ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงาน ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงได้พัฒนาและส่งเสริมเกษตรกรบนพื้นที่สูง โดยใช้แนวทางเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการสร้างรายได้ และยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนบนพื้นที่สูง โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบการดำเนินงานในการส่งเสริมให้ความรู้เกษตรกรในศูนย์พัฒนาโครงการหลวง (2) ศึกษาความรู้ที่เกษตรกรมีความเข้าใจหลังจากได้รับการส่งเสริมจากศูนย์พัฒนาโครงการหลวง (3) ศึกษาผลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงต่อเกษตรกรในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง และ (4) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง 38 ศูนย์ มีจำนวน 150,019 คน เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างมีลักษณะคล้ายกัน ผู้วิจัยจึงกำหนดการสุ่มตัวอย่างเกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง 38 ศูนย์ ศูนย์ละ 2 คน โดยการสุ่มแบบบังเอิญ (accidental selection) รวมเป็น 76 คน ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด วิเคราะห์รูปแบบการดำเนินงานและผลการดำเนินงานของโครงการหลวง ตามระดับความคิดเห็นของเกษตรกรแต่ละประเด็น ตามมาตราวัด 5 ระดับ ของ Likert scale และแปรความหมายระดับความคิดเห็น โดยใช้วิธีนำค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weight Mean Score) การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและทำการทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการดำเนินงานในการส่งเสริมให้ความรู้เกษตรกรในศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 3 ด้าน ได้แก่ (1) จำนวนครั้งที่ได้รับการส่งเสริม (2) การสนับสนุน/อำนวยความสะดวก และ (3) ด้านคุณภาพของเจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง พบว่า ในภาพรวมทั้ง 3 ด้าน คะแนนอยู่ในระดับมาก โดยด้านคุณภาพของเจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงมีค่าคะแนนอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการดำเนินงานในการส่งเสริม และด้านการสนับสนุน/อำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกร อยู่ในระดับมาก ในส่วนของความรู้ที่เกษตรกรมีความเข้าใจหลังจากได้รับการส่งเสริมจากศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ด้านอาชีพ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยความรู้ “ด้านสิ่งแวดล้อม” อยู่ในระดับมากที่สุด “ด้านสังคม” อยู่ในระดับมาก ส่วนใน “ด้านอาชีพ” อยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากเป็นความรู้เทคนิคเฉพาะด้าน เช่น ไม้ดอก ชา กาแฟ หัตถกรรม ในส่วนของผลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงต่อเกษตรกรด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก แสดงถึงความสำเร็จของการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงที่สามารถพัฒนาทั้งสามด้านควบคู่กันไป ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง พบว่า ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ จำนวนเกษตรกรในครัวเรือน ปริมาณการได้รับการส่งเสริม และคุณภาพของเจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง
Article Details
References
จักรพงษ์ วงศาพาน. 2545. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพของเกษตรกรย่อย ในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร. มหาวิทยาลัย-เชียงใหม่, เชียงใหม่. 70 หน้า.
ดิเรก ฤกษ์หร่าย. 2524. การส่งเสริมการเกษตร : หลักการและวิธีการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร. สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 249 หน้า.
เทียมหทัย ไชยจันทร์. 2544. ความสำเร็จในการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 97 หน้า
บัวทอง แก้วหล้า และ วรทัศน์ อินทรัคคัมพร. 2556. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร ในอำเภอหนองแฮด จังหวัดเชียงขวาง สาธารณรัฐ-ประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารเกษตร 29(3): 267-275.
ปฏิมา เพ็ชรประยูร. 2543. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการเลี้ยงโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสนของเกษตรกรรายย่อยในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย-เชียงใหม่. 113 หน้า.
ภานุวัฒน์ ไชยมะโน. 2548. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกรในการเข้าร่วมโครงการขยายผลของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 102 หน้า.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2553. สภาวะเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครง การหลวง ปี พ.ศ. 2551/2552. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เสนอสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). หน้า 103.
มูลนิธิโครงการหลวง. 2553. รายงานประจำปี 2552. รายงาน. มูลนิธิโครงการหลวง, กรุงเทพฯ. 114 หน้า
มูลนิธิโครงการหลวง. 2555. ความเป็นมา. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www. royalprojectthailand.com/about. (30 เมษายน 2555).
รุ้งนภา นาคเพ็ง. 2548. ลักษณะของสมาชิกที่มีผลต่อความสำเร็จของโรงสีข้าวชุมชนจังหวัดพิจิตร. วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สาขาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 78 หน้า.
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 2550. แผนแม่บทศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ระยะ 4 ปี พ.ศ. 2550-2554. แผนแม่บท. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง,เชียงใหม่.136 หน้า.
สิน พันธุ์พินิจ. 2544. การส่งเสริมการเกษตร. รวมสาสน์ กรุงเทพมหานคร. 579 หน้า.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2553. รายงานโครงการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นที่สูงภาคเหนือ. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). หน้า 137.
เอกชัย ตั้งบริบูรณ์รัตน์. 2545. ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าร่วมของเกษตรกรในโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ศูนย์ขยายพันธ์พืชที่ 7 จังหวัดเชียงใหม่. วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย-เชียงใหม่. 112 หน้า.