา จงนอก ณรงค์ หาญเชิงชัย กมลทิพย์ ลิ้มสวัสดิ์ และ ศราวุฒิ ม่วงศรี. 2557. ผลของระดับโปรตีนในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่ชี. แก่นเกษตร 42(1): 345-350.
ถนอม ทาทอง สันติสุข วรวัฒนธรรม และ มนตรี วรกฎ. 2558. สมรรถภาพการเจริญเติบโตและองค์ประกอบซากของไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงด้วยข้าวเปลือกงอก. วารสารเกษตร 31(1): 69-75.
ปิ่น จันจุฬา และ อัจฉรา เพ็งหนู. 2557. การทดแทนกากถั่วเหลืองด้วยกากเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันหมักยีสต์ในอาหารข้นต่อการย่อยได้ และความเข้มข้นของกรดไขมันระเหยได้ในกระเพาะรูเมนของแพะ. วารสารเกษตร 30(2): 181-190.
เพิ่มศักดิ์ ศิริวรรณ, ทะนงศักดิ์ ชาวเขียววงศ์ และ นนธิวัฒน์ คำโล. 2541. ผลของการใช้ซังข้าวโพดหมักต่อสมรรถภาพการผลิตไก่ลูกผสม 3 สายพันธุ์. เอกสารวิชาการ. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 36 หน้า 1-11.
Abdelrahman, M. M. 2013. Effects of feeding dry fat and yeast culture on broiler chicken performance. Turkish Journal of Veterinary and Animal Sciences 37: 31-37.
Adam, L. S., D. B. Crystal, E. Galen, K. Terrey and J. C. Michael. 2011. Digestibility of crop residues after chemical treatment and anaerobic storage. Nebraska Beef Cattle Report 35-36.
Al-maadhidi, J. F., M. Al-khatib, S. R. Farhan and H. Fahim. 2010. Effect of different nitrogen sources supplement on the final crude protein yield from fermented corn cob. The Journal of Madenat Al-elem College 2(1): 26-31.
AOAC. 2006. Chapter 4: Animal feed. In: Official methods of analysis. 18th ed. AOAC International, Arlington, VI, USA.
Denev, S. A., Tz. Peeva, P. Radulava, N. Stanccheva, G. Staykova, G. Beev, P. Todorova and S. Tchobanova. 2007. Yeast culture in ruminant nutrition. Bulgarian Journal of Agriculture Science 13: 357-374.
Iheukwumere, F., E. Ndubuisi and E. Mazi. 2009. Effect of feeding corn cob meal on growth, nutrient digestibility and organ characteristics of finisher broilers. International Journal of Natural and Applies Sciences 5(1): 49941.
Orchetim, S. 1993. The feeding and economic value of maize cob meal for broiler chickens. Asian-Australasian Journal of Animal Science 6(3): 367-371.
Wandifraw, Z. and B. Tamir. 2013. The effect of feeding different levels of brewer’s dried gain yeast mixture on the performance of white leghorn chicks. International Journal of Livestock Production 5(1):10-14.