การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการศึกษา ความหลากชนิดและการแพร่กระจายของ แมลงศัตรูกาแฟอราบิกาในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย

Main Article Content

เผ่าไท ถายะพิงค์
ปิยะวรรณ สุทธิประพันธ์

บทคัดย่อ

การใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศซึ่งประกอบด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกด้วยดาวเทียม (GPS) ในการศึกษาความหลากชนิดและการแพร่กระจายของแมลงศัตรูกาแฟอราบิกาในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย ในพื้นที่ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี่ยง จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยโป่ง และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย ระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 ถึงสิงหาคม พ.ศ. 2556 โดยใช้กับดักดัดแปลงร่วมกับสารล่อ CMU-C1 และการสุ่มสำรวจนับด้วยตาเปล่า ผลการศึกษาพบแมลงทั้งหมด จำนวน 8 อันดับ 35 วงศ์ โดยมีแมลงที่มีจำนวนประชากรแมลงที่สำรวจได้มากที่สุด คือ วงศ์ Coccidae (อันดับ Hemiptera), วงศ์ Formicidae (อันดับ Hymenoptera), วงศ์ Scolytidae, Anthribidae และ Nitidulidae (อันดับ Coleoptera) และพบจำนวนแมลงในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยโป่งมากที่สุดและศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำขุ่นน้อยที่สุด ในการศึกษาครั้งนี้พบแมลงศัตรูที่สำคัญของกาแฟอราบิกา 2 ชนิด คือ มอดเจาะผลกาแฟ Hypothenemus hampei (Ferrari) (Coleoptera: Scolytidae) และเพลี้ยหอยสีเขียว Coccus viridis (Green) (Hemiptera: Coccidae) นอกจากนี้พบจำนวนประชากรมอดเจาะผลกาแฟในกับดักสูงสุดในเดือนเมษายน พ.ศ. 2556    ในทุกพื้นที่ ความสัมพันธ์ของจำนวนประชากรของมอดเจาะผลกาแฟกับอุณหภูมิพบว่ามีแนวโน้มความสัมพันธ์ในเชิงบวก ในการทดลองครั้งนี้ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการนำเสนอข้อมูลจำนวนประชากรของแมลงศัตรูเชิงพื้นที่และสร้างแผนที่การระบาดของมอดเจาะผลกาแฟของแต่ละพื้นที่พบว่า เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 พบจำนวนมอดเจาะผลกาแฟน้อยมากในทุกพื้นที่สำรวจ แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 จำนวนของมอดเจาะผลกาแฟเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมีจำนวนประชากรสูงทั้ง 4 พื้นที่ และพบว่าจำนวนมอดเจาะผลกาแฟพบมากในแปลงกาแฟที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยโป่งมากที่สุดและพบในจุดวางกับดักบริเวณขอบแปลงกาแฟก่อนเสมอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการค้าต่างประเทศ. 2554. สถานการณ์กาแฟ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.dft.go.th/Portals/0/ContentManagement/Document_Mod689/COFFEE%20-%20%E0%B8%AA.%E0%B8%84.%2055@25550906-1559276293.pdf (10 ธันวาคม 2554).
กรมวิชาการเกษตร. 2551. แมลงศัตรูกาแฟ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://it.doa.go.th/vichakan/news.php?newsid=9 (17 มกราคม 2555).
จริยา วิสิทธ์พานิช. 2540. แมลงศัตรูกาแฟอราบีก้าบนพื้นที่สูงของประเทศไทยและแนวทางในการป้องกันกำจัด. ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 42 หน้า.
ณรงค์ พลีรักษ์. 2556. เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ 36(4): 503-515.
นิธิ ไทยสันทัด ธีระเดช พรหมวงค์ นริศ ยิ้มแย้ม วราพงษ์ บุญมา และ ประเสริฐ คำออน. 2543. การสำรวจศัตรูพืชในระบบการปลูกกาแฟกลางแจ้งและภายใต้ร่มเงา. วารสารเกษตร 16(1): 65-77.
บัณฑูรย์ วาฤทธิ์ ชวลิต กอสัมพันธ์ เยาวลักษณ์ จันทร์บาง วราพงษ์ บุญมา ประเสริฐ คำออน นิธิ ไทยสันทัด สมบัติ ศรีชูวงศ์ และ ถาวร สุภาวงค์. 2551. การศึกษาการระบาดและป้องกันกำจัดมอดเจาะผลกาแฟอราบิก้าแบบผสมผสาน. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เครือข่ายภาคเหนือ, เชียงใหม่. 40 หน้า.
ปิยะวรรณ สุทธิประพันธ์ และ เยาวลักษณ์ จันทร์บาง. 2557. การสำรวจแมลงศัตรูกาแฟอาราบิก้าและแมลงศัตรูธรรมชาติในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย. วารสารเกษตร 30(3): 233-242.
มูลนิธิโครงการหลวง. 2555. รายงานด้านการพัฒนามูลนิธิโครงการหลวงปีงบประมาณ พ.ศ. 2555. มูลนิธิโครงการหลวง, เชียงใหม่. 381 หน้า.
เยาวลักษณ์ จันทร์บาง. 2554. มอดเจาะผลกาแฟแมลงศัตรูในแปลงปลูกที่ส่งผลเสียระหว่างเก็บรักษา. Postharvest Newsletter 10(4): 3-6.
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร. 2554. สำรวจการปลูกกาแฟภาคเหนือพบอาราบิก้าอนาคตสดใส. คณะ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.maejopoll.mju.ac.th/wtms _document_download.aspx?id=MjE0Mg== (10 ธันวาคม 2554).
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2555. กาแฟ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=13226 (10 ธันวาคม 2554).
สืบพงษ์ พงษ์สวัสดิ์. 2551. เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ. ภาควิชาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ฟาร์อีสเทอร์น, เชียงใหม่. 13 หน้า.
อวยพร เพชรหลายสี. 2546. แนวทางการพัฒนาการผลิตกาแฟอาราบิก้า. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=554&filename=index (27 ธันวาคม 2554).
อนุตร บูรณพานิชพันธุ์ และ เยาวลักษณ์ จันทร์บาง. 2557. การเข้าทำลายของมอดเจาะผลกาแฟและประสิทธิภาพของสารล่อ เพื่อการควบคุม. วารสารเกษตร 30(3): 223-231.
Baker P. S., J. F. Barrera, and J. E. Valenzuela. 1989. The distribution of the coffee berry borer (Hypothenemus hampei) in southern Mexico A survey for a biocontrol project. Tropical Pest Management 35 (2): 163-168.
Damon, A. 2000. A review of the biology and control of the coffee berry borer, Hypothenemus hampei (Coleoptera: Scolytidae). Bulletin of Entomological Research 90: 453-465.
Jaramillo, J., A. C. Olaye, C. Kmongo, A. Jaramillo, F. E. Vega, H. M. Poehling and C. Borgemeister. 2009. Thermal tolerance of the coffee berry borer Hypothenemus hampei: predictions of climate change Impact on a tropical insect pest. PLoS ONE 4(8): e6487.
Jha, S., J. H. Vandermeer, and I. Perfecto. 1999. Population dynamics of Coccus viridis, a ubiquitous ant tended agricultural pest, assessed by a new photographic method. Bulletin of Insectology 62 (2): 183-189.
Mendesil, E., B. Jembera and E. Seyoum. 2004. Population dynamics and distribution of the coffee berry borer, hypothenemus hampei (Ferrari) (Coleoptera: Scolytidae) on coffea arabica L. in southwestern Ethiopia. Ethiopian Journal of Science., 27(2): 127-134.
Moguel, P. and V. M. Toledo. 1999. Biodiversity conservation in traditional coffee systems of Mexico. Conservation Biology Journal 13(1): 11-21.
Pendergrast, M. 2009. Coffee second only to oil. (Online) Available: http://www.coffeeclubnetwork.com/redes/form/post?pub_id=2131 (December 27, 2011).
Richter, A., A. M. Klein, T. Tscharntke and J. M. Tylianakis. 2007. Abandonement of coffee agroforests increases insect abundance and diversity. Agroforestry Systems Journal 69:175-182.
Waller, J. M., M. Bigger and R. J. Hillocks. 2007. Coffee Pests Diseases and Their Management. Biddles Ltd. King’s Lynn, Norfolk. 434 p.