ผลของสารสกัดจากดาวเรือง ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมมะเขือเทศ

Main Article Content

พรสุข ชัยสุข

บทคัดย่อ

การทดสอบผลการควบคุมโรครากปมของมะเขือเทศที่เกิดจากไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne sp. ในสภาพโรงเรือน ด้วยสารสกัดจากดาวเรือง 3 สายพันธุ์ ได้แก่ คิงส์ เยลโล่, กาลอร์, และฝรั่งเศส โดยเตรียมสารสกัดจากส่วนต่าง ๆ ของดาวเรือง ได้แก่ ทั้งต้น ลำต้นและใบ และราก ราดสารสกัด 2 ครั้ง ห่างกัน 2 สัปดาห์ รอบ ๆ โคนต้นมะเขือเทศ อายุ 30 วัน ในกระถาง จากการนับจำนวนปมที่รากมะเขือเทศหลังการทดสอบ 1 เดือน พบว่า สารสกัดดาวเรืองทุกสายพันธุ์ไม่สามารถลดการเกิดปมได้ แต่ในการนับจำนวนปมที่รากมะเขือเทศหลังการทดสอบ 2 เดือน พบว่า สารสกัดจากสายพันธุ์คิงส์ เยลโล่ ช่วยลดการเกิดปมได้ดีกว่าสายพันธุ์กาลอร์ และสายพันธุ์ฝรั่งเศส โดยเฉพาะสารสกัดจากราก โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของปมเพียง 5.31 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ชุดควบคุมที่ปลูกเชื้อไส้เดือนฝอยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของปม 300.30 เปอร์เซ็นต์ สำหรับผลของสารสกัดต่อการเจริญของมะเขือเทศ พบว่า สารสกัดจากดาวเรืองช่วยเพิ่มความสูงและน้ำหนักสดของมะเขือเทศ โดยสารสกัดจากแต่ละส่วนของดาวเรืองแต่ละสายพันธุ์ช่วยเพิ่มความสูงของมะเขือเทศได้ไม่ต่างกัน แต่ช่วยเพิ่มน้ำหนักสดของมะเขือเทศได้แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด. 2540. รายงานวิจัยการป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยรากปมโดยไม่ใช้สารเคมี. กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 87 หน้า.
ประชุมพร ดาษดา. 2542. ความเป็นพิษของสารสกัดจากดาวเรืองน้อย (Tagetes patula Linn.) ที่มีต่อลูกน้ำยุงลาย (Aedesae gypti Linn.). วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 121 หน้า.
มนตรี เอี่ยมวิมังสา. 2548. การใช้พืชควบคุมไส้เดือนฝอยศัตรูพืช. เอกสารวิชาการ. กลุ่มงานไส้เดือนฝอย กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 153 หน้า.
มณีฉัตร นิกรพันธุ์. 2538. มะเขือเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 1, สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 98 หน้า.
วราภรณ์ ประกอบ วรัญญา กันฑาทรัพย์ วราลักษณ์ สุปิณะ เนตรนภา ไชยเมืองชื่น และ ทัศนีย์ คิดตาโย. 2550. การใช้เชื้อรา Arbuscular mycorrhiza เชื้อราปฏิปักษ์และเชื้อแบคทีเรียในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมในมะเขือเทศ. วารสารเกษตร 23(ฉบับพิเศษ): 403-406.
สืบศักดิ์ สนธิรัตน. 2541. ไส้เดือนฝอยศัตรูพืช โรคและการจัดการ. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 204 หน้า.
สืบศักดิ์ สนธิรัตน อนุชา ธีรวุฒิธร และ วิไล สันติโสภาศรี. 2535. ผลของสารสกัดและ root exudate จากพืชบางชนิดต่อไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita. หน้า 79-87. ใน: รายงานการประชุมทางวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 30 สาขาพืช. 29 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2535. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Gommers, F. J. 1973. Nematicidal principles in compositae. H. Veenman and Zonen B. V., Wageningen. 71 p.
Natarajan, N., A. Cork, N. Boomathi, R. Pandi, S. Velavan and G. Dhakshnamoorthy. 2006. Cold aqueous extracts of African marigold, Tagetes erecta for control tomato root knot nematode, Meloidogyne incognita. Crop Protection 25: 1210-1213.
Wang, K. H., C. R. Hooks and A. Ploeg. 2007. Protecting crops from nematode pests: using marigold as an alternative to chemical nematicides. Plant Disease 35: 1-6.
Winoto, R. R. 1969. Studies on the effect of Tagetes species on plant parasitic nematodes. Wageningen. 132 p.