ผลของ NAA IBA และชนิดของกิ่งต่อการออกราก ของกิ่งปักชำสบู่ดำ

Main Article Content

ปิยะณัฎฐ์ ผกามาศ
อนงค์ภัทร เหมลา

บทคัดย่อ

จากการทดลองใช้ชนิดของกิ่งร่วมกับการใช้ NAA และ IBA ในการปักชำกิ่งสบู่ดำต่อการออกราก วางแผนการทดลองแบบ 3×4  Factorial in CRD โดยการทดลองที่ 1 ตัดแบ่งกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนของสบู่ดำออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนปลายกิ่ง กลางกิ่ง และโคนกิ่ง ร่วมกับการใช้ NAA ที่ระดับความเข้มข้น 0  1,000  5,000 และ 10,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนการทดลองที่ 2 ใช้กิ่งเช่นเดียวกับการทดลองที่ 1 ร่วมกับการใช้ IBA ที่ระดับความเข้มข้น 0 1,000  2,000 และ 3,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ปักชำในกระบะพ่นหมอก เป็นเวลา 30 วัน พบว่า ส่วนโคนกิ่งร่วมกับ NAA ความเข้มข้น 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้จำนวนรากและน้ำหนักสดรากมากที่สุด 36.42 ราก และ 3.06 กรัม ตามลำดับ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับทรีตเมนต์อื่น ๆ ส่วนการใช้ส่วนโคนกิ่งร่วมกับ IBA  ความเข้มข้น 2,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้จำนวนรากเฉลี่ยและน้ำหนักสดรากเฉลี่ยมากที่สุดที่ 26.00 ราก และ 1.84 กรัม ตามลำดับ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับทรีตเมนต์อื่น ๆ ส่วนการไม่ใช้สารกับส่วนโคนกิ่งให้ค่าความยาวรากมากกว่าส่วนปลายกิ่งและส่วนกลางกิ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2548. สบู่ดำ พืชพลังงานทดแทน. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ. 37 หน้า.

กิ่งกานต์ หฤทัยวิจิตรโชค. 2535. อิทธิพลของ IBA, NAA ต่อการเกิดรากของกิ่งปักชำเจตมูลเพลิงขาว. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม. 12 หน้า.

จันทนา กาญจนคาม. 2523. ผลการใช้ IBA และ NAA ร่วมในการออกรากของกิ่งตัดชำ Song of India ในถุงพลาสติกเก็บความชื้น. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 19 หน้า.

ธีรพงศ์ ชมใจ. 2538. ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโต ชนิดของกิ่ง และเวลาในการตัดชำต่อการเกิดรากของกิ่งตัดชำจำปี. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 20 หน้า.

นันทิยา สมานนท์. 2526. การขยายพันธุ์พืช. บริษัทโอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาท์, กรุงเทพฯ. 447 หน้า.

บัณฑวรรณ ฐิติธนาวนิช. 2527. ผลของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและความยาวของกิ่งปักชำต่อการเกิดรากของต้นสบู่ดำ. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม. 20 หน้า.

พีรเดช ทองอำไพ. 2529. ฮอร์โมนพืชและสารสังเคราะห์ แนวทางการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. วิชัยการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 196 หน้า.

ภูวนาถ นนทรีย์. 2532. การใช้ฮอร์โมนกับไม้ผลบางชนิด. โครงการหนังสือเกษตรชุมชน, กรุงเทพฯ. 72 หน้า.

ระพีพันธ์ ภาสบุตร และ สุขสันต์ สิทธิผลไพบูลย์. 2525. ผลการวิจัยค้นคว้าการใช้น้ำมันสบู่ดำเป็นพลังงานทดแทนในเครื่องยนต์ดีเซล, หน้า. 11-14. ใน: การใช้น้ำมันสบู่ดำเดินเครื่องยนต์ดีเซล. กองเกษตรเคมี และกองวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

วรวรรณ แผนรุ่งรัตน์. 2527. ผลของ IBA และ NAA ต่อการออกรากของกิ่งอ่อนส้มเขียวหวาน. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม. 15 หน้า.

วีรวรรณ ภมร และ พรรณธิภา ณ เชียงใหม่. 2552. ผลของอาหารและชิ้นส่วนพืชในการชักนำให้เกิดแคลลัสของสบู่ดำ. วารสารเกษตร 25(2): 125-133.

สนั่น ขำเลิศ. 2522. หลักและวิธีการขยายพันธุ์พืช. นำอักษรการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 217 หน้า.

สมบัติ ชิณะวงศ์. 2549. สบู่ดำ การปลูกและการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลพลอยได้. สำนักส่งเสริมและฝึกอบรมกำแพงแสน, นครปฐม. 45 หน้า.

โสภณ บุญธรรม ธีรยุทธ ตู้จินดา ณัฐา โพธาภรณ์ และประสาทพร สิมตะมาน. 2558. การชักนำให้เกิดต้นแฮพลอยด์ โดยการเพาะเลี้ยงรังไข่ของข้าวสายพันธุ์ลูกผสมกลับ Rathu Heenati/KDML 105//Chai Nat 1. วารสารเกษตร 31(2): 145-153.

อนุวัฒน์ กำแพงแก้ว. 2551. ผลของการตัดแต่งกิ่งต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตสบู่ดำ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม. 122 หน้า.

อัคคราพร แพ่งคล้าย. 2529. ผลการใช้ IBA, NAA และเซราดิกซ์ต่อการออกรากของมะลิซ้อน. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 12 หน้า.

Adriance, G. W. and F. R. Brison. 1955. Propagation of Horticultural Plants. 2nd ed., McGraw Hill Book Company Inc., New York. 298 p.

Hartmann, H. T., D. E. Kester, F. T. Davies and R. L. Geneve. 1997. Plants Propagation: Principles and Practices. 6th ed., Prentice Hall Inc., New Jersey. 770 p.

Jeruto, P., C. Lukhoba and C. Mutai. 2008. Propagation of some endangered indigenous trees from the South Nandi district of Kenya using cheap, non-mist technology. ARPN Journal of Agricultural and Biological Science 3(3): 1-6.

Sircar, S. M. 1971. Plant Hormone Research in India. Indian Council of Agricultural Research, New Delhi. 264 p.