ผลของน้ำส้มควันไม้และปุ๋ยคอกต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของข้าวหอมมะลิ

Main Article Content

วนิดา วัฒนพายัพกุล

บทคัดย่อ

ศึกษาการใช้น้ำส้มควันไม้และปุ๋ยคอกต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 2 พันธุ์ ได้แก่ ขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 ทำการปลูกในเรือนทดลอง โดยทำการทดลอง 6 กรรมวิธี คือ 1. ไม่ใช้น้ำส้มควันไม้และปุ๋ยคอก (ควบคุม)  2. น้ำส้มควันไม้เจือจาง (300 เท่า) 3. มูลไก่ 300 กก. ไร่-1 4. มูลโค 1,000 กก. ไร่-1 5. น้ำส้มควันไม้เจือจาง และมูลไก่ 300 กก. ไร่-1 และ 6. น้ำส้มควันไม้เจือจาง และมูลโค 1,000 กก. ไร่-1 วางแผนการทดลองแบบ 2x6 Factorial in randomized complete block design มี 4 ซ้ำ โดยศึกษาอิทธิพลของ 2 ปัจจัย ดังนี้ ปัจจัยที่ 1 เป็นพันธุ์ข้าว และปัจจัยที่ 2 เป็นการจัดการปุ๋ยและน้ำส้มควันไม้ การพ่นน้ำส้มควันไม้เจือจาง และมูลโค 1,000 กก. ไร่-1 ทำให้ข้าว กข15 และขาวดอกมะลิ 105 มีความสูง จำนวนหน่อต่อกอ และน้ำหนักเมล็ดดีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การพ่นน้ำส้มควันไม้เจือจาง และมูลไก่ 300 กก. ไร่-1 ทำให้ข้าว กข15 และขาวดอกมะลิ 105 มีผลผลิตมากถึง  224.5 ก. กระถาง-1 ซึ่งสูงกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การพ่นน้ำส้มควันไม้และปุ๋ยคอกไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อความงอก และความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บริบูรณ์ สมฤทธิ. 2542. ทศวรรษหน้า: ข้าวไทยในอีสาน. หน้า 1-16. ใน: เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมใจภักดิ์รักษ์ข้าวไทย. ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานีและศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร. วันที่ 11-12 สิงหาคม 2542. ณ โรงแรมลายทอง, อุบลราชธานี.
ทรายแก้ว อนากาศ ชุติมา จันทร์เจริญ พัฒนพงษ์ เกิด-หลํา พิลาสลักษณ์ ลุ่นลิ่ว และ สาธิต กาละ-พวก. 2556. ผลของปุ๋ยมูลไก่และปุ๋ยเคมีต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินผลผลิต และคุณภาพของอ้อยในกลุ่มชุดดินที่ 36 จ.เพชรบูรณ์. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://r08.ldd.go.th/ข้อมูลทำเว็บไซต์/กลุ่มวิชาการ/ผลงานวิจัย/สพข.8/กลุ่มวิชาการ/ทรายแก้ว/ทรายแก้ว%20วจ.3%20อ้อย.pdf (18 พฤศจิกายน 2557)
มุกดา สุขสวัสดิ์. 2545. ปุ๋ยอินทรีย์. อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน), กรุงเทพฯ. 216 หน้า.
วีณา นิลวงศ์ และ ไพบูลย์ วิวัฒน์วงศ์วนา. 2545. อิทธิผลของวิธีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนต่อผลผลิตข้าวและการเปลี่ยนแปลงแอมโมเนียมและไนเตรตในดิน. วารสารเกษตร 18(3): 219-228.
วิลาสินี แสงนาค และ สรัญยา ณ ลำปาง. 2553. ประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้จากต้นยูคาลิปตัสและสะเดาในการควบคุมเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides. วารสารเกษตร 26(3): 213-222.
ศิริวรรณ ทิพรักษ์. 2551. ผลของน้ำส้มควันไม้และปุ๋ยคอกต่อการเจริญเติบโตผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 74 หน้า.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2557. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2557. สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 175 หน้า.
อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์. 2557. การจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนของข้าวที่ปลูกในชุดดินสรรพยา. วารสารเกษตร 30(2): 133-140.
Flematti, G. R., E. L. Ghisalberti, K. W. Dixon and R. D. Trengove. 2004. A compound from smoke that promotes seed germination. Science 305: 977.
Jothiyangkoon, D., C. Ruamtakhu, S. Tipparak, S. Wanapat and A. Polthanee. 2007. Wood vinegar enhances seed germination and seedling development of rice. Pp. 35-40. In Proceedings of the 2nd International Conference on Rice for the Future. 5-9 November 2007. Queen Sirikit National Convention Center, Bangkok, Thailand.
Kaewpradit, W., B. Toomsan, G. Cadisch. P. Vityakon, V. Limpinuntana, P. Saenjan, S. Jogloy and A. Patanothai. 2009. Mixing groundnut residues and rice straw to improve rice yield and N use efficiency. Field Crops Research 110(2): 130-138.
McDonagh, J. F., B. Toomsan, V. Limpinuntana and K.E. Giller. 1993. Estimates of the residual nitrogen benefit of groundnut to maize in Northeast Thailand. Plant and Soil 154(2): 267-277.
Mungkunkamchao, T., T. Kesmala, S. Pimratch, B.Toomsan and D. Jothityangkoon. 2013. Wood vinegar and fermented bioextracts: Natural products to enhance growth and yield of tomato (Solanum lycopersicum L.). Scientia Horticulturae 154: 66-72.