เงื่อนไขฐานรากในการเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรม ของเกษตรกรและบุตรหลานเกษตรกร

Main Article Content

ยศ บริสุทธิ์
ชนินทร์ แก้วคะตา

บทคัดย่อ

อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพของคนส่วนใหญ่ของประเทศไทย จากการศึกษาขั้นต้น พบว่า แนวโน้มของสัดส่วนผู้ทำอาชีพเกษตรลดลงแต่มีบางจังหวัดเท่านั้นที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จังหวัดศรีสะเกษเป็นหนึ่งในหกจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีแนวโน้มผู้ทำอาชีพเกษตรเพิ่มขึ้น จึงมีคำถามว่า มีเงื่อนไขใดบ้างที่ทำให้เกษตรกรหรือบุตรหลานเกษตรกรเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรม การศึกษานี้ใช้การประเมินสภาวะชนบทและการศึกษาทฤษฏีฐานรากเป็นวิธีในการศึกษา โดยเลือกพื้นที่ศึกษา 4 อำเภอของจังหวัดศรีสะเกษที่มีเศรษฐกิจแตกต่างกัน ได้แก่ อำเภอที่มีเศรษฐกิจไม่ดี ค่อนข้างไม่ดี ค่อนข้างดี และเศรษฐกิจดีเป็นพื้นที่ศึกษา จากนั้นได้สำรวจพื้นที่เพื่อเลือกหมู่บ้านตัวแทนอำเภอละ 1 หมู่บ้าน และได้สร้าง กรอบประเด็นเพื่อเป็นเครื่องมือในรวบรวมข้อมูลจากผู้นำชุมชน สัมภาษณ์ครัวเรือนเกษตรกรทั้งเกษตรกรผู้ใหญ่และบุตรหลานเกษตรกร ในเดือนเมษายน 2555 ถึง มิถุนายน 2556 ผลการศึกษาค้นพบว่า  ความสัมพันธ์ของเงื่อนไขฐานรากของการเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกรและบุตรหลานเกษตรกร ได้แก่ เงื่อนไขฐานรากในการเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกรและบุตรหลานเกษตรกร = (เงื่อนไขที่เป็นข้อเอื้อ + เงื่อนไขที่เป็นความจำยอมหรือเชิงบังคับ) - (เงื่อนไขที่เป็นข้อแม้หรือข้อจำกัด + เงื่อนไขที่เป็นข้อแม้หรือข้อจำกัดที่มีเฉพาะบุตรหลานเกษตรกร) โดย (1) เงื่อนไขสำคัญที่เป็นข้อเอื้อหรือมีแนวโน้มทำให้ตัดสินใจเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การมีที่ดินทำกินเพียงพอต่อการทำการเกษตร การมีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรเอื้ออำนวย การสามารถสร้างรายได้จากการทำการเกษตร และการมีเงินทุนในการทำการเกษตร (2) เงื่อนไขสำคัญที่เป็นความจำยอมหรือเชิงบังคับทำให้ต้องเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ความต้องการของครอบครัวให้สมาชิกกลับมาอยู่อาศัยด้วยกันหรือใกล้ชิดกันหรือความต้องการให้ครอบครัวมีความสุขและความอบอุ่นของครอบครัว อีกทั้งส่วนหนึ่งได้รับมรดกที่ดินทำกินจากบิดามารดา กอปรกับบิดามารดามีอายุมากขึ้นหรือวัยอาวุโสซึ่งไม่สามารถทำการเกษตรได้อย่างเต็มที่หรือหยุดทำอาชีพเกษตรกรรมโดยสิ้นเชิง  (3) เงื่อนไขสำคัญที่เป็นข้อแม้หรือข้อจำกัดหรือมีแนวโน้มทำให้ไม่เข้าสู่อาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การมีแรงงานเหลือจากการทำการเกษตรของครัวเรือน  การได้รับการศึกษาที่สูงกว่าภาคบังคับ  และการได้รับมรดกที่ดินทางการเกษตรจากบิดามารดาหรือมีที่ดินทำกินต่อครัวเรือนจำนวนน้อยไร่หรือไม่สามารถหาซื้อเพิ่มได้ เป็นเงื่อนไขสำคัญที่เป็นข้อแม้หรือมีแนวโน้มทำให้ไม่เข้าสู่อาชีพเกษตรกรรมของทั้งเกษตรกรและบุตรหลานเกษตรกรที่ยังไม่ทำการเกษตรเต็มตัว นอกจากนี้ยังพบเงื่อนไขเพิ่มเติมเฉพาะส่วนผู้ที่เป็นบุตรหลานเกษตรกรที่ยังไม่ทำการเกษตรเต็มตัวซึ่งค้นพบว่า การได้รับการยอมรับทางสังคม  ความต้องการความสวยงามของร่างกาย และความลำบากตรากกรำในการประกอบอาชีพเป็นเงื่อนไขสำคัญที่เป็นข้อแม้หรือมีแนวโน้มทำให้ไม่เข้าสู่อาชีพเกษตรกรรมอีกด้วย  ดังนั้น ในการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมจึงควรพิจารณาถึงเงื่อนไขฐานรากของเกษตรกรและบุตรหลานเกษตรกรในการเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรมดังกล่าวนี้เป็นฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. 2543. เกษตรกรรมไทยจะไปทิศทางไหน?. วารสารเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ 7: 103-110.
ชาย โพธิสิตา. 2556. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติงแอนด์พับลิชชิ่ง.
ดุษฎี อายุวัฒน์ และ พรเพ็ญ ปานคำ. 2552. การย้ายถิ่นและความอยู่ดีมีสุขของครัวเรือนในชนบทอีสาน. วารสารประชากร 1: 55-72.
นภาภรณ์ หะวานนท์. 2539. ทฤษฎีฐานราก: ทางเลือกในการสร้างองค์ความรู้. หน้า 97-108. ใน: นภาภรณ์ หะวานนท์ (บรรณาธิการ). พัฒนศึกษาศาสตร์: ศาสตร์แห่งการเรียนรู้และถ่ายทอดการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล. 2554. นวัตกรรมการส่งเสริมเพื่อการขยายผลเกษตรยั่งยืน. วารสารเกษตร 27(3): 293-303
ยศ บริสุทธิ์. 2551. แนวทางเชิงระบบสำหรับการวิเคราะห์ระบบเกษตรเพื่อการพัฒนา. แก่นเกษตร 36: 352-367.
ศิลปพร ชื่นสุรัตน์. 2553. ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการประกอบอาชีพเกษตร. กรุงเทพมหานคร: ส่วนวิจัยเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนเกษตร สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการทำวิจัย. 2554. เกษตรกรร่อยหรอ: สร้างรุ่นใหม่ ภูมิใจ มั่นคงในอาชีพ. หน้า 3. ใน: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22, 615 วันที่ 13 กันยายน 2554.
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ. 2555. ข้อมูล จปฐ. ปี 2554. จังหวัดศรีสะเกษ. สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2554. สถิติพื้นฐานที่เป็นอนุกรมเวลา สำนักงานสถิติแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
สุจินต์ สิมารักษ์ และ สุเกสินี สุภธีระ. 2530. การประเมินสภาวะชนบทแบบเร่งด่วน. ขอนแก่น: กลุ่มวิจัยระบบการทำฟาร์ม มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Charmaz, K. 2006. Constructing grounded theory: A practical guide through qualitative analysis. London: Sage Publications, Inc.
Glaser, B. G. and A. L. Strauss. 1967. The discovery of grounded theory: Strategies for qualitative research. Chicago: Aldine.
Lyubomirsky, S., L. A. King and E. Diener. 2005. The benefits of frequent positive affect. Psychological Bulletin 131: 803-855.
Maslow, A. H. 1943. A Theory of human motivation, Psychological Review 50: 370-396.
Strauss, A. L. and J. M. Corbin. 1998. Basics of qualitative research: Techniques and procedures for Developing Grounded Theory. (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage Publications, Inc.
United Nations Secretariat. 1993. Types of female migration. In: Internal migration of women in developing countries. New York: United Nations. pp 94-115.