ความสามารถในการผสมข้ามสกุลย่อยของ กล้วยไม้รองเท้านารีบางชนิด

Main Article Content

วิชรุจญ์ ทองคำ
ฉันทลักษณ์ ติยายน
ณัฐา โพธาภรณ์

บทคัดย่อ

การศึกษาความเข้ากันได้ในการผสมข้ามสกุลย่อยของกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีจำนวน 6 สกุลย่อย ได้แก่ Brachypetalum, Cochlopetalum, Paphiopedilum, Parvisepalum, Polyantha และ Sigmatopetalum ประกอบด้วยกล้วยไม้สกุลรองเท้านารี 18 ชนิด ที่ใช้เป็นตัวแทนในแต่ละสกุลย่อย โดยผสมแบบพบกันหมดและสลับพ่อ-แม่ พบว่ากล้วยไม้รองเท้านารีในสกุลย่อย Brachypetalum สามารถผสมข้ามกับสกุลย่อย Cochlopetalum, Paphiopedilum, Parvisepalum, Polyantha และ Sigmatopetalum ได้โดยมีการผสมติด 100, 100, 60, 100 และ 100 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ  สกุลย่อย Paphiopedilum สามารถผสมข้ามกับสกุลย่อย Brachypetalum, Cochlopetalum และ Sigmatopetalum ได้ โดยมีการผสมติด 60, 100 และ 100 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ  สกุลย่อย Parvisepalum สามารถผสมข้ามกับสกุลย่อย Brachypetalum, Paphiopedilum, Polyantha และ Sigmatopetalum ได้ โดยมีการผสมติด 60, 60, 100 และ 60 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สกุลย่อย Polyantha สามารถผสมข้ามกับสกุลย่อย Brachypetalum, Cochlopetalum, Paphiopedilum, Parvisepalum และ Sigmatopetalum ได้ โดยมีการผสมติด 60, 100, 40,100 และ 100 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ  สกุลย่อย Sigmatopetalum สามารถผสมข้ามกับสกุลย่อย Brachypetalum, Cochlopetalum, Paphiopedilum, Parvisepalum และ Polyantha ได้ โดยมีการผสมติด 100, 100, 40, 80 และ 100 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ  สกุลย่อย Paphiopedilum ไม่สามารถผสมข้ามกับสกุลย่อย Parvisepalum และ Polyantha ได้ และสกุลย่อย Parvisepalum ไม่สามารถผสมข้ามกับสกุลย่อย Cochlopetalum ได้  การศึกษาความสมบูรณ์ของเมล็ดกล้วยไม้รองเท้านารีที่ติดฝัก พบว่าจากคู่ผสมทั้งหมด ลักษณะเมล็ดที่พบส่วนใหญ่เป็นเมล็ดสมบูรณ์มากกว่าเมล็ดลีบ ยกเว้นคู่ผสมระหว่าง P. charlesworthii x P. bellatulum, P. jackii x P. villosum, P. callosum x P. primulinum, P. callosum x P. jackii, P. bellatulum x P. primulinum, P. villosum x P. primulinum และ P. philippinense x P. jackii ที่พบลักษณะเมล็ดลีบมากกว่าเมล็ดสมบูรณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ครรชิต ธรรมศิริ. 2547. เทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง, กรุงเทพฯ. 283 หน้า.
ชิดชนก ก่อเจดีย์. 2555. ความสามารถในการผสมข้ามชนิดและสกุลของกล้วยไม้ดินสกุลฮาเบนาเรียและสกุลเพคเทลีสบางชนิด. วารสารเกษตร 28(3): 263-272.
ณัฐา ควรประเสริฐ. 2548. เอกสารประกอบการสอนวิชา 359405 กล้วยไม้วิทยา 1. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 215 หน้า.
สลิล สิทธิสัจจธรรม. 2552. กล้วยไม้ป่าเมืองไทย Wild Orchid of Thailand (พิมพ์ครั้งที่ 6). อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิซซิ่ง, กรุงเทพฯ. 495 หน้า.
อดิศร กระแสชัย. 2547. บทที่ 8 การปรับปรุงพันธุ์พืช. หน้า. 112-127. ใน: วีณัน บัณฑิตย์. เอกสารประกอบการสอนหลักการพืชสวน. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
อรอนงค์ วงศ์น่าน. 2553. ความสามารถในการผสมข้ามหมู่ของกล้วยไม้สกุลซิมบิเดียมบางชนิด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 85 หน้า.
อุไร จิรมงคลการ. 2550. กล้วยไม้รองเท้านารี. อัมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง, กรุงเทพฯ. 224 หน้า.
Cribb, P. J. 1998. The Genus Paphiopedilum. Second Edition. Natural History Publication (Borneo) Sdn. Bhd., Sabah. 427 p.
Dobzhansky, T. 1953. Genetic and the origin of species. American Orchid Society Bulletin 60: 45-57.
Oakeley, H. and G. Braem. 2011. Paphiopedilum Species The Essential Guide. Henry Oakeley Publishing, London. 86 p.