ผลของความยาวก้านใบเลี้ยงและระยะเวลาในการบ่มต่อ การพัฒนาจาวตาลโตนด
Main Article Content
บทคัดย่อ
ศึกษาพัฒนาการของจาวตาลจากความยาวก้านใบเลี้ยงและเวลาบ่ม ที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานี ระหว่างเดือนมิถุนายน - กันยายน 2556 พบว่า การตัดก้านใบเลี้ยงที่ความยาว 17-24 และ 25-32 เซนติเมตร ได้น้ำหนัก ปริมาตร ความกว้าง ความแน่นเนื้อของจาว ไม่ต่างกัน ส่วนความยาวที่มากกว่า 33 เซนติเมตร แม้มีปริมาตรกับความกว้างของจาวมาก แต่น้ำหนักจาวไม่แตกต่างกันกับที่ความยาว 17-24 และ 25-32 เซนติเมตร ขณะที่ความยาวน้อยกว่า 8, 9 - 16 เซนติเมตร มีน้ำหนัก และปริมาตรของจาว ต่ำกว่าที่ความยาว 25-32 เซนติเมตร ในส่วนความหนาแน่น ความแน่นเนื้อ และความชื้นของจาว มีแนวโน้มลดลงในกรรมวิธีที่มีความยาวก้านใบเลี้ยงมากขึ้น สำหรับระยะเวลาในการบ่มตั้งแต่ 0 ถึง 4 เดือน มีผลต่อการพัฒนาของจาวตาลในช่วง 1 เดือนเท่านั้น เมื่อพิจารณาปฏิสัมพันธ์ระหว่างความยาวก้านใบเลี้ยงกับระยะเวลาในการบ่ม มีผลต่อความกว้างและความชื้นของจาวตาล แต่ไม่มีผลต่อน้ำหนัก ปริมาตร และความแน่นเนื้อ
Article Details
References
นงนุช วงศ์สินชวน สมศักดิ์ บัวทิพย์ และตีฮายา หะวอ. 2556. การเร่งการงอกของเมล็ดตาลโตนด (Borassus fabellifer L.) วารสารวิชาการเกษตร 31(3): 250-256.
Ali, A., B. Fadimatou, C. Tchiegang, C. Saidou and M.B. Adji. 2010. Physico-chemical and functional properties of bâtchi or hypocotyle axes of Borassus aethiopum Mart. African Journal of Food Science 10(4): 635-641.
Davis, T. and D.V. Johnson. 1987. Current utilization and further development of the palmyra palm (Borassus flabellifer L., Arecaceae) in Tamil Nadu State, India. Economic Botany 2(41): 247-266.
DeMason, D. A. 1984. Growth parameters in the cotyledon of date seedlings Botanical Gazette 145(2): 176-183
DeMason, D. A. 1988. Seedlings development in Washingtonia filifera. Bot. Gaz. 149(1): 45-56.
Haris, T. C. N. 1994. Developmental and germination studies of the sugar palm (Arenga pinnata Merr.) seed. Ph.D.Thesis. Universiti Pertanian, Malaysia. 152 p.
Meerow, A. W. 1990. Palm seed germination. IFAS Cooperative Extension Bulletin 274: 1-10.
Morton, J. F. 1988. Notes on distribution, propagation, and products of Borassus palms (Arecaceae). Economic Botany 42(3): 420-441.
Pinheiro, C. U. B. 2001. Germination strategies of palm: the case of Schippia concolor Burret in Belize. Brittonia 53(4): 519-527.
Ratheesh C. P. 2012. Physiology and biochemistry of seed development and germination in Borassus flabellifer L. Ph. D. Thesis. University of Calicut, India. 174 p.
Tahir, S. M., S. Mu’azu, A. U. Khan, and D. N. Lortsuun. 2007. Studies on the germination and seedling characteristics of the savanna palm trees. Science World Journal 2(3): 248-253.