การคัดเลือกเชื้อรา <I> Metarhizium anisopliae </I> (Metschnikoff) Sorokin ที่มีศักยภาพในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว

Main Article Content

อารยา บุญศักดิ์
วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ
ไสว บูรณพานิชพันธุ์
จิราพร กุลสาริน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือ ค้นหาเชื้อรา Metarhizium anisopliae (Metschnikoff) Sorokin ที่ก่อโรคกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล คัดเลือกเชื้อที่มีศักยภาพในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และทดสอบความเฉพาะเจาะจงของเชื้อกับแมลงต่าง ๆ ในนาข้าว ซากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ถูกเชื้อราเขียวลงทำลายได้ถูกค้นพบจากพื้นที่นาจังหวัดพิจิตร ทำการแยกเชื้อราเขียวให้บริสุทธิ์ สุ่มเลือกโคโลนีเชื้อราเขียวจำนวน 50 ไอโซเลต ใส่รหัสเรียงจาก MRT-PCH-01-01 ถึง MRT-PCH-01-50 และพ่นสปอร์แขวนลอยของเชื้อแต่ละไอโซเลตที่ระดับความเข้มข้น 108 โคนิเดีย/มิลลิลิตร ลงบนต้นข้าวไทชุงเนทีฟ 1 (TN1) ปล่อยตัวอ่อนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลวัยที่ 3 จำนวน 30 ตัวต่อหน่วยทดลอง ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ทำ 4 ซ้ำ พบเชื้อรา M. anisopliae จำนวน 4 ไอโซเลต คือ MRT-PCH-01-03, MRT-PCH-01-08, MRT-PCH-01-38 และMRT-PCH-01-48 สามารถทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตายทั้งหมดได้ภายใน 6 วันหลังจากสัมผัสเชื้อรา โดยระยะเวลาที่ทำให้เพลี้ยตาย 50 เปอร์เซ็นต์ (LT50) คือ 3.38, 3.24, 3.31 และ 3.12 วัน ตามลำดับ จากนั้นทำการ ทดสอบความเฉพาะเจาะจงของเชื้อราทั้ง 4 ไอโซเลต กับแมลงในนาข้าว พบว่า เชื้อราทั้ง 4 ไอโซเลต สามารถลงทำลาย เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก เพลี้ยจักจั่นสีเขียว และตั๊กแตนข้าว และไม่พบการลงทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติ และแมลงศัตรูข้าวอื่น ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริยา จันทร์ไพแสง ทิพย์วดี อรรถธรรม และวาลุลี โรจนวงค์. 2529. การสำรวจโรคเชื้อราของเพลี้ยจักจั่นบางชนิดที่เป็นศัตรูสำคัญทางเศรษฐกิจ. คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
เพชรหทัย ปฏิรูปานุสร. 2547. บทบาทของเชื้อราทำลายแมลงในการควบคุมแมลงศัตรูพืช. ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 2, กรมวิชาการเกษตร, พิษณุโลก.
เพชรหทัย ปฏิรูปานุสร ธวัช ปฏิรูปานุสร และภมร ปัตตา-วะตัง. 2546. ประสิทธิภาพของเชื้อรา Metarhizium anisopliae และ Beauveria bassiana ต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียวและแมลงสิง. ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 2, กรมวิชาการเกษตร, พิษณุโลก.
เพชรหทัย ปฏิรูปานุสร และ อัจฉราพร ณ ลำปาง เนินพลับ. 2550. ประสิทธิภาพของเชื้อราทำลายแมลงต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยจักจั่นสีเขียว. รายงานการประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2550. สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว, กรมการข้าว. กรุงเทพฯ.
ภัทรดนัย ชัยสวัสดิ์ จิราพร กุลสาริน ไสว บูรณพานิช-พันธุ์ และ สิริญา คัมภิโร. 2557. ประสิทธิภาพของเชื้อรา Nomuraea และ Metarhizium สาเหตุโรคแมลง ในการควบคุมหนอนกระทู้ผักของดอกดาวเรือง. วารสารเกษตร 30(1): 11-19.
สำนวน ฉิมพกา และวีรเทพ พงษ์ประเสริฐ. 2548. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูข้าวของเกษตรกร อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร. วารสารเกษตรนเรศวร 8(1): 77-94.
อรุณี จันทรสนิท และนฤมล ศุภวนานุสรณ์. 2537. การใช้เชื้อราในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลศัตรูข้าว. หน้า 95-106. ใน: รายงานผลงานวิชาการประจำปี 2537. ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
Aguda, R, M., M. C. Rombach and B. M. Shepard. 1988. Infection of brown planthopper (BPH) with insect fungi in the laboratory. IRRN 13(5): 34.
Bandara, J. M. and D. Ahangama. 1994. Metarhizium sp.: a new biocontrol agent for brown planthopper management in rice fields. IRRN 19(4): 19.
Burge, M. N. 1988. Fungi in Biological Control Systems. Manchester University Press, Manchester, U.K.
Geng, B. W. and R. J. Zhang. 2004. Pathogenicity of Metarhizium anisopliae var. acridu to the developmental stages of brown planthopper Nilaparvata lugens (Stål) and Sogatella furcifera (Horvath). Entomologia Sinica. 11(2): 89-97.
Hill, D. S. 1996. The Economic Importance of Insects. Chapman & Hall. London.
Keller, S., P. Kessler and C. Schweizer. 2003. Distribution of insect pathogenic soil fungi in Switzerland with special reference to Beauveria brongniartii and Metharhizium anisopliae. BioControl 48: 307-319.
Lacey, L. A. 1997. Manual of Techniques in Insect Pathology. Academic Press, New York.
Pathak, P. K., R. C. Saxena and E. A. Heinrichs. 1982. Para film sachet for measuring honeydew excretion by Nilaparvata lugens on rice. Journal of Economic Entomology 75: 194-195.
Pham, T. T., T. B. Nguyen, T. Dong and T. T. Tran. 1994. Effects of Beauveria bassiana Vuill. and Metarhizium anisopliae Sorok. on brown planthopper (Nilaparvata lugens Stål) in Vietnam. IRRN 19(3): 29.
Reissig, W. H., E. A. Heinrichs, J. A. Litsinger, K. Moody, L. Feidler, T. W. Mew and A. T. Barrion. 1986. Illustrated Guide to Integrated Pest Management in Rice in Tropical Asia. International Rice Research Institute, Los Banos, Laguna, Philippines.
Samson, R. A., H. C. Evans and J. P. Latge. 1988. Atlas of Entomopathogenic Fungi. Springer-Verlag, Berlin.
Srisukchayakul, P., C. Wiwat and S. Pantuwatana. 2005. Studies on the pathogenesis of the local isolates of Nomuraea rileyi against Spodoptera litura. ScieneAsia 31: 273-276.
Trizelia and F. Nurdin. 2010. Virulence of entomopathogenic fungus Beauveria bassiana isolates to Crocidolomia pavonana F. (Lepidoptera: Crambidae). Agrivita. Journal of Agricultural Science 32(3): 254-260.