การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้กรอกกะเพราไก่ลดไขมัน โดยใช้แป้งบุกร่วมกับแซนแทนกัม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้กรอกกะเพราไก่ลดไขมันโดยใช้แป้งบุกร่วมกับแซนแทนกัม มีวัตถุประสงค์ คือ (1) ศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้กรอกกะเพราไก่ลดไขมันโดยใช้แป้งบุกร่วมกับแซนแทนกัมที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค (2) ศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ไส้กรอกกะเพราไก่ลดไขมันโดยใช้แป้งบุกร่วมกับ แซนแทนกัม (3) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพด้านต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์ไส้กรอกกะเพราไก่ลดไขมันโดยใช้แป้งบุกร่วมกับแซนแทนกัมขณะเก็บรักษาที่อุณหภูมิตู้เย็น (1-4 องศาเซลเซียส) เป็นเวลา 28 วัน โดยพบว่าสูตรที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ไส้กรอกกะเพราไก่ลดไขมัน คือการใช้เนื้ออกไก่เป็นส่วนผสมหลักในอัตราส่วนร้อยละ 100 และมีส่วนผสมอื่น ๆ คือ มันแข็งหมู น้ำตาลทราย เกลือ พริกขี้หนู กระเทียม ใบกะเพรา มิกซ์ฟอสเฟต สารทดแทนไขมัน และแป้งสาลี ในอัตราส่วนร้อยละ 10.00, 2.50, 1.50, 5.00, 5.00, 7.00, 0.10, 8.00 และ 10.00 ของส่วนผสมหลักตามลำดับ มีการใช้ผงเพรกในอัตราส่วนร้อยละ 0.50 ของส่วนผสมหลัก ศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพด้านต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์ไส้กรอกกะเพราไก่ลดไขมัน พบว่า ขณะเก็บรักษาเป็นเวลา 28 วัน ที่อุณหภูมิตู้เย็นผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มของปริมาณน้ำอิสระ (aw) คงที่ ปริมาณกรดไทโอบาร์บิทูริกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จนวันที่ 24 แล้วลดลงจนสิ้นสุดการเก็บรักษา มีค่าความแข็งคงที่และไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p > 0.05) มีค่าความยืดหยุ่น ค่าการยึดติดเป็นกาว ค่าความเป็นยางเหนียว และค่าความยากง่ายในการเคี้ยวที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) จนสิ้นสุดการเก็บรักษา จุลินทรีย์ทั้งหมดมีปริมาณเพิ่มขึ้นตามอายุการเก็บรักษา ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มีอายุการเก็บรักษาไม่เกิน 16 วัน และตรวจไม่พบแบคทีเรียที่ไม่ต้องการอากาศในการเจริญชนิดทนอุณหภูมิสูงและอุณหภูมิ ปานกลาง ด้านการยอมรับของผู้บริโภคที่มีอายุระหว่าง 15-50 ปี โดยใช้แบบทดสอบความชอบแบบ 9 ระดับ พบว่าผู้บริโภคให้คะแนนการยอมรับต่อคุณลักษณะด้านต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับชอบปานกลางถึงชอบมาก
Article Details
References
นิธิยา รัตนาปนนท์. 2553. เคมีอาหาร. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพมหานคร. 504 หน้า.
ศิริลดา ศรีกอก. 2555. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้กรอกปลาลดไขมันโดยใช้แป้งกล้วยน้ำว้าและคาร์ราจีแนนเป็นสารทดแทนไขมัน. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ไพโรจน์ วิริยจารีย์ ลักขณา รุจนไกรกานต์ วิวรรธน์ วรรธ-นัจฉริยา อิศรพงษ์ พงษ์ศิริกุล และธยา บุญถนอม. 2538. การพัฒนาผลิตภัณฑ์แหนมโยใช้เทคโนโลยีบริสุทธิ์เริ่มต้นผสม 9. ผลของสารประกอบฟอสเฟตต่อการผลิตแหนม. วารสารเกษตร 11(2): 166-185.
ไพโรจน์ วิริยจารี. 2547. การวางแผนและการวิเคราะห์ทางด้านประสาทสัมผัส. ภาควิชาเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 275 หน้า.
รุจริน ลิ้มศุภวานิช และ จุฑารัตน์ เศรษฐกุล. 2555. ผลิตภัณฑ์เนื้อประเภทต่าง ๆ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.dld.go.th/ transfer/th1/index.php?option=com_content &view=article&id=219:2012-03-12-08-54-01&catid=49:2012-03-05-10-24-38&Itemid=40 : 2557.
วราทิพย์ สมบุญญฤทธิ์ สินีนาฏ อรรถโชติศักดา จณิสดา ภัทรวิวัฒน์ พรรณทิพย์ สุวรรณสาคร-กุล และ วิกรม สู่พานิช. 2546. Fast food มีประโยชน์หรือผลเสียมากกว่ากัน. โรงพยาบาลสระบุรี. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.srbr.in.th/ Health/Fastfood.htm: 2555.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. 2546. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ไส้กรอกไก่ มผช. 331/2547. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน, กรุงเทพมหานคร. 5 หน้า.
สมชาย สุริยะศิริบุตร. 2548. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการทำลูกชิ้น หมูยอ ไส้กรอกอีสาน และกุนเชียง. ภาควิชาคหกรรม-ศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรี- นครินทรวิโรฒ. 22 หน้า.
อดิศักดิ์ เอกโสวรรณ. 2538. แป้งบุก การผลิต สมบัติบางประการ และการนำไปใช้ประโยชน์. วารสารเกษตร 25(4):238-242.
อดิศักดิ์ เอกโสวรรณ. 2542. การปรับปรุงกระบวนการผลิตไส้กรอกหมู หมูยอ และไก่ยอไขมันต่ำจากแป้งบุก. วารสารเกษตร 29(1):37-50.
อิ่มเอิบ พันสด. 2549.เอกสารประกอบการสอนรายวิชาเทคโนโลยีเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์. คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 180 หน้า.
Allen J. C. and R. J. Hamilton. 1994. Rancidity in Foods. Blackie Academic, London. 304 p.
AOAC. 2000. Official Methods of Analysis of AOAC International. 17 th ed. AOAC Internation.Maryland, USA.
Baker, S. 2013. Don't want to die before your time? Stop eating processed meat. (online). Available: http://www.naturalnews.com/ 039437_processed_meat_death_risk_cancer.html#ixzz2skOA0EI1: 2014
Pearson, D. 1976. The Chemical Analysis of Food. Churchill Livingstine. London. England. 575 p.
Reddy, K. P. and T. M. R. Shetty. 1996. An intermediate moisture product from mackerel (Rastrelliger kanagurta) using salt curing, fermentation and drying. Journal of Aquatic Food Product Technology 5(2): 65-82.
Tanikawa, E. 1985. Marine Product in Japan. 2nd ed. Koseisha-Koseikaku, Co., Ltd. Tokyo. 533 p.