การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของลำไยด้วยเทคนิคไอดีอาร์เอพีดี

Main Article Content

แสงทอง พงษ์เจริญกิต
จันทร์เพ็ญ สะระ
ธีรนุช เจริญกิจ
ฉันทนา วิชรัตน์

บทคัดย่อ

ลำไย (Dimocarpus longan Lour.) เป็นพืชเศรษฐกิจ ปลูกมากบริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย เนื่องจากมีสายพันธุ์ลำไยเป็นจำนวนมาก จึงมีการศึกษาความความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของลำไยด้วยเทคนิคทางชีว-โมเลกุล ในการศึกษานี้ใช้เทคนิค Intron Derived Random Amplified Polymorphic DNA (ID- RAPD) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของลำไยจำนวน 25 สายพันธุ์ ซึ่งเก็บรวบรวมไว้ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากการเพิ่มจำนวนดีเอ็นเอของไพรเมอร์จำนวน 10 ไพรเมอร์ พบแถบดีเอ็นเอทั้งหมด 50 แถบ โดยเป็นแถบดีเอ็นเอที่แสดงความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์ของลำไย จำนวน 45 แถบ คิดเป็น 90 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อนำลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่ได้ไปวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมด้วยโปรแกรม NTSYSpc พบว่าลำไยมีค่าดัชนีความเหมือนระหว่าง 0.46 ถึง 0.98 และที่ค่าดัชนีความเหมือน 0.74 พบว่าสามารถแบ่งลำไยจำนวน 25 สายพันธุ์ ออกเป็น 3 กลุ่ม โดยจัดกลุ่มลำไยสายพันธุ์ดอแยกจากลำไยสายพันธุ์อื่นได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทร์เพ็ญ สะระ ฉันทนา วิชรัตน์ ธีรนุช เจริญกิจ และ แสงทอง พงษ์เจริญกิต. 2556. การพัฒนาเครื่องหมาย SCAR เพื่อใช้ในการจำแนกลำไยลูกผสมระหว่างพันธุ์ดอ 27 กับสีชมพู. Thai Journal of Genetics 2013, S(1): 244-247.
สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล. 2552. เครื่องหมายดีเอ็นเอ: จากพื้นฐานสู่การประยุกต์, สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ, 269 หน้า.
Anuntalabhochai, S., R. Chandet, J. Chiangda and P. Apavatjrut. 2000. Genetic diversity within Lychee (Litchi chinensis Sonn.) based on RAPD analysis. Acta Horticulturae 575: 253-259.
Cutler, R. W., S. Sitthiphrom, J. Marha and S. Anuntalabhochai. 2007. Development of sequence-characterized DNA markers linked to temperature insensitivity for fruit production in Longan (Dimocarpus longan Lour.) cultivars. Journal of Agronomy and Crop Science 193(1): 74-78.
Hwang, S. K. And Y. M. Kim. 2000. A simple and reliable method for preparation of cross-contamination free plant genome DNA for PCR-based detection of transgenes. Journal of biochemistry and molecular biology 33: 537-546.
Pan, D. M., F. L. Zhong, Z. X. Guo, T. F. Pan, K. T. Li and J. B. Wang. 2008. Research on Germplasm Resources and Breeding of Longan (Dimocarpus longan Lour.) in the Past Decade in China. Acta Horticulturae 863: 79-86.
Rohlf, F. J. 2002. NTSYSpc Numerical Taxonomy and Multivariate Analysis System. Applied Biostatistics, Inc., New York. 38 p.
Sitthiphrom, S., S. Anuntalabhochai, N. Dum-Ampai, B. Thakumphu and M. Dasanonda. 2003. Investigation of genetic relationships and hybrid detection in Longan by high annealing temperature RAPD. Acta Horticulturae 665: 161-170.
Wangspa, R., R. W. Cutler, S. Sitthiprom, R. Chundet, N. Dumampai and S. Anuntalabhochai. 2005. DNA fingerprint database of some economically important Thai plants: Litchi chinensis Sonn, Dimocarpus longan Lour, and Peuraria spp. ScienceAsia 31:145-149.
Xiong, F., J. Jiang, Z. Han, R. Zhong, L. He, W. Zhuang and R. Tang. 2011. Molecular characterization of high plant species using PCR with primers designed from consensus branch point signal sequences. Biochemical genetics 49(5-6): 352-363.
Xiong, F., J. Liu, J. Jiang, R. Zhong, L. He, Z. Han, Z. Li, X. Tang and R. Tang. 2013. Molecular profiling of genetic variability in domesticated groundnut (Arachis hypogaea L.) based on ISJ, URP, and DAMD markers. Biochemical genetics 51(11-12): 889-900.
Yonemoto, Y., A. K. Chowdhury, H. Kato, M. M. Macha. 2006. Cultivars identification and their genetic relationships in Dimocarpus longan subspecies based on RAPD markers. Scientia Horticulturae 109:147–152.