ผลของการเสริมหนอนนกต่อประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ ต้นทุนและผลตอบแทน ของการเลี้ยงเม่นแคระ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมหนอนนกต่อประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ ต้นทุนและผลตอบแทนของการเลี้ยงเม่นแคระ โดยใช้เม่นแคระอายุ 4 สัปดาห์ เพศผู้ จำนวน 24 ตัว และเพศเมีย จำนวน 24 ตัว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ตามแผนงานทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับอาหารทางการค้า (อาหารสูตรควบคุม) กลุ่มที่ 2 ได้รับหนอนรำข้าวสาลี กลุ่มที่ 3 ได้รับอาหารทางการค้าและเสริมด้วยหนอนรำข้าวสาลี อัตราส่วน 50:50 และกลุ่มที่ 4 ได้รับอาหารทางการค้าและเสริมด้วยหนอนนก อัตราส่วน 25:75 ผลการทดลองพบว่า เม่นแคระที่ได้รับอาหารทางการค้าและเสริมด้วยหนอนนกในอัตราส่วน 50:50 และ 25:75 มีผลทำให้อายุการเป็นสัดครั้งแรก จำนวนลูกแรกคลอด น้ำหนักลูกแรกคลอด จำนวนลูกมีชีวิตที่อายุ 1 สัปดาห์ และน้ำหนักลูกมีชีวิตที่อายุ 1 สัปดาห์ ดีกว่าเม่นแคระกลุ่มที่ได้รับอาหารทางการค้าและกลุ่มที่ได้รับหนอนนก (P<0.05) จากผลของการเสริมหนอนนกทำให้เม่นแคระมีประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ที่ดีกว่านั้น ส่งผลให้ได้รับผลตอบแทนจากการผลิตเม่นแคระสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารทางการค้าและกลุ่มที่ได้รับหนอนนก โดยพบว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารทางการค้าและเสริมด้วยหนอนนกในอัตราส่วน 50:50 จะได้รับผลตอบแทนจากการผลิตเม่นแคระสูงที่สุด
Article Details
References
กรสิริ ศรีนิล ไสว บูรณพานิชพันธุ์ เยาวลักษณ์ จันทร์บาง จิราพร กุลสาริน และ วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ. 2554. ศักยภาพของหนอนนกยักษ์ Zophobas morio Fabricius ในการเป็นอาหารของมวลพิฆาต Eocanthecona furcellata (Wolff). วารสารเกษตร 27(3): 209-218.
กฤติยา เลิศชุณหะเกียรติ. 2556. ความล้มเหลวทางการสืบพันธุ์. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http:// elearning.su.ac.th/elearning-uploads/libs/document/reproductive%20failure_7d8f.ppt (20 พฤศจิกายน 2556).
ณัฐพล วนาศิลป์ศิริวงศ์. 4 กุมภาพันธ์ 2554. 'เม่นแคระหน้าด่าง' สัตว์เลี้ยงเงินหมื่น. ผู้จัดการรายวัน.
ณันญรัตน์ คุ้มครอง และ กมลพรรณ เจือกโว้น. 2556. ผลของการเสริมหนอนรำข้าวสาลีต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ของเม่นแคระ. การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฎสุราษฎร์ธานีวิจัย ครั้งที่ 9. สุราษฎร์ธานี: 1-6.
เบญจรัตน์ วิทยาปัญญานนท์ สุชีพ รัตรสาร นรสีห์ ตระกูลช่าง นาม ศิริเสถียร และ ดำพล พัวพาณิชย์. 2524. ผลของระดับพลังงานและโปรตีนในอาหารต่อลักษณะและคุณสมบัติทางการสืบพันธุ์ของแม่สุกรสาว, ใน: การประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 19 สาขาสัตว์ (หมวดสัตวบาล), (27-28). 3-5 กุมภาพันธ์ 2524 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปิยะขวัญ เชื้อชูชาติ สิริรัตน์ ฉัตรวิจิตรกุล อรวรีย์ จันทโรทัย และ เผด็จ ธรรมรักษ์. 2553. ผลของอายุเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ของสุกรสาวต่อสมรรถภาพทางการสืบพันธุ์เมื่อเป็นแม่สุกร. การประชุมทางวิชาการ ของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48. กรุงเทพฯ: 231-237.
พีรวัจน์ ชูเพ็ง และโสภณ บุญล้ำ. 2552. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไก่พื้นเมืองโดยใช้หนอนรำข้าวสาลีเป็นแหล่งอาหารโปรตีนเสริม. เครือข่ายการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก สกอ. ภาคใต้ตอนบน.
ศิริพร สารคล่อง ชเวง สารคล่อง และ พัชรินทร์ สายทอง. 2555. การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการเลี้ยงแม่สุกรพื้นเมืองภายใต้รูปแบบการให้อาหารที่แตกต่างกันในเขตจังหวัดสกลนคร. แก่นเกษตร 40: 321-330.
สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ. 2555. ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น มิตรแท้หรือผู้รุกราน. Bio brief 4(18).
โสภณ บุญล้ำ. 2556. คู่มือเพาะเลี้ยงหนอนนก. โครงการคลินิกเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี. 30 หน้า.
Amaral, F. W. S., M. L. Bernardi, I. Wentz and F. P. Bortolozzo. 2010. Reproductive performance of gilts according to growth rate and backfat thickness at mating. Animal Reproduction Science 121(1-2): 139-144.
AOAC. 2000. Official methods of analysis. 17th ed. Washington, D. C., Association of official analytical chemists.
Dick, G. 2013. Insects a La Carte. (Online). Available : http://www.hedgehogheadquarters.com/ secure/insects.htm (June 24, 2013).
Heidi, L. H. 2013. Introduction to the African Pygmy Hedgehog. (Online). Available : http://www.heidihoefer.com/pages/sm_mammals/intro_hedgehogs.pdf (June 20, 2013).
Kimberly, G. 2012. Pet African Hedgehogs : A Complete Guide to Care. (Online). Available : http://www.westcoasthedgehogs.com/ files/hedgehogbook/index.html (June 20, 2013).
Lawler, A. 2004. Raising mealworms for animal food. (Online). Available: http://www. aquaticcommunity.com (November 29, 2012).
Li, L. Y., Z. Zhao and H. Liu. 2013. Feasibility of feeding yellow mealworm (Tenebrio molitor L.) in bioregenerative life support systems as a source of animal protein for humans. Acta Astronaut 92: 103-109.
Mugerwa, E.M. 1989. A review of reproductive performance of female Bos Indicus (Zebu) cattle. (Online). Available : http://www.fao.org/wairdocs/ilri/x5442e/x5442e00.htm#Contents (August 31, 2014).
Santana, E. 2010. African Pygmy Hedgehog. (Online). Available: http://www. untamedscience.com/biodiversity/animals/chordates/mammals/hedgehogs-and-moonrats/hedgehogs/atelerix/four-toed-hedgehog (November 29, 2012).
Tummaruk, P., N. Lundeheim, S. Einarsson and A. M. Dalin. 2000. Factors influencing age at first mating in purebred Swedish Landrace and Swedish Yorkshire gilts. Animal Reproduction Science 63(3-4): 241-253.