ชีววิทยาของเพลี้ยหอยสีเขียว (<I>Coccus viridis</I> Green) และการควบคุมด้วยสารฆ่าแมลงและเชื้อราสาเหตุโรคแมลงในแปลงปลูกกาแฟ

Main Article Content

ชุลีรัตน์ รังสรรค์
ปิยะวรรณ สุทธิประพันธ์
เยาวลักษณ์ จันทร์บาง

บทคัดย่อ

การศึกษาชีววิทยาของเพลี้ยหอยสีเขียว Coccus viridis Green และประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงและเชื้อราสาเหตุโรคแมลง พบว่าต้นกล้ากาแฟอราบิกา Coffea arabica L. ใช้เลี้ยงเพิ่มปริมาณเพลี้ยหอยสีเขียวได้ดีกว่า ต้นพุดซ้อน Gardenia augusta (L.) Merr. ภายใต้โรงเรือนป้องกันฝน (28.9 ±1.84 ºC และ 62.5 ±9.82% RH) เพลี้ยหอยสีเขียวระยะไข่ ตัวอ่อนวัยที่ 1-3 และตัวเต็มวัยมีขนาดความกว้าง 0.16 ±0, 0.22 ±0.02, 0.56 ±0.15, 0.98 ±0.05 และ 1.69 ±0.02 มิลลิเมตร ยาว 0.26 ±0.01, 0.43 ±0.03, 1.13 ±0.31, 2.02 ±0.10 และ 2.92 ±0.01 มิลลิเมตร ตามลำดับ  การทดสอบสารฆ่าแมลงและเชื้อราสาเหตุโรคแมลงในการควบคุมเพลี้ยหอยภายใต้สภาพโรงเรือน พบว่ากรรมวิธีที่ทดสอบด้วยสาร 4 ชนิด คือ white oil, สารสกัดสะเดา, buprofezin และ Beauveria bassiana ทำให้จำนวนเพลี้ยหอยสีเขียวลดลงได้ โดยไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ขณะที่การทดสอบในแปลง พบว่า buprofezin 0.025% a.i. มีประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตของเพลี้ยหอยสีเขียวลดลงจาก 83.33 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 17.50 เปอร์เซ็นต์หลังจากฉีดพ่น 16 วัน  ในการทดสอบน้ำคั้นมะละกอใช้ในการควบคุมแมลง พบว่าอัตราส่วนน้ำคั้นมะละกอ : น้ำ 1:1 ถึง 1:5 ลดปริมาณแมลงจาก 51.62 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 5.60 ถึง 11.16 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับชุดควบคุม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. 2551. กาแฟ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://it.doa.go.th/vichakan/news (6 มีนาคม 2557).
กรมวิชาการเกษตร. 2553. คำแนะนำการป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์ศัตรูพืช ปี 2553. เอกสารวิชาการเกษตร. สมาคมกีฏและสัตววิทยาแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ. 303 หน้า.
จริยา วิสิทธิ์พานิช. 2540. แมลงศัตรูกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูงของประเทศไทยและแนวทางในการป้องกันกำจัด. เอกสารคำแนะนำ. หจก. สมศักดิ์การพิมพ์, เชียงใหม่. 42 หน้า.
เผ่าไท ถายะพิงค์ และ ปิยะวรรณ สุทธิประพันธ์. 2558. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการศึกษาความหลากชนิดและการแพร่กระจายของแมลงศัตรูกาแฟอราบิกาในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย. วารสารเกษตร 31(2): 203-213.
วิบูลย์ ไชยมงคล. 2544. ชีววิทยาของเพลี้ยหอยลำไย Drepanococcus chiton (Green) และการป้องกันกำจัด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 63 หน้า.
Barrera, J. F. 2008. Coffee pests and their management. pp. 961-998. In: J. L. Capinera (ed.). Encyclopedia of Entomology. Springer, Dordrecht.
Hara, A. H., J. A. Yalemar, E. B. Jang and J. H. Moy. 2002. Irradiation as a possible quarantine treatment for Green scale Coccus viridis (Green) (Homoptera: Coccidae). Postharvest Biology and Technology. 25: 349-358.
Kawate, M., C. Tarutani and H.C. Bittenbender. 2010. Pest Management Strategic Plan for Coffee Production in Hawaii. State of Hawaii Department of Agriculture, Hawaii. 77 p.
Mau, R. F. L., and J. L. M. Kessing, 2007. Coccus viridis (Green). (Online). Available: http://www.extento.hawaii.edu/kbase/crop/Type/c_viridi.htm (March 7, 2007).
Nais, J., and A. C. Busoli, 2012. Morphological, behavioral and biological aspects of Azya luteipes Mulsant fed on Coccus viridis Green. Scientia Agricola. 69(1): 81-83.
Poole, M. 2005. Green coffee scale Coccus viridis (Green) (Hemiptera: Coccidae). Department of Agriculture Farmnote, Government of Western Australia.
Nafus, D. 2000. Green scale (Coccus viridis De Lotto). Agricultural Development in the American Pacifis, Honolulu.
Rutherford, A. M. and N. Phiri, 2006. Pests and Diseases of Coffee in Eastern Africa: A Technical and Advisory Manual. CAB International, Wallingford. 69 p.
Tamil Nadu Agricultural University. 2013. Crop protection (Coffee). (Online). Available: http://agritech.tnau.ac.in/crop_protection/crop_prot_crop_insectpest%20Coffee.html#4c (November 25, 2013).
Waterhouse, D. F., and D. P. A. Sands, 2001. Classical Biological Control of Arthropods in Australia. 77th ed. ACIAR Monograph, Canberra, Australia. 560 p.