ผลของกรด 3,5,6-ไทรคลอโร-2-ไพรีดิลออกซีอะซิติกและกลูโคสต่อการเติบโตและคุณภาพผลของส้มโอพันธุ์ทองดี

Main Article Content

ณัฐวุฒิ เนตรประดิษฐ
ชูชาติ สันธทรัพย์
ดรุณี นาพรหม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ เพื่อทราบผลของ 3,5,6-ไทรคลอโร-2-ไพรีดิลออกซีอะซิติก (3,5,6-TPA) และกลูโคสต่อการเติบโตและคุณภาพผลของส้มโอพันธุ์ทองดี ทำการศึกษาที่อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย วางแผนการทดลองแบบ Factorail (2x3)+1 in CRD ทั้งหมด 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยแรกความเข้มข้นของกลูโคส 2 ระดับ คือ 450 และ 550 มิลลิกรัมต่อลิตร ปัจจัยที่สองความเข้มข้นของ 3,5,6-TPA 3 ระดับ คือ 10, 20 และ 30 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำการพ่นทางใบร่วมกัน 2 ครั้ง คือหลังจากดอกบาน 15 และ 22 สัปดาห์ พบว่าในการเจริญเติบโตของผล การพ่นกลูโคสและ 3,5,6-TPA มีปฏิสัมพันธ์กัน กรรมวิธีที่พ่นด้วยกลูโคส 450 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 550 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ 3,5,6-TPA 20 มิลลิกรัมต่อลิตร มีแนวโน้มให้การเติบโตของผลมากกว่ากรรมวิธีควบคุม การพ่น 3,5,6-TPA ความเข้มข้น 20 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้น้ำหนักผล น้ำหนักเนื้อ และสัดส่วนระหว่างเนื้อต่อเปลือก มากกว่าที่ความเข้มข้น 10 และ 30 มิลลิกรัมต่อลิตรแต่ไม่ต่างจากกรรมวิธีควบคุมส่วนปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (TSS) ในทุกกรรมวิธีมีค่าต่ำกว่ากรรมวิธีควบคุม นอกจากนี้การพ่นกลูโคส 550 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 3,5,6-TPA 10 มิลลิกรัมต่อลิตร มีแนวโน้มให้สารขม คือ ลิโมนินและนารินจินในน้ำคั้นลดลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริญญา ปัญญาแก้ว และดรุณี นาพรหม. 2553. ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต่อการออกดอกนอกฤดูและคุณภาพผลของส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง. วารสารเกษตร 26(ฉบับพิเศษ): 117-125.
ชูชาติ สันธทรัพย์ สุธามาศ ณ น่าน ดรุณี นาพรหม อังสนา อัครพิศาล และ เยาวลักษณ์ จันทร์บาง.2551. การศึกษารูปแบบการผลิตส้มโอในพื้นที่ภาคเหนือและการพัฒนาคุณภาพเพื่อการส่งออก. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://elibrary.trf.or.th/project._content asp ?PJID= RDG5020010 (13 กุมภาพันธ์ 2557).
ดนัย บุณยเกียรติ และ นิธิยา รัตนาปนนท์. 2548. การปฏิบัติภายหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 236 หน้า.
ณัฐพงษ์ วงษ์มา. 2553. ผลของการพ่นน้ำตาลทางใบต่อสารชีวเคมีในใบและการออกดอกของส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 86 หน้า.
นพดล จรัสสัมฤทธิ์. 2537. ฮอร์โมนพืชและสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช. สำนักพิมพ์รั้วเขียว, กรุงเทพฯ. 124 หน้า.
พีรเดช ทองอำไพ. 2529. ฮอร์โมนพืชและสารสังเคราะห์ แนวทางการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย. วิชัยการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 196 หน้า.
สัญชัย พันธโชติ. 2532. การศึกษาการเจริญเติบโตและพัฒนาการของส้มโอในสภาพแวดล้อมภาคเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 127 หน้า.
สมคิด เทียมรัศมี. 2544. การปลูกส้มโอ. อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 112 หน้า.
สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2544. สรีรวิทยาของพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 237 หน้า.
สัมฤทธิ์ เฟื่องจันทร์. 2544. สรีรวิทยาการพัฒนาการพืช. ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, กรุงเทพฯ. 665 หน้า.
Agusti, M., V. Almela, M. Juan, E. Primo-Millo, I. Trenor and S. Zaragoza. 1994. Effect of 3,5,6-trichloro-2-pyridyl-oxyacetic acid on fruit size and yield of ‘Clausellina’ mandarin (Citrus unshiu Marc.). Journal of Horticultural Science and Biotechnology 69(2): 219-223.
Agusti, M., M. El-Otmani, M. Aznar, M. Juan and V. Almela. 1995. Effect of 3,5,6-trichloro-2-pyridyloxyacetic acid on clementine early fruitlet development and on fruit size at maturity. Journal of Horticultural Science and Biotechnology 70(6): 995-962.
Duarte, A. M. M., D. T. G. Trindade and J. L. Guardiola. 1996. Thinning of Esbal clementine with 2,4-dichlrophenoxyacetic acid influence on yield, fruit size and fruit quality. Proceedings International Society of Citriculture 2: 929-933.
Erner, Y., Y. Kaplan, B. Artzi and M. Hamou. 1993. Increasing citrus fruit size using auxins and potassium. Acta Horticulturae 329: 112-119.
Mishra, B. S., M. Singh, P. Aggrawal and A. Laxmi.2009. Glucose and auxin signaling interaction in controlling Arabidopsis thaliana seedlings root growth and development. PLoS ONE 4(2): e4502. 13 p.
Rouseff, R. L. 1988. Liquid chromatographic determination of naringin as a detector of grapefruit juices in orange juices. Journal Association of Official Analytical Chemists 71: 798-802.
Saleem, B. A., A. U. Malik and M. Farooq. 2007. Effect of exogenous growth regulators application on June fruit drop and fruit quality in Citrus sinensis cv. Blood Red. Pak. Journal of Agricultural Science 44(2): 289-294.
Saleem, B. A., A. U. Malik, M. A. Pervez, A. S. Khan and M. N. Khan. 2008. Spring application of growth regulators affects fruit quality of ‘Blood Red’ sweet orange. Pakistan Journal of Botany 40(3): 1013-1023.
Shaw, P. E. and C. W. Wilson. 1984. A rapid method for determination of limonin in citrus juices by high performance liquid chromatography. Pakistan Journal of Botany 49: 1216-1218.
Sheen, J., L. Zhou and J. C. Jang. 1999. Sugars as signaling molecules. Current Opinion in Plant Biology 2(5): 410-418.
Stern, R. A., D. Stern, M. Harpaz and S. Gazit. 2000. Applications of 2,4,5-TP, 3,5,6-TPA and combinations of increase lychee fruit size and yield. Hort Science 35(4): 661-664.
Stewart W. S., H. Z. Hoed, B. L.Brannamann. 1952. Effects of 2,4-D and related substances on fruitdrop, yield, size and quality of Valencia orange. Hilgardia 21: 321-329.
Villa-Real, H., A. J. Alfaia, M.R. Bronze, A. R. T. Calado and M. H. L. Ribeiro. 2011. Enzymatic Synthesis of the Flavone Glucosides, Prunin and Isoquercetin, and the Aglycones, Naringenin and Quercetin, with Selective α-L-Rhamnosidase and β-D-Glucosidase Activities of Naringinase. Enzyme Research. 11 p.
Yildirim, B., T. Yesiloglu, M. U.Kamiloglu, M. Incesu, B. Cimen and N. Yilmaz. 2011. Effects of 3,5,6-trichloro-2-pyridyloxyacetic acid on fruit size and yield of Valencia oranges (Citrus sinensis Osb.). Journal of Food, Agriculture and Environment 9(1): 275-279.