การรวบยอดยีนต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 3 ชนิด จากข้าวสายพันธุ์ผสมกลับ BC<sub>4</sub>F<sub>3-4</sub> [(ราตูฮีเนติ/ขาวดอกมะลิ 105) X ชัยนาท 1] และ [(อาบาญ่า/ขาวดอกมะลิ 105) X ชัยนาท 1]

Main Article Content

วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ
สมชาย ธนสินชยกุล
เจตน์ คชฤกษ์
คณิตา เกิดสุข

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือเพื่อสร้างลูกผสม F1 ซึ่งเป็นการรวบยีนต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (BPH, Nilaparvata lugens (Stål)) จำนวน 3 ชนิดจากข้าวสายพันธุ์ลูกผสมกลับ BC4F3-4 [(ราตูฮีเนติ/ขาวดอกมะลิ 105) X ชัยนาท 1] และ [(อาบาญ่า/ขาวดอกมะลิ 105) X ชัยนาท 1] และศึกษาปฏิกิริยาของข้าวสายพันธุ์ลูกผสมดังกล่าวกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเก็บรวบรวมจากนาเขตชลประทานของภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย การทดลองดำเนินการในเรือนทดลอง การทดสอบข้าวลูกผสมใช้แผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ 4 ซ้ำ โดยมีพันธุ์ข้าว/สายพันธุ์ข้าวเปรียบเทียบจำนวน 9 พันธุ์/สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์พ่อ A12-26-201-436, สายพันธุ์แม่ R8-24-1-183-84-227, ชัยนาท 1, ราตูฮีเนติ, ขาวดอกมะลิ 105, อาบาญ่า, ราตูฮีเนติxขาวดอกมะลิ 105 และการประเมินผลปฏิกิริยาของข้าวต่อการลงทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลใช้เกณฑ์มาตรฐานตาม Standard Evaluation System for Rice ของ IRRI ผลการทดลองสามารถผลิตลูกผสมที่มีการรวบยีนต้านทานทั้ง 3 ชนิดได้จำนวน 292 เมล็ด และข้าวสายพันธุ์ลูกผสมดังกล่าวแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ต่อการลงทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคเหนือตอนล่าง ได้ในระดับที่ดีกว่าพ่อและแม่ รวมทั้งมีความสามารถในการฟื้นตัวจากความเสียหายที่เกิดจากการลงทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในระยะกล้าได้อย่างรวดเร็ว จนอยู่ในระดับที่ไม่แตกต่างจากพันธุ์ต้านทานมาตรฐานเปรียบเทียบคือ PTB33 ที่ 29 และ 33 วันหลังปล่อยเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลลงทำลาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจตน์ คชฤกษ์ วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ สุรเดช ปาละ-วิสุทธ์ และศิริพร กออินทร์ศักดิ์. 2552ก. การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวปรับปรุง BC4F1 ด้วยยีนต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Qbph6 และ Qbph 12) โดยเทคนิคโมเลกุลเครื่องหมาย. วารสารสิ่งแวดล้อมนเรศวร 2(1): 37-51.
เจตน์ คชฤกษ์ วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ สุรเดช ปาละ-วิสุทธิ์ และศิริพร กออินทร์ศักดิ์. 2552ข. การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวปรับปรุง ราตูฮีเนติ/ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ชัยนาท 1 รุ่น BC4F1 ที่มียีนต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแบบ Bph3 โดยเทคนิคการคัดเลือด้วยดีเอ็นเอเครื่องหมาย. วารสารเกษตร 25(2): 135-143.
ปรีดา เสียงใหญ่ และ พันนิภา ยาใจ. 2552. การวิจัยและพัฒนาการจัดการเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล. หน้า 255-266. ใน: เอกสารประกอบการประชุมข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2552. สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร. วันที่ 9-11 มิถุนายน 2552 ณ โรงแรมซีบรีซ จอมเทียน พัทยา, ชลบุรี.
พุฒิพงษ์ เพ็งฤกษ์ วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ ไสว บูรณ-พานิชพันธุ์ จิราพร กุลสาริน เจตน์ คชฤกษ์ สุรเดช ปาละวิสุทธิ์ และภมร ปัตตาวะตัง. 2554. ความหลากหลายทางชีวชนิดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วารสารเกษตร 27(1): 27-37.
พุฒิพงษ์ เพ็งฤกษ์ วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ ไสว บูรณพานิชพันธุ์ จิราพร กุลสาริน สุรเดช ปาละวิสุทธิ์ และเจตน์ คชฤกษ์ 2555. ปฏิกิริยาของข้าวลูกผสมกลับ BC4F3-4 ระหว่าง อาบาญ่า/ขาวดอกมะลิ105 กับชัยนาท 1 ต่อประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล. วารสารเกษตร 28(2): 113-123.
วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ สุรเดช ปาละวิสุทธ์ ศิริพร กออินทร์ศักดิ์ และ ธานี ศรีวงศ์ชัย. 2550. การคัดเลือกดีเอ็นเอเครื่องหมายแบบ SSR ของยีนต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens (Stål), Delphacidae, Homoptera) ชนิด Qbph6 และ Qbph12 จากข้าวสายพันธุ์ปรับปรุง Abhaya และพันธุ์ชัยนาท 1. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 25(1): 47-55.
วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ สมชาย ธนสินชยกุล สุรเดช ปาละวิสุทธิ์ เจตน์ คชฤกษ์ และ คณิตา เกิดสุข. 2557. ปฏิกิริยาของข้าวสายพันธุ์ลูกผสมกลับ BC4F3-4 ((อาบาญ่า/ขาวดอกมะลิ 105) x ชัยนาท 1) กับแมลงบั่วในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วารสารเกษตร 30(3): 151-159.
วีรยุทธ สร้อยนาค วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ ไสว บูรณพานิชพันธุ์ และสมชาย ธนสินชยกุล. 2556. ประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงบางชนิดต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วารสารเกษตร 29(3): 231-238.
สุวัฒน์ รวยอารีย์. 2544. เรียนรู้การจัดการศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสาน. เอกสารวิชาการ. กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
สำนวน ฉิมพกา และ วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ. 2548. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูข้าวของเกษตรกร อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร. วารสารเกษตรนเรศวร 8(1): 77-94.
Bosque-Perez, N. A. and I. W. Buddenhagen. 1992. The development of host-plant resistance to insect pests: outlook for the tropics. pp. 235-249. In: S. B. J. Menken, J. H. Visser and P. Harrewijin (eds.). Proceedings of 8th International Symposium Insect-Plant Relationships. Kluwer Academic Publishers, Dordrecht.
Heinrichs, E. A. 1979. Control of leafhopper and planthopper vectors of rice viruses. pp. 529-558. In: K. Moramorosch and K.F. Arris (eds.). Leafhopper Vectors and Planthopper Disease Agents. Academic Press, New York.
Heinrichs, E. A. 1986. Prospectives and directions for the continued development of insect-resistant rice varieties. Agriculture, Ecosystems and Environment 18: 9-36.
Heinrich, E. A. and O. Mochida. 1984. From secondary to major pest status: the case of insecticide-induced rice brown planthopper, Nilaparvata lugens, resurgence. Protection and Ecology 7: 201-218.
IRRI. 1988. Standard Evaluation System for Rice. International Rice Research Institute, Los Banos, Philippines. 54 p.
Jairin, J., K. Phengrat, S. teangdeerith, A. Vanavichit and T. Toojinda. 2007. Mapping of a broad-spectrum brown planthopper resistance gene, Bph3, on rice chromosome 6. Molecular Breeding 19: 35-44.
Renganayaki, K., K. F. Allan, S. Sadasivam, S. Pammi, S. E. Harrington, S. R. McCouch, S. M. Kumar and A. S. Reddy. 2002. Mapping and progress toward map-based cloning of brown planthopper biotype-4 resistance gene introgressed from Oryza officinalis into cultivated rice, O sativa. Crop Science 42: 2112-2117.
Rivera, C. T., S. H. Ou and T. T. Lida. 1966. Grassy stunt disease of rice and its transmission by Nilaparvata lugens (Stal). Plant Disease Report 50: 453-456.
Sharma, P. N., A. Toriia, S. Takumi, N. Mori and C. Kakamura. 2004. Marker-assisted pyramiding of brown planthopper (Nilaparvata lugens Stal) resistance genes Bph1 and Bph2 on rice chromosome 12. Hereditas 140: 61-69.
Xu, Y. 2010. Molecular Plant Breeding. CAB International, Wallingford. 717 p.