แนวโน้มการทนเค็มของข้าวพันธุ์ซิวเกลี้ยงและพญาลืมแกงที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

Main Article Content

รัตนา ขามฤทธิ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้คือ ศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการชักนำให้เกิดแคลลัสและต้นอ่อนของข้าวพันธุ์ซิวเกลี้ยง และข้าวพันธุ์พญาลืมแกง และตรวจสอบการทนเค็มของข้าวทั้งสองสายพันธุ์ในสภาพหลอดทดลอง เมื่อนำเมล็ดข้าวที่ผ่านการฟอกฆ่าเชื้อเพาะเลี้ยงบนสูตรอาหาร Murashige and Skoog (MS) ที่เติม 2,4-D และ NAA ที่ความเข้มข้นระดับต่าง ๆ พบว่า สูตรอาหารที่เหมาะสมในการชักนำเมล็ดข้าวให้เกิดแคลลัสในข้าวพันธุ์ซิวเกลี้ยง คือ สูตรอาหาร MS ดัดแปลงที่เติม 2,4-D 1 มิลลิกรัมต่อลิตร แคลลัสมีน้ำหนักสดเฉลี่ยสูงสุด 111.00 มิลลิกรัม ส่วนข้าวพันธุ์พญาลืมแกง คือ สูตรอาหาร MS ดัดแปลงที่เติม 2,4-D 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ NAA 1 มิลลิกรัมต่อลิตร แคลลัสมีน้ำหนักสดเฉลี่ยสูงสุด 148.00 มิลลิกรัม เมื่อย้ายแคลลัสไปเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร  MS ที่เติม BA, NAA และน้ำมะพร้าว ที่ความเข้มข้นระดับต่าง ๆ พบว่า สูตรอาหารที่เหมาะสมในการชักนำให้แคลลัสข้าวพันธุ์ซิวเกลี้ยงเกิดต้น คือ อาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร NAA 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร และน้ำมะพร้าว 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีจำนวนต้นเฉลี่ยต่อแคลลัส 6.0 ต้น ส่วนสูตรอาหารที่เหมาะสมในการชักนำให้ข้าวพันธุ์พญาลืมแกง เกิดต้นได้ดี คือ อาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร NAA 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร และน้ำมะพร้าว 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีจำนวนต้นเฉลี่ยต่อแคลลัส 4.8 ต้น เมื่อนำต้นอ่อนข้าวสองสายพันธุ์มาเพาะเลี้ยงบนอาหารที่เติม NaCl ความเข้มข้น 0, 0.5, 1, 1.5 และ 2 เปอร์เซ็นต์ พบว่า ต้นอ่อนข้าวพันธุ์ซิวเกลี้ยงและพันธุ์พญาลืมแกง มีอัตราการรอดชีวิตที่ลดลงเมื่อความเข้มข้น NaCl เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบอัตราการรอดชีวิตของต้นอ่อนข้าวพันธุ์ซิวเกลี้ยง และพญาลืมแกง พบว่าความเข้มข้นสูงสุดของ NaCl ที่ต้นข้าวพันธุ์ซิวเกลี้ยง และพญาลืมแกงทนได้คือ 1 และ 1.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ  ดังนั้นต้นข้าวพันธุ์พญาลืมแกง จึงทนต่อความเค็มได้ดีกว่าต้นข้าวพันธุ์ซิวเกลี้ยง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศสุคนธ์ มณีวรรณ. 2548. การส่งถ่ายยีนไคทิเนสสู่ข้าว (Oryza sativa L.). วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 148 หน้า.
จุฑาทิพย์ ทนันไชย สงวนศักดิ์ ธนาพรพูนพงษ์ และ สุชาดา เวียรศิลป์. 2556. ผลของ 2,4-D และ ไคเนตินต่อการเกิดเอ็มบริโอเจนิกแคลลัสในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105. วารสารเกษตร 29(2): 177-185.
ประดิษฐ์ พงศ์ทองคำ เผดิม ระติสุนทร เสาวนีย์ สุพุทธิธาดา สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล เลิศลักษณ์ เงินศิริ และ เบญจมาศ ศิลาย้อย. 2537. การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในข้าวโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ตอนที่ 1. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ 28(3): 381-389.
ประดิษฐ์ พงศ์ทองคำ เผดิม ระติสุนทร เสาวนีย์ สุพุทธิ-ธาดา สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล เลิศลักษณ์ เงินศิริ และ เบญจมาศ ศิลาย้อย. 2538. การเพาะเลี้ยงอับเรณูของข้าวลูกผสม (ข้าวดอกมะลิ 105/ สไคบอนเนท). วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ 29(2): 158-166.
เผดิม ระติสุนทร ประดิษฐ์ พงศ์ทองคำ เสาวนีย์ พุทธิธาดา และ สุพรรณี แก่นสาร. 2532. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อข้าวพันธุ์บาสมาติก 370. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ 23(3): 205-210.
ทะนง พรประดับเกียรติ และ ไพบูลย์ กวินเลิศวัฒนา. 2527. การเกิดและการเจริญเติบโตของแคลลัสของข้าวโพดหวานพันธุ์ Supper Sweet โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ 16(2):1-13.
สมศรี อรุณินท์. 2534. การปรับปรุงดินเค็มและดินโซดิก. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.ldd.go.th/Lddwebsite/web_ord/Technical/pdf/P_Technical03001_4.pdf (8 พฤศจิกายน 2556).
สมศรี อรุณินท์. 2539. ดินเค็มในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สมเดช อิ่มมาก. 2532. การศึกษาวิธีการคัดเลือกพันธุ์ข้าวต้านทานแล้งในระยะกล้าด้วยสารละลาย PEG 6000 ควบคุมความเครียดของน้ำในดิน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชไร่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 98 หน้า.
สุฑารัตน์ คนขยัน. 2553. การส่งถ่ายยีนไคทิเนสสู่ข้าวเหนียว (Oryza sativa L.) พันธุ์ กข10. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาชีววิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 103 หน้า.
สุริยันตร์ ฉะอุ่ม ศรีสม สุรวัฒนานนท์ กมลพรรณ นามวงศ์พรหม และ เฉลิมชัย วงศ์วัฒนะ. 2540. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อข้าวพันธุ์นางมลเอส 4. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ 31(2): 116-124.
Bhaskaran, S. and R. H. Smith. 1990. Regeneration in cereal tissue: culture: a review. Crop Science 30: 1328-1336.
Tam, D. M. and N. T. Lang. 2003. In vitro selection for salt tolerance in rice. Omonrice 11: 68-73.
Thach, T. N. and R. C. Pant. 1999. In vitro study on salt tolerance in rice. Omonrice 7: 80-88.
Yin, Y., S. Li, Y. Chen, H. Guo, W. Tian, Y. Chen and L. Li. 1993. Fertile plants regenerated from suspension culture-derived protoplasts of an indica type rice (Oryza sativa L.). Plant Cell Tissue and Organ Culture 32: 61-68.
Zhao, J., C. Zhao and H. Y. Yang, 1999. In vitro development of early proembryos and plant regeneration via microculture in Oryza sativa. Plant Cell Tissue and Organ Culture 55: 167-174.