การใช้ของเสียจากการผลิตครั่งเม็ดเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ 1. ผลของอุณหภูมิที่ใช้ในการอบแห้งและระยะเวลาการเก็บต่อคุณสมบัติปุ๋ยอินทรีย์ครั่ง

Main Article Content

ศิริรัตน์ ปากประโคน
ชูชาติ สันธทรัพย์

บทคัดย่อ

การศึกษาศักยภาพของการใช้ตะกอนของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมผลิตครั่งเม็ด เพื่อนำมาใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ได้ดำเนินการที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2555 โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 เป็นการศึกษาผลของอุณหภูมิที่ใช้อบแห้งตะกอนครั่งต่อคุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์ครั่ง โดยใช้อุณหภูมิระหว่าง 35-65 องซาเซลเซียส ในการอบ แล้วจึงนำตะกอนครั่งแห้งที่ได้ (ปุ๋ยอินทรีย์ครั่ง) มาวิเคราะห์คุณสมบัติต่าง ๆ เปรียบเทียบกับคุณสมบัติของตะกอนครั่งก่อนอบแห้ง ในการทดลองที่ 2 เป็นการศึกษาผลของระยะเวลาการเก็บรักษาปุ๋ยอินทรีย์ครั่ง โดยนำปุ๋ยอินทรีย์ครั่งที่ได้จากการอบแห้งมาเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิห้องที่แล้วทำการวิเคราะห์คุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์ครั่งทุกเดือน เป็นระยะเวลา 6 เดือน จากการศึกษาพบว่า อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการอบแห้งตะกอนครั่ง ควรอยู่ระหว่าง 45-55 องซาเซลเซียส การใช้ความร้อนสูงกว่า 55 องซาเซลเซียส และต่ำกว่า 45 องซาเซลเซียส จะส่งผลให้สูญเสียอินทรียวัตถุและไนโตรเจน โดยเฉพาะไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียมที่สูญเสียถึงร้อยละ 47 และ 72 ตามลำดับ แต่อุณหภูมิของการอบแห้ง มีผลต่อการลดลงของฟอสฟอรัสเพียงเล็กน้อย เมื่อเก็บรักษาปุ๋ยอินทรีย์ครั่งที่ได้จากการอบแห้งที่ 55 องซาเซลเซียส ที่มีปริมาณความชื้นประมาณ 10 ±1 เปอร์เซ็นต์ ไว้ที่อุณหภูมิห้อง (25-30 องซาเซลเซียส) เป็นระยะเวลา 6 เดือน ส่งผลให้ค่าความเป็นกรดด่างของปุ๋ยอินทรีย์ครั่งลดต่ำลง 1.4-1.9 หน่วย จากค่าความเป็นกรดด่างเริ่มต้น จากข้อมูลการศึกษาข้างต้นชี้ให้เห็นว่าปุ๋ยอินทรีย์ครั่งที่ได้จากการอบแห้ง มีศักยภาพในการนำมาใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. 2541. คู่มือการวิเคราะห์ปุ๋ย. กลุ่มงานวิเคราะห์ปุ๋ย กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2535. การเพาะเลี้ยงครั่ง. กรมส่งเสริมการเกษตร. 32 หน้า.
ธงชัย มาลา. 2550. ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ: เทคนิคการผลิตและการใช้ประโยชน์. ภาควิชาปฐพีศาสตร์ คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. สำหนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. 300 หน้า.
ธิติพงษ์. 2548. ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่องมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ.2458. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://law.longdo.com/law/376/sub25312#_ftn1 (13 มีนาคม 2557)
ภัทรวรรณ อาวรณ์ และ ชวาลภาฤทธิ์. ไม่ระบุปีที่พิมพ์. การใช้ตะกอนชีวภาพจากระบำบัดน้ำเสียโรงงานผลิตโอเลฟินส์เป็นวัสดุผลิตปุ๋ยหมักร่วม. การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9. 8 หน้า
มุกดา สุขสวัสดิ์. 2543. ปุ๋ยและการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพิษณุโลก. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. 184 หน้า.
ไมตรี แก้วทับทิม. 2551. ปริมาณธาตุอาหารพืชในสารละลายที่ได้จากการหมักวัสดุอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ. วารสารเกษตร 24(3) : 233-244
วาสนา ยุวดี. 2548. คู่มือการวิเคราะห์ปุ๋ยอินทรีย์. สำนักวิจัย พัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
วิษณุพงค์ เกลี้ยงช่วย ไกรชาติ ตันตระการอาภา ธนาศรี สีหะบุตร สุเทพ ศิลปานันทกุล และ พิศิษฐ์ วัฒนสมบูรณ์. 2552. การผลิตปุ๋ยหมักร่วมจากเศษอาหารและกากของเสียของโรงงานผลิตสารให้ความหวาน. วารสารสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ 7(1): 74-83.
อรวรรณ ฉัตรสีรุ้ง. 2551. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษ์ศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. หน่วยพิมพ์และผลิตเอกสาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 253 หน้า.
Diatloff. E. and Z. Rengel. 2001. Compilation of simple spectrophotometric techniques for the determination of elements in nutrient solutions. Journal of Plant Nutrition 24(1): 75-86.
Nelson. D. W. and L. E. Sommers. 1996. Total carbon, organic carbon and organic matter. In: Sparks D. L., A. L. Page, P. A. Helmke, R. H. Loeppert, P. N. Soltanpour, M. A. Tabatabai, C. T. Johnston and M. E. Summers. SSSA. Book Series: 5 Method of Soil Analysis Part 3 Chemical Method. SSSA. USA. pp. 1123-1139.
Helmke. P. A. and L. Sparks. 1996. Lithium, sodium, potassium, rubidium and cesium. In: Sparks,D. L., A. L. Page, P. A. Helmke, R. H. Loeppert, P. N. Soltanpour, M. A. Tabatabai, C. T. Johnston and M. E. Summer. SSSA. Book Series: 5 Method of Soil Analysis Part 3 Chemical Method. SSSA. USA. pp. 551-574.
Novozamssky. I., R. van Eck., J. Ch. Van Schouwenburg and I. Walinga. 1974. Total nitrogen determination in plant material by means of the indophenols blue method. Netherlands. Journal of Agricultural Science 22: 3-5.
Vlek, P. L. G. and J. M. Stumpe. 1978. Effect of solution chemistry and environmental conditions in ammonia volatilization from aqueous system. Journal of Soil Science 42: 416-421