การสำรวจสถานภาพการเลี้ยงแกะและศึกษาคุณค่าทางโภชนะของพืชที่ใช้เลี้ยงแกะในจังหวัดปัตตานี

Main Article Content

เทียนทิพย์ ไกรพรม
อับดุลเลาะ สาแม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนะของพืชที่นำมาใช้ในการเลี้ยงแกะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี โดยสุ่มตัวอย่างเกษตรกรจำนวน 360 ราย จากเกษตรกรผู้เลี้ยงแกะในจังหวัดปัตตานีจำนวนทั้งสิ้น 3,632 ราย ใน 12 อำเภอของจังหวัดปัตตานี ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่ายและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล อธิบายผลการทดลองโดยใช้ค่าสถิติ ความถี่และร้อยละ ทำการเก็บตัวอย่างพืชที่เกษตรกรนำมาใช้เลี้ยงแกะ ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรที่เลี้ยงแกะส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 36-45 ปี มีระดับการศึกษาอยู่ในช่วงประถมศึกษา มีการเลี้ยงแกะอยู่ในช่วง 1-5 ตัวต่อครัวเรือน ระบบการเลี้ยงเป็นแบบปล่อยแทะเล็ม สำหรับพืชอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงแกะพบว่า จากการศึกษาคุณค่าทางโภชนะของพืชอาหารสัตว์ที่เกษตรกรนิยมนำมาปลูกให้แกะกินพบว่า เกษตรกรใช้กระถิน หญ้ากินนีสีม่วง หญ้าเนเปียร์ปากช่อง และหญ้าขน ในการเลี้ยงแกะ โดยมีค่าวัตถุแห้ง โปรตีน ผนังเซลล์ และลิกโนเซลลูโลสอยู่ในช่วงร้อยละ 8.50-29.12, 36.72-71.10 และ 27.27-39.44 ส่วนพืชธรรมชาติที่เกษตรกรนิยมนำมาใช้เลี้ยงแกะ ได้แก่ ย่าหยา  หญ้าเห็บ  หญ้าสะกาดน้ำเค็ม  หญ้าปล้อง  แสมขาว  ถั่วลิสงนา และ โพทะเล โดยมีค่าวัตถุแห้ง โปรตีน ผนังเซลล์ และลิกโนเซลลูโลสอยู่ในช่วงร้อยละ 8.10-19.78, 26.05-56.72 และ 17.73-32.28  ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมปศุสัตว์. 2556. สรุปผลการปรับปรุงฐานข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปี 2556. ระบบฐานข้อมูลผู้เลี้ยงสัตว์. ศูนย์สารสนเทศ กรมปศุสัตว์
กองอาหารสัตว์. 2538. หญ้ากินนีสีม่วง. กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. เอกสารเผยแพร่. 22 หน้า.
ไกรลาศ เขียวทอง. 2445. คู่มือการปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1. ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์.
สุภาวัลย์ บรรเลงทอง. 2548. การเลี้ยงแกะ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย. 39 หน้า.
ธำรงศักดิ์ พลบำรุง ฉายแสง ไผ่แก้ว จริยา บุญจรัชชะ และ สมศักดิ์ เภาทอง. 2546. การศึกษากระถินพันธุ์ต้านทานเพลี้ยไก่ฟ้าในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี หน้า 215-227. ใน: รายงานผลงานวิจัยกองอาหารสัตว์ ประจำปี 2546กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
บุญเสริม ชีวะอิสระกุล. 2547.การผลิตและผลิตผลจากแกะ. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่: ธนบรรณการพิมพ์. 137 หน้า.
บุญฤา วิไลพล. พืชอาหารสัตว์เขตร้อนและการจัดการ. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 371 หน้า.
ทิพา บุญยะวิโรจ จีระวัชร์ เข็มสวัสดิ์ อุทัย ลีรัตนชัย พูลศรี ศุกระรุจิ และ แสงอรุณ สมุทรักษ์. 2535. ผลผลิตพืชอาหารสัตว์ 40 พันธุ์ ในดินชุดสรรพยาภายใต้ระบบชลประทาน. รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2534. กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 317-325 หน้า.
มนัสนันท์ นพรัตน์ไมตรี อนันท์ เชาว์เครือ วรางคณา กิจพิพิธ อณัญญา ปานทอง และ ศักดา ประจักษ์บุญเจษฎา. 2556. องค์ประกอบทางโภชนะและการย่อยสลายได้ของถั่วลิสงเถาในกระเพาะรูเมนด้วยเทคนิคถุงไนลอนของโคนม. หน้า 406-416. ใน: การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5.
สายัณห์ ทัดศรี. 2540. พืชอาหารสัตว์เขตร้อน การผลิตและการจัดการ. คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
อัศวิน สายเชื้อ พงศ์ธร คงมั่น วิริยา ลุ้งใหญ่ สมศักดิ เภาทอง และ สมเกียรติ ประสานพานิช. 2555. การใช้หญ้ากินนีสีม่วงร่วมกับอาหารข้นระดับต่างกันต่อประสิทธิภาพการผลิตและปริมาณกรดไขมัน conjugated linoleic acid (CLA) ในแพะเนื้อ. หน้า 107-114. ใน: รายงาน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50.
AOAC. 1984. Official Method of Analysis of the Association of Official Chemists. 14th ed., Association of Official Agricultural Chemists, Washington, D. C. 1141p.
Goering, H. K. and P. J. Van Soest. 1970. Forage Fiber Analyses (apparatus, reagents, Procedures and some applications). Agric. Handbook No. 379. Washington, D.C. ARS, USDA.
SAS. 1996. SAS/STATTM User’s Guide (Release 6.03). SAS Inst., Inc. Cary, NC.
Steel, R. G. and J. H. Torrie. 1980. Principles and Procedures of Statistics: A Biometrical Approach, 2nd ed. McGraw-Hill, New York, pp. 132-168.
Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publication.
Weiss, W. P., M. L. Eastridge, and J. F. Underwood. 1999. Forages for Dairy Cattle. Ohio State University Extension.
Rajion, M. A., A. R. Allimon and M. P. Davis. 1993. Goat and sheep production. In The Animal Industry in Malaysia (C.T.N.I Fatimah, A. H. Ramlah and A. R. Bahaman eds.). Faculty of Veterinary Medicine & Animal Science, Universiti Pertanian Malaysia, Serdang, pp. 51-67.