การใช้น้ำออกซิไดซ์ที่ผ่านการแยกด้วยไฟฟ้าในการควบคุม เชื้อแบคทีเรียเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผักอินทรีย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อตรวจสอบผลของน้ำออกซิไดซ์ที่ผ่านการแยกด้วยไฟฟ้า (electrolyzed oxidizing water: น้ำ EO) ต่อการลดการเกิดโรคเน่าเละเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาของผักอินทรีย์ โดยการผลิตน้ำ EO ด้วยเครื่อง Super Oxseed Labo ที่เตรียมได้จากสารละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ที่ระดับความเข้มข้น 0.00625, 0.0125, 0.025, 0.05, 0.1, 0.2, 0.3, 0.4 และ 0.5 เปอร์เซ็นต์ พบว่าน้ำ EO มีค่าความเข้มข้นของคลอรีนอิสระอยู่ในช่วง 0.40-137.00 ppm และมีค่า pH ระหว่าง 3.65-4.11 เมื่อวัดค่าความสามารถในการแตกตัวของสารละลาย (electrolyte conductivity; EC) พบว่ามีค่าอยู่ในช่วง 0.49-6.23 mS/cm เมื่อนำเซลล์แขวนลอยของเชื้อแบคทีเรีย Erwinia carotovora ที่แยกได้จากอาการเน่าเละของผักกาดขาวปลี แช่ในน้ำ EO ที่ความเข้มข้นต่าง ๆ เป็นเวลา 1 และ 5 นาที หลังจากบ่มเชื้อบนอาหาร NA เป็นเวลา 48 ชั่วโมง พบว่าเชื้อแบคทีเรียไม่สามารถเจริญเติบโตได้ทุกกรรมวิธี คิดเป็นเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ ยกเว้นที่ระดับความเข้มข้น 0.00625 เปอร์เซ็นต์ ที่พบโคโลนีของแบคทีเรียเจริญบนจานอาหารจำนวนน้อย นอกจากนี้ยังพบว่าเซลล์ของแบคทีเรียที่แช่รวมกับน้ำ EO ทุกความเข้มข้นมีขนาดเล็กลง ยกเว้นความเข้มข้น 0.00625 และ 0.0125 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่ใช้น้ำกลั่นฆ่าเชื้อ และจากการคัดเลือกระดับความเข้มข้นของน้ำ EO ที่นำมาใช้ในการเช็ดโคนและรอยตัดของผักอินทรีย์ 2 ชนิด ได้แก่ ผักกาดกวางตุ้งและผักกาดหวาน พบว่าที่ความเข้มข้น 0.3 เปอร์เซ็นต์สามารถลดการเกิดโรคเน่าเละของผักได้ดีที่สุด โดยไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษกับพืช และเมื่อนำน้ำ EO ความเข้มข้นดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดโรคเน่าเละกับกับสารฆ่าเชื้อชนิดอื่น ๆ ได้แก่ น้ำโอโซน (ความเข้มข้น 0.02 เปอร์เซ็นต์) น้ำผสมด่างทับทิม (อัตราส่วน 0.05 กรัมต่อลิตร) น้ำผสมผงฟู (อัตราส่วน 2.5 กรัมต่อลิตร) และน้ำผสมคลอรีน (ความเข้มข้น 0.02 เปอร์เซ็นต์) พบว่าสามารถลดการเกิดโรคเน่าเละและยืดอายุการเก็บรักษาผักกาดกวางตุ้งและผักกาดหวานได้ดีกว่าสารฆ่าเชื้อที่นำมาทดสอบ ยกเว้นผักกาดฮ่องเต้เล็กที่พบว่าการใช้น้ำผสมคลอรีนได้ผลดีที่สุด
Article Details
References
ชนัญชิดา สิงคมณี กานดา หวังชัย และ จำนง อุทัยบุตร. 2551. การใช้โอโซนและน้ำอิเล็กโทรไลต์ในการควบคุมเชื้อรา Penicillium digitatum ของส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 39(3) พิเศษ: 257-260.
วิลาวรรณ์ เชื้อบุญ. 2551. ลักษณะและการทดสอบประสิทธิภาพของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ควบคุมเชื้อ Erwinia carotovora subsp. carotovora สาเหตุโรคเน่าเละของกะหล่ำดอก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 121 หน้า.
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ. 2556. นวัตกรรมยืดอายุผักผลไม้บรรจุภัณฑ์ฉลาด. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.mtec.or.th/index.php/2013-05-29-09-06-21/2013-05-29-09-39-49/84- (2 สิงหาคม 2557).
สุจริตพรรณ บุญมี. 2556. ผลของน้ำออกซิไดส์ที่ผ่านการแยกด้วยไฟฟ้าต่อการลดโรคราแป้งในพืชวงศ์แตง. วารสารเกษตร (29)3: 257-266.
Bearson, S., B. Bearson and J. W. Foster. 1997. Acid stress responses in enterobacteria. pp. 135-164. In: S. Salminen and A. Von Wright (eds.). Lactic Acid Bacteria. Marcel Dekker, Inc. New York.
Fuller, R. 1989. Probiotics in human and animals. Journal of Applied Bacteriology 66: 1430-1434.
Hoon, P., Y. C. Hung and D. Chung. 2004. Effects of chlorine and pH on efficacy of electrolyzed water for inactivating Escherichia coli O157:H7 and Listeria monocytogenes. Food Microbiology 91: 13-18.
Johnson T. R. and C. L. Case. 2013. Koch’s Postulates. Laboratory experiments in microbiology, Tenth Edition. 317-325. (Online). Available: http://www.learningace.com/doc/7755731/d0da6c21dc5ca6eca71df599500bea97/40-koch-s-postulates (August 18, 2014).
Muhammad, I. A., Y. Seo, S. Oshits and Y. Kawagoe. 2002. Disinfection effects of electrolyzed oxidixing water on suppressing fruit rot of pear caused by Botryosphaeria berengeriana. Food Research International 35: 657-664.
Sakurai, Y. M., N. Y. Sato and K. Sato. 2003. Endoscope contamination from HBV- and HCV- positive patients and evaluation of a cleaning/disinfecting method using strongly acidic electrolyzed water. Digestive Endoscopy 15: 19-24.
U. S. Food and Drug Administration. 2001. Microbiological safety of controlled and modified atmosphere packaging of fresh and fresh-cut produce. In Analysis and Evaluation of Preventive Control Measures for the Control and Reduction/Elimination of Microbial Hazards on Fresh and Fresh-cut Produce. (Online). Available: http://www.fda.gov (June 3, 2014).