ชีววิทยาของเพลี้ยจักจั่นฝ้ายและประสิทธิภาพของ สารฆ่าแมลงสำหรับการควบคุมในมะเขือม่วง

Main Article Content

จริยา สีดวงแก้ว
จิราพร กุลสาริน
ไสว บรูณพานิชพันธุ์
สิริญา คัมภิโร

บทคัดย่อ

การศึกษาชีววิทยาของเพลี้ยจักจั่นฝ้าย (Amrasca biguttula biguttula (Ishida) (Hemiptera: Cicadellidae)) และประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงในการควบคุมในมะเขือม่วงได้ดำเนินการที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเลี้ยงเพลี้ยจักจั่นฝ้ายในกรงภายใต้โรงเรือนตาข่ายที่อุณหภูมิ 27.80 ±0.90 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 59.32 ±1.35 เปอร์เซ็นต์ ระยะไข่และระยะตัวอ่อนวัยที่ 1-5 ของเพลี้ยจักจั่นฝ้ายมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.50 ±0.50, 1.60 ±0.53, 1.30 ±0.47, 1.25 ±0.44, 1.40 ±0.50 และ 1.65 ±0.478 วัน ตามลำดับ ใช้เวลาในระยะตัวอ่อนนาน 7.55 ±2.06 วัน วงจรชีวิตตั้งแต่ระยะไข่จนพัฒนาเป็นตัวเต็มวัยเท่ากับ 21.95 ±1.05 วัน ตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมียมีอายุ 23.40 ±2.13 และ 25.55 ±2.39 วัน ตามลำดับ สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพของสารเคมีฆ่าแมลง สารสกัดจากพืช และสารชีวภัณฑ์ ได้ดำเนินการในห้องปฏิบัติการ โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD แต่ละกรรมวิธีประกอบด้วย 3 ซ้ำ ผลการศึกษาพบว่า สารเคมีฆ่าแมลง อะบาเม็กติน คาร์บาริล และไซเพอร์เมทริน มีประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้ตัวอ่อนวัยที่ 3 ของเพลี้ยจักจั่นฝ้ายตาย 100.00 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่สารชีวภัณฑ์เชื้อรา Metarhizium anisopliae สามารถใช้ควบคุมเพลี้ยจักจั่นฝ้ายได้ โดยให้เปอร์เซ็นต์การตายของตัวอ่อนเพลี้ยจักจั่นฝ้ายเท่ากับ 83.33 เปอร์เซ็นต์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. 2555. เพลี้ยจักจั่น. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://ait.nisit.kps.ku.ac.th/ dbfieldcrop/pest/peanut/leafhopper.htm (20 ธันวาคม 2555).
กรมวิชาการเกษตร. 2556. ระบบฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์แมลง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://imds.doa.go.th/process/insect_list. php (20 มกราคม 2556).
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา. 2553. คำแนะนำการป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์ศัตรูพืชปี 2553. เอกสารวิชาการเกษตร. กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 303 หน้า.
นิพนธ์ ไชยมงคล. 2546. มะเขือม่วง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.agricprod.mju.ac.th/ vegetable/File_link/eggplant.pdf (20 ธันวาคม 2555).
บงการ พันธุ์เพ็ง และเกศิณี ระมิงค์วงศ์. 2545. การรวบรวมและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของพืชสกุลมะเขือบางชนิดโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยา. วารสารเกษตร 13(3): 190-200.
ปริญญา สีบุญเรือง วรยุทธ ศิริชุมพันธุ์ ไพฑูรย์ นาคา-พันธ์ สุริพัฒน์ ไทยเทศ ศิวิไล ลาภบรรจบ อมรา ไตรศิริ นัฐภัทร์ คำหล้า สาธิต อารีรักษ์ เสรีวัฒน์ จัตตุพรพงษ์ นงลักษณ์ ปั้นลาย อรรณพ กสิวิวัฒน์ ปรีชา แสงโสดา รวีวรรณ เชี้อกิตติศักดิ์ เบญจมาศ คำสืบ เพชรรัตน์ พลชา และกัลยา เกาะกากลาง. 2555. ฝ้ายใบขนพันธุ์ใหม่ “ตากฟ้า 84-4”. หน้า 152-161. ใน: รายงานการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50. 31 มกราคม-2 กุมภาพันธ์ 2555, กรุงเทพฯ.
วารี หงส์พฤกษ์. 2543. เพลี้ยจักจั่นและเพลี้ยกระโดดศัตรูพืชเศษฐกิจในประเทศไทย. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 126 หน้า.
สมรวย รวมชัยอภิกุล อุราพร หนูนารถ สมศักดิ์ ศิริพลตั้งมั่น และปิยรัตน์ เขียนมีสุข. 2550. ทดสอบประสิทธิภาพสารสกัดธรรมชาติ และสารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นฝ้าย (Amrasca biguttula (lshida)) ในกระเจี๊ยบเขียว. หน้า 400. ใน: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนาด้านพืชและเทคโนโลยีการเกษตร. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
สัญญาณี ศรีคชา. 2556. เอกสารคำแนะนำ แมลงศัตรูผักและการป้องกันกำจัด. สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 22 หน้า.
แสงแข น้าวานิช วิบูลย์ จงรัตนเมธีกุล ประพนธ์ บุญรำพรรณ และโสภณ อุไรชื่น. 2551. การคัดกรองเบื้องต้นสำหรับพันธุ์ฝ้ายต้านทานต่อเพลี้ยจักจั่น (Amrasca biguttula (lshida)) (Homoptera: Cicadellidae). หน้า 532-537. ใน: รายงานการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 46. 29 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2551. กรุงเทพฯ.
แสงแข น้าวานิช วิบูลย์ จงรัตนเมธีกุล ประพนธ์ บุญรำ-พรรณ ชัยมงคล ตะนะสอน และสมชาย ธนสินชยกุล. 2556. การประเมินสายพันธุ์ฝ้ายต้านทานต่อเพลี้ยจักจั่น (Amrasca biguttula (lshida)) (Homoptera: Cicadellidae). หน้า 403-408. ใน: รายงานการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 51. 5-7 กุมภาพันธ์ 2556, กรุงเทพฯ.
สุพจน์ กิตติบุญญา สุเทพ สหายา และเกศรา จีระจรรยา. 2545. การทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นฝ้าย. วารสารกีฏและสัตววิทยา 24(1): 39-47.
อทิพัฒน์ บุญเพิ่มราศี. 2551. เยี่ยมคลัสเตอร์ ผู้ปลูกมะเขือม่วงส่งออกญี่ปุ่น พืชผักอนาคตสดใส สร้างรายได้มั่นคง. วารสารเคหการเกษตร 32(4): 211-215.
Cotton Catchment Communities. 2013. Leafhoppers (Jassids). (Online). Available: http://www.cottoncrc.org.au/industry/Publications/Pests_and_Beneficials/Cotton_Insect_Pest_and_Beneficial_Guide/Pests_by_ common_name/Jassids_and_leafhoppers (January 3, 2013).
Jayasimha, G. T., R. R. Rachana, M. Manjunatha and V. B. Rajkumar. 2012. Biology and seasonal incidence of leafhopper, Amrasca biguttula biguttula (Ishida) (Hemipera: Cicadellidae) on okra. Pest Management in Horticultural Ecosystems 18(2): 149-153.
Queensland Government. 2013. Vegetable leafhopper. (Online). Available: http://www.daff.qld.gov.au/ 26_9291.htm (January 7, 2013).
Madar, H. and P. Katti. 2011. Biology of leafhopper, Amrasca biguttula biguttula on sunflower. International Journal of Plant Protection 4(2): 370-373.
Maketon, M., P. Orosz-Coghlan and D. Hotaga. 2008. Field evaluation of Metarhizium anisopliae (Metschnikoff) Sorokin in controlling cotton jassid (Amrasca biguttula biguttula (Ishida)) in aubergine (Solanum aculeatissimum). International Journal of Agriculture & Biology 10(1): 47-51.
Muniappan, R., B. M. Shepard, G. R. Carner and P.A.C. Ooi. 2012. Arthropod Pests of Horticultural Crops in Tropical Asia. CABI, Wallingford. 168 p.
Shivanna, B. K., D. N. Nagaraja, M. Manjunatha, S. Gayathridevi, S. Pradeep and G. K. Girijesh. 2009. Bionomics of leafhopper, Amrasca biguttula biguttula (Ishida) on transgenic Bt cotton. Karnataka Journal of Agricultral Sciences 22(3): 538-540.
Singh, S. B., R. K. Choudhary, S. N. Upadhyay and M. Sharma. 2014. Biological study of cotton jassid, Amrasca biguttula biguttula (Ishida) on Bt cotton under in vivo conditions. Annals of Plant and Soil Research 16(1): 29-31.
Srinivasan, R. 2009. Insect and Mite Pests on Eggplant. AVRDC Publication No. 09-729. AVRDC, Shanhua, Taiwan. 64 p.
Vennila, S., V. K. Birada, M. Sabesh and D. M. Bambawale. 2007. Know Your Cotton Insect Pest: JASSIDS. Crop Protection Folder Series. Mudrashilpa Offset Printers, Nagpur.