ผลของบราสสิโนสเตอรอยด์ต่อการขยายพันธุ์เอื้องดอกมะขามในสภาพปลอดเชื้อ

Main Article Content

จามจุรี โสตถิกุล
ดาวใจ เปราะนาค

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของบราสสิโนสเตอรอยด์ (brassinosteroid; Brs) ที่ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ ต่อการขยายพันธุ์เอื้องมะขาม (Dendrobium delacourii) โดยเลี้ยงยอดเอื้องมะขามขนาดความยาว 1 ซม. ในอาหารสูตร VW ดัดแปลง ที่เติม Brs ระดับความเข้มข้น 0, 0.01, 0.02, 0.03, 0.04, 0.05, 0.06, 0.07, 0.08, 0.09, 0.10, 0.15 และ 0.2 มก./ล. พบว่า จำนวนใบ ความยาวเฉลี่ยของราก เส้นผ่าศูนย์กลางรากและจำนวนยอดใหม่ ไม่มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ ส่วน Brs ที่ความเข้มข้น 0.08 มก./ล. กระตุ้นให้เกิดรากและมีความสูงเฉลี่ยของยอดใหม่มากที่สุด (9.5 ราก และ 0.92 ซม.) Brs ที่ความเข้มช้น 0.04 มก./ล. ให้จำนวนยอดใหม่มากที่สุด (4.9 ยอด) แต่ Bes ที่ความเข้มข้น 0 มก./ล. ให้จำนวนรากน้อยที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชรัสนันท์ ตาชม และ ธนะชัย พันธ์เกษมสุข. 2548. ผลของบราสสิโนสเตอรอยด์ จิบเบอเรลลิน และออกซินต่อขนาดของผลลำไย. หน้า 41. ใน: เอกสารประกอบประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 5. วันที่ 25-29 เมษายน 2548. โรงแรมเวลคัม จอมเทียน บีช, ชลบุรี.
ปรารถนา จันทร์ทา พัชราพรรณ คงเพชรศักดิ์ และ สุกานดา ดอกสันเทียะ. 2549. สื่อการเรียนการสอน online วิชาฮอร์โมนพืช (Plant hormone). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://mylesson.swu.ac.th/bi456/Plant%20hormone/lesson8.html (30 สิงหาคม 2549).
อบฉันท์ ไทยทอง. 2549. กล้วยไม้เมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 11. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับสิชชิ่ง, กรุงเทพฯ. 461 หน้า.